การออกเสียงภาษาอังกฤษ

English Pronunciation

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การออกเสียง และฝึกออกเสียงสระและพยัญชนะภาษาอังกฤษ การลงเสียงหนักเบาในคําและประโยค การใช้ทํานองเสียงเพื่อสื่อความหมาย การประยุกต์ใช้การออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในบริบทต่าง ๆ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานด้านสัทศาสตร์และสรศาสตร์ภาษาอังกฤษ กระบวนการผลิตเสียงพูด สรีระที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียงและการเปล่งเสียงพูด การวิเคราะห์หน่วยเสียงและหน่วยเสียงย่อย การศึกษาพยางค์และโครงสร้างพยางค์ การแปรของเสียงตามหลักสรศาสตร์ การศึกษาหลักการทางสัทศาสตร์และสรศาสตร์ที่พบในข้อความต่อเนื่องเพื่อการสื่อสารที่ชัดเจน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง การออกเสียงพยัญชนะ สระภาษาอังกฤษ สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียง การถอดเสียงตามหลักสัทอักษรสากล หน่วยเสียง และการวิเคราะห์ระบบเสียงเบื้องต้น การลงเสียงหนักเบา ทำนองเสียง เพื่อประยุกต์ใช้ในบริบททางการสื่อสารต่าง ๆ
- นักศึกษาสามารถส่งอีเมลเพื่อขอคำปรึกษาได้ที่ unaree@rmutl.ac.th
- นักศึกษาสามารถเข้าพบอาจารย์ ที่ห้องพัก 1422 ทุกวันพุธ เวลา 15:00-16:00 น. และวันศุกร์ เวลา 10:00-11:00 น.
1.1.1 มีทัศนคติที่ดี เคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรที่ดี
1.1.3 มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1. สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีจรรยาวิชาการและวิชาชีพ
3. ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและชุมชน เพื่อเรียนรู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกของกลุ่ม เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย
1. บันทึกและติดตามการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
2. ประเมินผลงานโดยตรวจสอบการคัดลอกผลงานการเขียนทางวิชาการ
3. การสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2.1.1 จดจำ และออกเสียงภาษาอังกฤษและ/หรือภาษาต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง
2.1.2 วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของคำ วลี และประโยคได
2.1.5 สรุปใจความและประเด็นสำคัญจากสิ่งที่ฟังและอ่านได้ถูกต้อง
2.1.7 ประเมินความเหมาะสมของการใช้วัจนภาษา และอวัจนภาษาเพื่อสื่อสารในบริบทวัฒนธรรมข้ามชาติได
1. จัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม (Participatory learning) ควบคู่กับการบรรยายและยกตัวอย่างประกอบ
2. การฝึกปฏิบัติ 
1. การสอบกลางภาค
2. การสอบปลายภาค
3. ทดสอบย่อย 
4. งานมอบหมาย/การบ้าน
5. การสอบปฏิบัติการออกเสียง
3.1.1 มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ
การฝึกปฏิบัติการออกเสียงภาษาอังกฤษผ่านทางบทบาทสมมุติในสถานการณ์จำลอง เช่น การเป็นผู้ประกาศข่าวภาษาอังกฤษ การเป็นผู้รายงานสภาพอากาศภาษาอังกฤษ การเป็นพิธีกรภาษาอังกฤษ เป็นต้น 
1. การทดสอบการปฏิบัติการออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยบทบาทสมมติ 
2. การประเมินตนเอง
3. การประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน
4.1.3 ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคมข้ามวัฒนธรรม  
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่าง ๆ ในเนื้อหารายวิชา
2. จัดการเรียนการสอนแบบมุ่งเน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน
1. สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม หรือ การสนทนากลุ่ม
2. การประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อน
5.1.3 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม
5.1.4 ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมตามกาลเทศะของบริบทวัฒนธรรมข้ามชาติ และวัฒนธรรมนานาชาติ
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงาน
2. แนะนำแหล่งเรียนรู้ออนไลน์และนอกห้องเรียนเพื่อเสริมทักษะภาษา ตัวเลข และเทคโนดลยีสารสนเทศ ตามความสนใจและความต้องการของนักศึกษา  
1. งานมอบหมาย
6.1.3 ประยุกต์ความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการปฏิบัติงานในระดับสากล
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มในการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้อง หน้าที่ความรับผิดชอบ คุณสมบัติและแนวปฏิบัติที่ดีในจรรยาบรรณวิชาชีพ ในรายวิชา  
2. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานจริง  
1. ประเมินจากการฝึกปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง
2. การสะท้อนคิดและการประเมินตนเอง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1.1 มีทัศนคติที่ดี เคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรที่ดี 1.1.3 มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 2.1.1 จดจำ และออกเสียงภาษาอังกฤษและ/หรือภาษาต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง 2.1.2 วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของคำ วลี และประโยคได้ 2.1.5 สรุปใจความและประเด็นสำคัญจากสิ่งที่ฟังและอ่านได้ถูกต้อง 2.1.7 ประเมินความเหมาะสมของการใช้วัจนภาษา และอวัจนภาษาเพื่อสื่อสารในบริบท วัฒนธรรมข้ามชาติได้ 3.1.1 มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ 4.1.3 ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคมข้าม วัฒนธรรม 5.1.3 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านภาษาอังกฤษอย่าง เหมาะสม 5.1.4 ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม ตามกาลเทศะของบริบทวัฒนธรรมข้ามชาติ และวัฒนธรรมนานาชาติ 6.1.3 ประยุกต์ความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการปฏิบัติงานในระดับสากล
1 BOAEC172 การออกเสียงภาษาอังกฤษ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1 1.1.2 1.1.3 การเข้าชั้นเรียน, การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน, การส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด, พฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1.1 2.1.2 3.1.1 การสอบกลางภาค, การสอบปลายภาค 9, 17 20%, 20%
3 2.1.1 2.1.2 3.1.1 การทดสอบย่อย 2-8, 10-15 10%
4 3.1.1 4.1.3 5.1.3 5.1.4 6.3.1 งานมอบหมาย 7, 13, 15 10%
5 5.1.3 5.1.4 6.1.3 การสอบปฏิบัติการออกเสียง 2-8, 10-16 30%
เอกสารประกอบการสอน BOAEC104 Essential English Phonetics and Phonology for Communication
1. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินตนเองเพื่อทวนสอบมาตรฐานการเรียนรู้รายวิชา
2. ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
1. ข้อเสนอแนะจากกรรมการผู้ตรวจประเมินรายวิชา
2. ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
1. นำผลการประเมินจากภาคเรียนที่ผ่านมา และข้อเสนอแนะจากการทวนสอบรายวิชา มาดำเนินการปรับปรุงเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน ลักษณะของงานมอบหมาย สื่อประกอบการเรียนการสอน แบบฝึกปฏิบัติ และข้อสอบกลางภาค-ปลายภาค
2. นำแนวปฏิบัติในการออกแบบกิจกรรมตามหลักการ 21st Century Learning Design ของ Microsoft มาปรับใช้กับกิจกรรมที่กำหนดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
1. ก่อนเริ่มการสอน มีการตรวจสอบมคอ.3 โดยหัวหน้าหลักสูตรและหัวหน้าสาขา ว่ามีมาตรฐานผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 2 ของหลักสูตร
2. ในระหว่างการสอน มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ในรายวิชา และข้อสอบที่จะใช้สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
3. หลังการสอน มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบมคอ. 3 มคอ. 5 ข้อสอบ เกณฑ์การให้คะแนน ผลการเรียน และผลจากงานมอบหมาย
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 1-4