การอ่านเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์

Critical and Analytical Reading

เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า การวิจารณ์เรื่องที่อ่านโดยการอภิปรายหรือเขียนแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
ศึกษาการฝึกอ่านเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า การวิจารณ์เรื่องที่อ่านโดยการอภิปรายหรือเขียนแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
- นักศึกษาสามารถส่งคำปรึกษามาที่อีเมล unaree@rmutl.ac.th
- นักศึกษาสามารถเข้าพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาได้ ทุกวันศุกร์ เวลา 10:00-12:00 น. ที่ห้อง 1424
1.1.5 มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ความรับผิดชอบรอง)
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล องค์กร และสังคมจากการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร (ความรับผิดชอบหลัก)
1. เสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยชี้ให้นักศึกษาเห็นถึงประโยชน์ของการพัฒนาทักษะการอ่าน การทำความเข้าใจในจุดประสงค์ของผู้เขียนข้อความที่อ่าน และการรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมชั้น
2. สร้างความตระหนักในผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่อบุคคล องค์กร และสังคม โดยคัดเลือกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของเทคโนโลยีมาเป็นหัวข้อในการฝึกทักษะการอ่าน
1. การแสดงทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2. ความตระหนักในผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ วัดจากความเข้าใจในเนื้อหาของเรื่องที่อ่านในแบบฝึกปฏิบัติ การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่ สำคัญในเนื้อหาของรายวิชา สามารถบูรณาการความรู้ในรายวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตาม ความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง (ความรับผิดชอบหลัก)
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา และการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน (ความรับผิดชอบหลัก)
ยึดหลักการเรียนการสอนแบบ Active learning โดย
          1.    ให้ความรู้แก่นักศึกษา แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
          2.    คัดเลือกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและสถานการณ์ทั่วไปในชีวิตประจำวัน
          3.    ให้นักศึกษาดำเนินการวิเคราะห์และวิจารณ์เรื่องที่อ่านโดยการอภิปรายในชั้นเรียนหรือเขียนแสดงความคิดเห็น
1. ความรู้ด้านทฤษฎี วัดจากการฝึกปฏิบัติ / การสอบกลางภาค / การสอบปลายภาค
2. ความรู้ด้านการปฏิบัติ วัดจากผลงานที่มอบหมายและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
3.1.3 สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคม (ความรับผิดชอบรอง)
3.1.4 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหา และความต้องการได้ (ความรับผิดชอบหลัก)
ใช้หลักการเรียนการสอนแบบ Task-based Learning โดย
1.    ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีเหตุผล มีตรรกะ และเป็นระบบในเชิงสร้างสรรค์
2. กำหนดงานมอบหมาย (Task) ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษา สืบค้น ประเมิน รวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์สารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในเชิงสร้างสรรค์ โดยเลือกใช้หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ซึ่งนักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์ของตนเองได้
1. ความรู้ด้านทฤษฎี วัดจากการฝึกปฏิบัติ / การสอบกลางภาค / การสอบปลายภาค
2. ความรู้ด้านการปฏิบัติ วัดจากผลงานที่มอบหมายและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
4.1.4 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และสามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ กับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ความรับผิดชอบรอง)
1. ให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มในชั้นเรียน กระตุ้นให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นต่อข้อเขียนต่าง ๆ ที่อ่าน และอภิปรายเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในชั้นเรียน
1. สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจ และการมีส่วนรวมของนักศึกษาในกิจกรรมกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1.5 มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล องค์กร และสังคมจากการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร 2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน 3.1.3 สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคม 3.1.4 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหา และความต้องการได้ 4.1.4 มีความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1 BOAEC112 การอ่านเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.5 1.1.6 การเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ, การส่งงานตรงต่อเวลา, ไม่คัดลอดผลงานผู้อื่น, พฤติกรรมการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1.1 2.1.2 การสอบกลางภาค, การสอบปลายภาค 9, 17 15%, 15%
3 3.1.3 3.1.4 4.1.4 งานมอบหมาย, 8, 12, 15 30%
4 3.1.3 3.1.4 4.1.4 แบบฝึกหัด, การฝึกปฏิบัติ 2-6, 9-10, 12-14 30%
เอกสารประกอบการสอนวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์
1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินตนเองเพื่อทวนสอบมาตรฐานการเรียนรู้รายวิชา
2. ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
1. ข้อเสนอแนะจากกรรมการผู้ตรวจประเมินรายวิชา
2. ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา
1. นำผลการประเมินจากภาคเรียนที่ผ่านมา และข้อเสนอแนะจากการทวนสอบรายวิชา มาดำเนินการปรับปรุงเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน ลักษณะของงานมอบหมาย สื่อประกอบการเรียนการสอน แบบฝึกปฏิบัติ และข้อสอบกลางภาค-ปลายภาค
2. นำแนวปฏิบัติในการออกแบบกิจกรรมตามหลักการ 21st Century Learning Design ของ Microsoft มาปรับใช้กับกิจกรรมที่กำหนดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
1. ก่อนเริ่มการสอน มีการตรวจสอบมคอ.3 โดยหัวหน้าหลักสูตรและหัวหน้าสาขา ว่ามีมาตรฐานผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 2 ของหลักสูตร
2. ในระหว่างการสอน มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ในรายวิชา และข้อสอบที่จะใช้สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
3. หลังการสอน มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบมคอ. 3 มคอ. 5 ข้อสอบ เกณฑ์การให้คะแนน ผลการเรียน และผลจากงานมอบหมาย
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 1-4