การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงสถิติ

Statistical Analysis in Business

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หลักสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถวิเคราะห์จัดเตรียมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สามารถสุ่มตัวอย่างและทดสอบสมมติฐาน สามารถวิเคราะห์ความแปรปรวน หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเกี่ยวกับการใช้หลักสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานทางการวิจัยได้
การใช้หลักสถิติมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ และจัดเตรียมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ หลักสถิติที่สำคัญได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ทฤษฎีสุ่มตัวอย่าง และการทดสอบสมมติฐานทางการวิจัยและทางสถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวน ค่าไคว์สแควร์ การหาความสัมพันธ์ และการถดถอยพหุคูณ รวมทั้งการฝึกปฎิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
Using statistical analysis applied to business data. And provide information to support business decisions. Statistics are important Descriptive statistics, analysis Sampling theory and hypothesis testing and statistical research. ANOAV the chi-square Finding correlations and multiple regression. The practice of using computer software to analyze the data statistically.
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สอนเสริมเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการเพิ่มเติม)
1.มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
1.ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2.กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมี ส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
1.การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2.การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
3.การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2.มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
1.มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อน ร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป
2.การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงานการทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
2.สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
 
1.การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
2.การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
3.การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
1.ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
2.ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
1.มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
1.มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1. การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
2.พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
3.สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
2.สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
1.จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา
2.ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูล และข้อมูลเชิงตัวเลข ได้
1. การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
2. ประเมินจากการสรุป และอภิปรายงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
1.สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล
2.สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
1. ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
2.การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
3.นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น 2. มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม 3. มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 4. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 5. มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน 3. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ 4. มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน 5. สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบ องค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ตรงตามข้อกำหนด 6. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ 7. รู้ เข้าใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง 8. มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง 9. มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานได้จริง 1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 2. สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งหันทางธุรกิจ 3. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป 4. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 5. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม 1. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ 2. มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็น ใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 3. มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน 4. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 5. สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม 7. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม 1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน 2. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ 3. สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 5. สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ 6. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม 2. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง 3. สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต 4.สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล 5.สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
1 BBACC111 การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงสถิติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1 2.1.2 3.1.1 3.1.2 5.1.1 5.1.5 การทดสอบ - การสอบกลางภาค - การสอบปลายภาค 9 และ 18 สอบกลางภาค 30% สอบปลายภาค 30%
2 2.1.2 3.1.1 3.1.2 4.1.6 5.1.5 6.1.4 6.1.5 แบบฝึกหัด การวิเคราะห์กรณีศึกษา รายงาน และการทดสอบย่อยในชั้นเรียน - แบบฝึกหัด / กรณีศึกษา (เดี่ยว, กลุ่ม) / การทดสอบย่อยในชั้นเรียน / รายงานและการนำเสนอโดยใช้สื่อที่เหมาะสม ตลอด ภาคการศึกษา 30%
3 1.1.2 4.1.6 การเข้าชั้นเรียน - การเข้าชั้นเรียน / การมีส่วนร่วม / การเข้าร่วมกิจกรรม ตลอด ภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชา Satatistical Analysis in Business โดยอาจารย์อาภาศรี เทวตา และ อาจารย์กฤษยา มะแอ
ไม่มี
ควรติดตั้งโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ ที่ใช้สำหรับประมวลผลข้อมูลทางสถิติ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
          1.1 การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา หรือ
          1.2 การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ
          1.3 การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา หลังจบบทเรียนในรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ ดังนี้
          2.1 การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน หรือ
          2.2 การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ รายงานหรือโครงการที่ได้รับมอบหมาย
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
          3.1 การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
          การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้
          4.1 การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา
          4.2 การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
          4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
          4.4 การประเมินข้อสอบ การปฏิบัติงานในชั้นเรียน การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
          5.1 รายงานผลการทวนสอบสัมฤทธิ์รายวิชา ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา
          5.2 นำผลการทวนสอบสัมฤทธิ์รายวิชา ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป โดยอาจารย์ผู้สอน
          5.3 นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร