สรีรวิทยาของพืช

Plant Physiology

1.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญ และขอบเขตของวิชาสรีรวิทยาพืช 1.2 เข้าใจโครงสร้าง องค์ประกอบทางกายภาพและเคมี และหน้าที่ในทางสรีรวิทยาของเซลล์พืช 1.3 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้าง คุณสมบัติ และหน้าที่ของสารประกอบหลัก(คาร์โบไฮเดรท ลิปิดส์ โปรตีน และเอนไซม์) ที่เกี่ยวช้องกับกระบวนการเมแทโบลิซึม (metabolism) ของพืช 1.4 มีความรู้และความเข้าใจถึงชนิด ความสำคัญ หน้าที่ กลไกการเคลื่อนย้าย การดูดซับ และอาการของการขาดแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช 1.5 มีความรู้ ความเข้าใจถึงความหมาย ความสำคัญ กลไกการทำงาน ปฏิกิริยาทางชีวเคมี และปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการสังเคราะห์แสง กระบวนการหายใจ และเมแทโบลิซึมของไนโตรเจน ของพืชชั้นสูง 1.6 เข้าใจความสำคัญ คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของน้ำ ความสัมพันธ์ของน้ำกับพืช 1.7 มีความรู้ ความเข้าใจความสำคัญ คุณสมบัติทางเคมี ชนิด กลไกการทำงาน และผลกระทบ ของฮอร์โมนพืช กับกระบวนการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ของพืช
มีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับระดับต่างๆของสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับสรีรวิทยาในเชิงนิเวศวิทยาและทางการเกษตร
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของเซลล์พืชและบทบาทหน้าที่ทางสรีรวิทยา กระบวนการเมทาโบลิซึมที่สำคัญในพืช  ธาตุอาหารพืชและการดูดซึม  การเคลื่อนย้ายและการลำเลียงสารในพืช  ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำกับพืช  สารควบคุมการเจริญเติบโตกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช The study and practice of chemical compositions of plant cells and the physiological functions, essential metabolism processes in plants, plant nutrition and absorption, translocation and transportation in plants, the relationship between water and plants and plant growth regulators and the growth and development of plants.
อาจารย์ประจำรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน ประกาศเวลาให้คำปรึกษา บนบอร์ดประชาสัมพันธ์สาขา และหรือผ่านเวปไซด์ของสาขา และคณะ อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ (เฉพาะรายที่ต้องการ)  1  ชั่วโมง/สัปดาห์ หรือตามที่มีการแจ้งล่วงหน้าจากนักศึกษา  พร้อมทั้งมีการบันทึกข้อมูลเป็นหลักฐานตามความเหมาะสม
ให้นักศึกษาตระหนักและมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้มอบหมายทั้งของตนเองและผลงานของกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย มีวินัยต่อการเรียน ส่งมอบงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด เคารพในการแสดงออกทางความคิดของผู้ร่วมงาน และการรับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม
-  ใช้การสอนแบบ Active Learning เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ ให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มมีกิจกรรมนักศึกษาค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง -  ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ -  เพิ่มการสอนนอกชั้นเรียนโดยให้ศึกษาจากประสบการณ์จริงในเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจและหาข้อมูลเชิงประจักษ์ของการดูแลรักษาเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืชในทางการเกษตร รวมทั้งการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องในเชิงสรีรวิทยาพืชตามความเหมาะสมบนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง
ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและในสถานการณ์ที่สาขาวิชาฯและคณะจัดกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม  การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาและการเคารพการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพผู้อาวุโสและอาจารย์  โดยประเมินทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
มีความรู้ ความเข้าใจความหมาย ความสำคัญ และขอบเขตของวิชาสรีรวิทยาพืชโครงสร้าง องค์ประกอบทางกายภาพและเคมี และหน้าที่ในทางสรีรวิทยาของเซลล์พืชโครงสร้าง คุณสมบัติ และหน้าที่ของสารประกอบหลัก(คาร์โบไฮเดรท ลิปิดส์ โปรตีน และเอนไซม์) ที่เกี่ยวช้องกับกระบวนการเมแทโบลิซึม (metabolism) ของพืช ชนิด ความสำคัญ หน้าที่ กลไกการเคลื่อนย้าย การดูดซับ และอาการของการขาดแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชความหมาย ความสำคัญ กลไกการทำงาน ปฏิกิริยาทางชีวเคมี และปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการสังเคราะห์แสง กระบวนการหายใจ และเมแทโบลิซึมของไนโตรเจน ของพืชชั้นสูง ความสำคัญ คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของน้ำ ความสัมพันธ์ของน้ำกับพืช ความสำคัญ คุณสมบัติทางเคมี ชนิด กลไกการทำงาน และผลกระทบ ของฮอร์โมนพืช กับกระบวนการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ของพืช
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) การสอนแบบคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนบรรยายแบบ  Active Learning เน้นให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหรือกลุ่ม โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเบื้องต้น รวมทั้งการสอนแบบ e-Learning และการสอนนอกห้องเรียน โดยศึกษาจากประสบการณ์จริงในเรื่องเกี่ยวกับสรีรวิทยาพืช ที่ต้องสร้างความเข้าใจ เป็นต้น ทั้งนี้กลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ดังกล่าวขึ้นอยู่ด้วยความเหมาะสมกับสถานการณ์และความจำเป็นที่สอดคล้องกันกับองค์ความรู้ในแต่ละหัวข้อหรือบทเรียน
ประเมินพฤติกรรมในชั้นเรียนและการสอบวัดความรู้ โดยมีการสอบย่อย (Quiz) ตั้งคำถามปากเปล่า และสอบเป็นทางการ 2 ครั้ง (สอบกลางภาคและสอบปลายภาค) -  ทำรายงานรายบุคคลและหรือรายงานกลุ่มเพื่อประเมินความสนใจการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน -  การทำรายงานกรณีศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นกลุ่ม
ทักษะการคิดวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาที่ทราบในชั้นเรียนหรืองานที่มอบหมายให้ค้นหาคำตอบเพื่อได้ให้แนวทางในการแก้ปัญหานั้นๆ
ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ศึกษาจากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน  การสอบย่อย (Quiz)  การสอบกลางภาคและปลายภาค การฝึกปฏิบัติการตามลำดับขั้นตอน และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
น้นการทำงานเป็นทีม โดยมีการทำงานเป็นกลุ่มซึ่งจะต้องช่วยเหลือแบ่งงานย่อยโดยมอบหมายให้ช่วยกันค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อใช้เขียนรายงานและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา กรณีศึกษาในชั้นเรียน
สอนโดยมีกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนโดยมีกิจกรรมทำงานเป็นกลุ่ม และมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามภาระงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้ โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
การประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และประเมินผลงานจากรายงานของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
ารค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แบบ e-Learning เป็นต้น -  การนำเสนอข้อมูลของงานที่มอบหมายให้เข้าใจง่าย ในรูปแบบที่เหมาะสม โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทำงาน -  การใช้ Power point ในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่มรวมทั้งการนำเสนอโครงการที่เสร็จสิ้น
การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลรวมทั้งการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การนำเสนอโดยใช้ PowerPoint ประกอบการสอนในชั้นเรียน การเลือกวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย อย่างเป็นระบบ
ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงานของนักศึกษา การสอบย่อย (Quiz) ในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2
1 BSCAG105 สรีรวิทยาของพืช
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การสอบย่อย (Quiz) 5 ครั้ง 2-8 และ 10-16 5%
2 การเขียนรายงานตามบทปฏิบัติการที่ได้รับมอบหมาย 2-8 และ 9-16 30%
3 สอบกลางภาค 9 30%
4 สอบปลายภาค 18 30%
5 การเข้าชั้นเรียน เจรคติ ความรับผิดชอบ 2-8 และ 10-16 5%
เฉลิมพล  แซมเพชร. 2535. สรีรวิทยาการผลิตพืชไร่. ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพมหานคร. ชวนพิศ  แดงสวัสดิ์. 2544. สรีรวิทยาของพืช. ธนชัชการพิมพ์ จำกัด. กรุงเทพมหานคร. ดาวัลย์  ฉิมภู่. 2550. ชีวเคมี. (พิมพ์ครั้งที่ 2) สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร. นพดล  จรัสสัมฤทธิ์. 2536. ฮอร์โมนพืชและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช. โรงพิมพ์สหมิตรออฟเซท. กรุงเทพมหานคร. สมบุญ  เตชะภิญญาวัฒน์. 2538. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. สำนักพิมพ์รั้วเขียว. กรุงเทพมหานคร. สุรพล  มนัสเสรี. 2531. หลักพืชศาสตร์. ตำรา-เอกสารวิชาการฉบับที่ 18 ภาคพัฒนาตำราและเอกสารวิชาการ หน่วยศึกษานิเทศก์. กรมการฝึกหัดครู. อักษร  ศรีเปล่ง. 2529. พฤกษศาสตร์ทั่วไป. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์. กรุงเทพมหานคร. Davies, P.J. 1987. Plant Hormones and their Role in Plant Growth and Development. Kluwer Academic Publishers. Dordrecht. Goodwin, T.W. and Mercer, E.I. 1972. Introduction to Plant Biochemistry. Pergarmon Press Ltd. Oxford. Leopold, A.C. and Kriedemann, P.E. 1975. Plant Growth and Development. McGraw-Hill Book Company. New York. Noland, G.B. and Beaver, W.C. 1975.General Biology. The C.V. Mosby Company. Saint Louis. Salisbury, F.B. and Ross, C. 1969. Plant Physiology. Wadsworth Publishing Company, Inc. Belmont, California. Stryer, L. 1975. Biochemistry. W.H.Freeman and Company. San Francisco. Zelitch, I. 1971. Photosynthesis, Photorespiration and Plant Productivity. Academic Press. New York.
- วารสารวิทยาศาสตร์การเกษตร - Thai Journal of Agricultural Science - Kasetsart Journal of Agriculture - Annual Review of Plant Physiology - Horticultural Review - Plant Physiology Journal - Journal of the Ame rican Society for Horticultural Science - Journal of Biological Chemistry
บทความเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาทางด้านสรีรวิทยาของพืช จากเวบไซต์ต่างๆ  และอื่นๆ ตามความเหมาะสมของเหตุการณ์และความเป็นปัจจุบัน