ทัศนศิลป์ 2

Visual Art 2

1. รู้กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
2. เข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ประติมากรรม และศิลปะภาพพิมพ์
3. ปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และศิลปะภาพพิมพ์
4. มีกิจนิสัยที่ดีในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
5. เห็นคุณค่าของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทุกแขนง
1. เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการเรียนการสอนมากขึ้น
2. ให้เหมาะสมกับการต้องการของสังคม
3. ให้สอดคล้องกับ การเน้นพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษามากยิ่งขึ้น
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะโดยเน้นทักษะ วิธีทางจิตรกรรม ประติมากรรม และศิลปะภาพพิมพ์
- อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษาและแนะนำการปฏิบัติงานทุกครั้งที่ลงมือปฏิบัติงาน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของผู้อื่นและเพื่อในชั้นเรียน มีความซื่อสัตย์ในการเรียนและการสร้างสรรค์ผลงาน โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
มีความเป็นนักสร้างสรรค์ที่ดีมีคุณธรรมไม่ลอกเลียนหรือแอบอ้างผลงาน ของผู้อื่นว่าเป็นของตนเอง
เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
สามารถวิเคราะห์ผลหาข้อสรุปเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน
เห็นคุณค่างานวาดเส้น รับผิดชอบและปฏิบัติงานตรงเวลา
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างผลงานและนำเสนอก่อนการปฏิบัติงาน
ฝึกปฏิบัติงานตามแบบที่กำหนดให้ เน้นการแสดงออกที่เหมือนจริงโดยศึกษาจากหุ่นนิ่ง คนและสัตว์ ทิวทัศน์
กำหนดให้นักศึกษาใช้เวลาศึกษานอกเวลาเพิ่มเติมตามการฝึกปฏิบัติทุกครั้ง
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และลงมือปฏิบัติงานตามที่กำหนดตรงเวลา
1.3.2 ตั้งใจในการศึกษาและฝึกปฏิบัติด้วยความสนใจ
1.3.3 ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
รู้ทฤษฎีเกี่ยวกับความหมาย และวัสดุอุปกรณ์ในงานจิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะภาพพิมพ์หลักการทางทัศนศิลป์ สร้างงาน จิตรกรรม ประติมากรรม และศิลปะภาพพิมพ์ จากรูปทรงพื้นฐาน สิ่งของ คน สัตว์ ทิวทัศน์
บรรยายบรรยายพร้อมยกตัวอย่างผลงานและนำเสนอก่อนการปฏิบัติงาน ลงมือฝึกปฏิบัติงานตาม
แบบที่กำหนดให้และตามจินตนาการ ให้คำแนะนำแก้ไขปรับปรุงผลงาน แนะนำให้ใช้เวลาว่างดูและศึกษาผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะภาพพิมพ์แบบต่างๆตลอดจนผลงานจากศิลปินที่มีชื่อเสียงเพื่อดูเทคนิควิธีการของเขาแล้วนำมาปรับปรุงผลงานของตนเอง จากหนังสือ และสื่อทางอินเตอร์เน็ต
ประเมินจากผลงานที่ฝึกปฏิบัติทุกครั้งว่ามีความรู้และความเข้าใจในการถ่ายทอดให้สวยงาม จากแบบที่กำหนดให้ หรือตามความคิดจินตนาการด้วยวิธีการทางจิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะภาพพิมพ์
พัฒนาความสามารถในการมองโดยการถ่ายทอดและสร้างสรรค์ผลงานอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน วิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น  
บรรยายบรรยายพร้อมยกตัวอย่างผลงานและนำเสนอก่อนการปฏิบัติงาน ลงมือฝึกปฏิบัติงานตาม
แบบที่กำหนดให้ และจินตนาการ ให้คำแนะนำแก้ไขปรับปรุงผลงานให้สวยงามมากที่สุด แนะนำให้ใช้เวลาว่างดูและศึกษาผลงานของจิตรกร ประติมากร ศิลปินภาพพิมพ์ ที่มีชื่อเสียงเพื่อดูเทคนิควิธีการของเขาแล้วนำมาปรับปรุงผลงานของตนเอง
ประเมินจากผลงานที่ฝึกปฏิบัติทุกครั้งว่ามีความรู้และความเข้าใจในการถ่ายทอดให้สวยงาม จากแบบที่กำหนด หรือจินตนาการ ด้วยวิธีการทางจิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะภาพพิมพ์ 
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1กำหนดให้แบ่งกลุ่มและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานดูแลวัสดุอุปกรณ์ เพื่อการฝึกปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพในแต่ละครั้ง
4.2.2 มอบหมายให้แต่ละกลุ่ม ช่วยเหลือให้คำแนะนำเพื่อนในกลุ่ม
4.2.3 ดูแลให้กำลังใจกันและกัน ในห้องเรียน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยการวิจารณ์ผลงานที่ได้ฝึกปฏิบัติ
4.3.2 ประเมินจากความร่วมมือ ในการแบ่งงานกันอย่างมีระบบ และทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากการทำงานเสร็จตรงเวลา ดูแลความเรียบร้อยของห้องเรียน
5.1.1 ทักษะการฝึกการสร้างสรรค์
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์และสร้างสรรค์ผลงานจากข้อมูลที่ได้ศึกษามา
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น จากตำรา และข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานจิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะภาพพิมพ์ ตามหัวข้อที่กำหนดจากรูปทรงง่าย ๆและคน สัตว์ สิ่งของ ทิวทัศน์
5.2.2 นำเสนอผลงานตามความเหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากผลงานที่เสร็จสมบูรณ์
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานและวิธีการนำเสนอ
6.1.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามใบงาน และการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BFAVA115 ทัศนศิลป์ 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-15 ตรวจผลงานภาคการปฏิบัติขั้นสำเร็จตามหัวข้อที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 60%
2 1-15 การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การส่งงานตามที่มอบหมาย การนำเสนอโครงงานภาคเอกสาร ตลอดภาคการศึกษา 20% 10%
3 1-15 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
วาดเส้นด้วยดินสอ พิษณุ ประเสริฐผล 2549 กทม.
วาดเส้นพื้นฐาน วัชรพงษ์ หงส์สุวรรณ สำนักพิมพ์ วาดศิลป์ 2552 กทม.
ประวัติศาสตร์ประติมากรรม ประเสริฐ วรรณรัตน์ สำนักพิมพ์ วาดศิลป์ 2552 กทม.
ประติมากรรมหิน สุชาติ เถาทอง สำนักพิมพ์เกรทไฟน์อาร์ท 2549 กทม.
สีน้ำคนเหมือน พิษณุ ประเสริฐผล สำนักพิมพ์ วาดศิลป์ 2559 กทม.
สีน้ำภาคปฏิบัติ นัฐประชา หงส์สุวรรณ สำนักพิมพ์ วาดศิลป์ 2561 กทม. ความรู้เกี่ยวกับสิลปะภาพพิมพ์. อัศนีย์ ชูอรุณ โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์. กทม.
องค์ประกอบศิลปะ. ชลูด นิ่มเสมอ กรุงเทพ:ไทยวัฒนาพานิช. 2531
ไม่มี
- วารสาร ศิลปะทั้งในและต่างประเทศ เช่น fine arts,
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานตามหัวข้อที่กำหนดทุกครั้ง
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบความก้าวหน้าและความเข้าใจในการปฏิบัติงาน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ2จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยผลงานสร้างสรรค์เพื่อประกอบการเรียนรู้
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา และสังเกตความก้าวหน้า ความเข้าใจ และพัฒนาของผลการปฏิบัติงาน
4.1 การให้คะแนนจากการตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบโครงงานงาน วิธีการให้คะแนนโครงงานผลงานที่ปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1ปรับปรุงรายวิชาทุก3ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือหน่วยงานอื่น