การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์
Software Design and Development
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะเกี่ยวกับแบบจำลองข้อมูล และระบบฐานข้อมูล การเลือกใช้เครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์ มาตรฐานของซอฟต์แวร์ และการจัดการข้อจำกัดเชิงวิศวกรรม กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมและเทคนิคการเลือกคำสั่งในการแก้ไขปัญหาในเชิงโปรแกรม รูปแบบการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง แบบจำลองการไม่ประสานกันสำหรับการเขียนโปรแกรมที่มีการประมวลผลร่วมกัน การออกแบบและเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ กระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ กระบวนการทดสอบและคุณภาพของซอฟต์แวร์ การสร้างหน่วยทดสอบ รวมถึงการประยุกต์ใช้งานสำหรับอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง
เพื่อให้เนื้อหามีความเป็นลำดับที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน รวมทั้งปรับแต่งความละเอียดเข้มข้นของเนื้อหาในแต่ละเรื่องให้สอดคล้องกับความยากง่ายของเนื้อหานั้นๆ และให้สอดคล้องกับเวลาที่ใช้ในการเรียนการสอน
ศึกษาและฝึกปฎิบัติการเกี่ยวกับ แบบจำลองข้อมูล และระบบฐานข้อมูล การเลือกใช้เครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์ มาตรฐานของซอฟต์แวร์ และการจัดการข้อจำกัดเชิงวิศวกรรม กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมและเทคนิคการเลือกคำสั่งในการแก้ไขปัญหาในเชิงโปรแกรม รูปแบบการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง แบบจำลองการไม่ประสานกันสำหรับการเขียนโปรแกรมที่มีการประมวลผลร่วมกัน การออกแบบและเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ กระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ กระบวนการทดสอบและคุณภาพของซอฟต์แวร์ การสร้างหน่วยทดสอบ รวมถึงการประยุกต์ใช้งานสำหรับอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม 1.1.3 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม 1.1.3 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
กำหนดให้มีวัฒธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอการบ้านของผู้อื่น
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา
1.3.2 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม
2.1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมรวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
2.1.3 สามารถวิเคราะห์โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมให้ตรงตามข้อกำหนดได้
2.1.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการของโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมรวมทั้งการนำไปประยุกต์
2.1.5 รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมอย่างต่อเนื่อง
2.1.6 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
2.1.7 การทดสอบมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการทดสอบจากข้อสอบของแต่ละวิชาในชั้นเรียน ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
บรรยาย อภิปราย โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฏิบัติจริง โดยการมอบหมายงานพร้อมทั้งอธิบายงานที่มอบหมายเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ หรือการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 ประเมินจากงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย
2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
3.1.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมิน โดยใช้สารสนเทศในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.1.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.2.2 มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์
3.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3.3.2 แบบฝึกหัดที่มอบหมาย
4.1.1 สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่ม แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
4.3.1 สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
4.3.2 การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถเลือกใช้สื่อสารสนเทศอย่างเหมาะสม
5.2.1 ให้นักศึกษาแก้ปัญหา วิเคราะห์ประสิทธิภาพของวิธีแก้ปัญหา แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.3.1 แบบฝึกหัดที่ได้รับมอบหมาย
5.3.2 การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน โดยให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติตามแบบฝึกปฏิบัติการ
6.3.1 ประเมินจากผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | 1.1.1 – 1.1.3, 2.1.1 – 2.1.3, 3.1.1 – 3.1.2 | สอบกลางภาค, สอบปลายภาค | 9, 17 | 20%, 20% |
2 | 1.1.1 – 1.1.3, 2.1.1 – 2.1.3, 3.1.1 – 3.1.2, 4.1.1 – 4.1.3, 5.1.1 | การส่งงานตามที่มอบหมาย | ตลอดภาคการศึกษา | 60% |
Bernard I. Witt, Terry F. Baker, and EverettW Merritt. Software Architecture And Design: Principles, Models, And Methods. New York : Van Nostrand Reinhold, 1994.
Len Bass, Paul Clements, and Rick Kazman. Software Architecture in Practice Third Edition. Addison-Wesley, 2012.
Eric J. Braude. Systems Architecture : Hardware And Software In Business Information Systems. Danvers : boyd & fraser, 1994.
Len Bass, Paul Clement, and Rick Kazman. Software Architecture in Practice.MA : Addison-Wesley, 1998.
Stephen D. Burd. Systems Architecture : Hardware And Software In Business Information Systems.Danvers : boyd & fraser, 1994.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
สังเกตพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน สังเกตผลการเรียนของนักศึกษา
สังเกตพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน สังเกตผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ งานที่มอบหมาย วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ งานที่มอบหมาย วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 ประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ
ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 ประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ