การจัดกระบวนการทางระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

Business Process Management in Information Systems

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดกระบวนการทางระบบสารสนเทศทางธุรกิจ เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการวิเคราะห์ และกำหนดกระบวนการทางธุรกิจรวมถึงการพัฒนาโมเดลของการจัดกระบวนการทางระบบสารสนเทศทางธุรกิจ เพื่อให้นักศึกษาสามารถออกแบบกระบวนการใหม่ ออกแบบผลิตภัณฑ์ และระบบการผลิต เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกระบวนการทางระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับแนวคิดการจัดการกระบวนการทางระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในงานธุรกิจ นิยามและการแบ่งประเภทกระบวนการทางระบบสารสนเทศ การสร้างโมเดลกระบวนการทางระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์และออกแบบกระบวนการใหม่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ และระบบการผลิต แนวโน้มการใช้กระบวนการระบบสารสนเทศในงานธุรกิจ วิธีการจัดการกระบวนการระบบสารสนเทศทางธุรกิจการประยุกต์ใช้กระบวนการระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่าน Ms Teams  หรือ กลุ่ม
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
 พัฒนาผู้เรียนให้มีมีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และสามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา พฤติกรรมระหว่างการทำงานกลุ่ม การนำเสนอและอภิปราย โดยผู้สอนอาจซักถามประเด็นด้านจริยธรรม ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ เข้าใจหลักการทฤษฎีของการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ   มีทักษะในการวิเคราะห์ และกำหนดกระบวนการทางธุรกิจรวมถึงการพัฒนาและมีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การควบคุมและการประเมินผลดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผน ○ มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
บรรยาย กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยวิเคราะห์ระบบจากกรณีศึกษาจริง
 การสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน   ประเมินจากโครงงานที่มอบหมายนักศึกษา  ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม  สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้   มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ  จากกรณีศึกษา การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
นำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา   ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูลที่ได้
ความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคล อื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา  การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน  การระดมสมอง (Brainstorming)
 
สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการจัดกระบวนการทางธุรกิจเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา
ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล กลุ่ม  และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษการสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
มาตรฐานผลการเรียนรู้ของ สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจฯ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)   1.  สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม   2.  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง   3.  สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต   4.  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล   5.  สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
  1.  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม     2.  จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ  บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม     จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผล                          การดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์     จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ                 การเรียนการสอนกับการทำงาน
ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม     พฤติกรรมที่แสดงออก ในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้นักศึกษา                           มีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม     พฤติกรรมที่แสดงออกจากการเข้าฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ                      ตามหลักบูรณาการ  การเรียนการสอนกับการทำงาน     การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม      นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้  
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 BBAIS822 การจัดกระบวนการทางระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.3, 1.4 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.6 3.1, 3,2, 3.3, 3.4 4.2, 4.3 5.2, 5.6 1.การเข้าห้องเรียน รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย 2.แบบฝึกหัดในชั้นเรียน และงานมอบหมาย กรณีศึกษา กระบวนการทางธุรกิจ และการวิเคราะห์กระบวนการตามที่อาจารย์มอบหมาย (งานกลุ่ม) ทุกสัปดาห์ 50%
2 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.6 3.1, 3,2, 3.3, 3.4 สอบกลางภาค 9 25%
4 1.2, 1.3, 1.4 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.6 3.1, 3,2, 3.3, 3.4 4.2, 4.3 5.2, 5.6 การนำเสนอโครงงาน /สรุปผล/ประเมินผลงาน 16 10%
5 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.6 3.1, 3,2, 3.3, 3.4 สอบปลายภาค 17 15%
เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการจัดกระบวนการทางระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา  ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด / e-mail และสังคมออนไลน์ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา  การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน  
1.ผลการประเมินการสอน 2.   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ระหว่างภาคการศึกษา / เมื่อสิ้นภาคการศึกษา
เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เน้นการวิเคราะห์ธุรกิจ ได้ปรับปรุงวิธีการสอนใช้การเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้ Problem Base และ โครงงานเพื่อให้นักศึกษาได้ เข้าใจระบบธุรกิจมากยิ่งขึ้น
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น