ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมประเภทอุปโภคบริโภค

Consumer Industrial Product Design

1. ฝึกปฏิบัติ ออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทอุปโภคบริโภค ที่มีกลไกอย่างง่ายตามกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
2. ฝึกปฏิบัติ การนำแรงบันดาลใจมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
3. กำหนดลักษณะแบบอย่างผลิตภัณฑ์และพัฒนารูปทรงผลิตภัณฑ์และประโยชน์ใช้สอย
4. กำหนดวัสดุและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบผลิตภัณฑ์
5. เห็นคุณค่าของการใช้หลักการออกแบบ สามารถนำเสนองานออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทอุปโภคบริโภค ที่มีกลไกอย่างง่ายตามกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
 
1. ให้นักศึกษามีทักษะในการปฏิบัติ ออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทอุปโภคบริโภค ที่มีกลไกอย่างง่ายตามกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
2. ให้นักศึกษามีทักษะในการฝึกปฏิบัติการนำแรงบันดาลใจมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
3. ให้นักศึกษามีทักษะในการกำหนดลักษณะแบบอย่างผลิตภัณฑ์และพัฒนารูปทรงผลิตภัณฑ์และประโยชน์ใช้สอย
4. ให้นักศึกษามีทักษะในการกำหนดวัสดุและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบผลิตภัณฑ์
5. ให้นักศึกษาเห็นคุณค่าของการใช้หลักการออกแบบ สามารถนำเสนองานออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทอุปโภคบริโภค ที่มีกลไกอย่างง่ายตามกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ฝึกปฏิบัติ ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมประเภทอุปโภคบริโภค สร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบ กำหนดลักษณะแบบอย่างผลิตภัณฑ์ พัฒนารูปทรงผลิตภัณฑ์และประโยชน์ใช้สอย วัสดุและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้องกับงาน ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีกลไกอย่างง่าย ผลิตภัณฑ์ประเภทอุปโภคบริโภค ตามกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ให้คำปรึกษานอกชั้นเรียนวันละ 2 ชั่วโมงรวม 14 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ทางกลุ่ม Facebook : Consumer IPD_65 ซึ่งได้ประกาศให้นักศึกษาทราบตั้งแต่เข้าเรียนในสัปดาห์แรก
- ฝึกให้นักศึกษาเป็นผู้มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- ให้นักศึกษาเป็นผู้เคารพและให้เกียรติความคิดและความรู้ของบุคคลอื่นๆ และมีความซื่อสัตย์
- ฝึกให้นักศึกษาเป็นผู้มีความอดทนอดกลั้น สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไม่มีอคติในการทำงาน โดยสามารถทำงานได้ในเวลาที่กำหนดให้
ประเมินพฤติกรรมการเรียนด้วยคะแนนจิตพิสัย 10%
 
ความรู้ที่ต้องได้รับ นักศึกษาจะต้องมีทักษะปฏิบัตินำความรู้ในการนำหลักการออกแบบมาใช้ในออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทอุปโภคบริโภค ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
สอนโดยการบรรยายและสาธิต ประกอบสื่อการสอนและตัวอย่าง และกำหนดให้ฝึกปฏิบัติงานในและนอกชั้นเรียนเพื่อเป็นการเพิ่มทักษะความเข้าใจและส่งงานตามเวลาที่กำหนดให้
ประเมินผลจากงานฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน 30% ฝึกปฏิบัติงานนอกชั้นเรียน 30%  และจากการสอบ 30% จิตพิสัย 10%
ให้นำหลักการออกแบบมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทอุปโภคบริโภค ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
สอนโดยการสาธิตการปฏิบัติประกอบสื่อการสอนและตัวอย่าง แล้วให้นักศึกษาปฏิบัติการหาข้อมูลและฝึกปฏิบัติออกแบบ และกำหนดให้ฝึกปฏิบัติงานนอกชั้นเรียนเพื่อเป็นการเพิ่มทักษะปฏิบัติ และฝึกการปฏิบัติจากโจทย์จากความต้องการจริงในการลงพื้นที่เพื่อส่งงานประกวด โดยส่งงานตามเวลาที่กำหนดให้ 
- จากงานที่ฝึกปฏิบัติ และนำเสนองานในและนอกชั้นเรียน
- จากการทดสอบในชั้นเรียน
- การส่งงานประกวด
- การสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน
- ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย
- ความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม การแก้ปัญหาในการทำการออกแบบฯ
- ความตรงต่อเวลา
- บรรยายและสาธิตพร้อมแสดงตัวอย่างประกอบ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่ละสัปดาห์
- มอบหมายให้ปฏิบัติงาน
- ตรวจงานด้วยการให้ น.ศ. นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
- สอบปฏิบัติกลางภาคและปลายภาค
- สอบทฤษฎีกลางภาคและปลายภาค
- การตรวจสอบพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานได้ตรงตามขอบเขต และเวลาที่กำหนดไว้
- การประเมินผลการงานทำงาน โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมิน
- ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร การส่งข้อมูลทาง microsoft team.
สอนโดยการบรรยายประกอบตัวอย่างโครงการ แล้วให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการค้นคว้าข้อมูล และกำหนดให้ฝึกปฏิบัติงานทั้งในและนอกชั้นเรียนเพื่อเป็นการเพิ่มทักษะปฏิบัติและส่งงานตามเวลาที่กำหนดให้
- ตรวจผลงานปฏิบัติในชั้นเรียน
- ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
- จากพฤติกรรมการทำงาน ความรับผิดชอบ และการตรงเวลา
- มีทักษะในการหาแนวทาง ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 
- มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 
- มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
- บรรยายพร้อมแสดงตัวอย่างประกอบ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่ละสัปดาห์ 
- มอบหมายให้ปฏิบัติงานตามโจทย์การประยุกต์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
งานที่ฝึกปฏิบัติในและนอกชั้นเรียน ทั้งในชั่งโมงเรียนและ project ท้ายเทอม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 3 1 2 4 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BAAID127 ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมประเภทอุปโภคบริโภค
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2,1.1,2.1,2.3,6.2,6.1,6.3 นักศึกษาส่งงานปฏิบัติรายสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษา 65%
2 4.2,4.3 การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
3 3.2,3.1,3.4,5.1,5.3,5.2 สอบกลางภาค 8 10%
4 3.2,3.1,3.4,5.1,5.3,5.2 สอบปลายภาค 16 15%
5 1.2,1.1,6.2,6.1,6.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
• สังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
• แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
• ให้อาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษาแจ้งผู้รับผิดชอบรายวิชา ในกรณีที่เกิดปัญหาของผู้เรียนเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในรายวิชานี้
• ข้อเสนอแนะผ่านแบบสอบถามที่ผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดทำ
 
• การสังเกตการณ์การเรียนรู้
• แบบทดสอบย่อยในชั้นเรียนเมื่อจบบทเรียน
• ผลการทำโครงการฯ
• ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการประเมินการสอนและผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
• ปรึกษาและสรุปทบทวนกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างผู้สอน
• สัมมนาการจัดการเรียนการสอนในระดับภาควิชา ร่วมกับผู้รับผิดชอบรายวิชาและผู้สอนในกลุ่มวิชาหลักสาขา
• วางแผนและดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
• ในระหว่างกระบวนการสอน มีการทบทวนผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ โดยการสอบถามจากนักศึกษา อาจารย์ผู้สอน และแบบทดสอบย่อยในชั้นเรียน
• เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษา มีการสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่มอาจารย์ผู้สอน และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการใน
สาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบผลงานวิธีการให้คะแนน และพฤติกรรมในการเรียนรู้และส่งงาน
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ควรมีการปรับปรุงรายละเอียดย่อยของรายวิชา
ตามผลการประชุมร่วมระหว่างผู้สอนเป็นรายปี และปรับปรุงรายวิชาทุก 4 ปี หรือตามข้อเสนอแนะ
(จากผลการประชุมร่วมระหว่างผู้สอนและจากนักศึกษา) และผลการทวนสอบมาตรฐานสัมฤทธิ์