การตรวจสอบงานก่อสร้าง

Inspection for Construction

1. เพื่อให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบก่อนเริ่มงานก่อสร้าง 2. รู้และเข้าใจการตรวจสอบแบบก่อสร้าง,ผังอาคารและโครงสร้างอาคาร 3. รู้และเข้าใจการตรวจสอบงานคอนกรีตอัดแรง , งานเหล็กรูปพรรณและงานระบบต่างๆ 4. รู้เรื่องการป้องกันความปลอดภัย , การติดตั้งและรื้อถอน 5. มีทัศนะที่ดีและเห็นความสำคัญต่อการเรียนวิชาการตรวจสอบงานก่อสร้าง  
เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักหลักมูลของการตรวจสอบงานก่อสร้าง ซึ่งเป็นหนึ่งในวิชาชีพเลือก โดยเนื้อหาบางส่วนปรับเปลี่ยนตามวิทยาการ และเทคโนโลยีตลอดเวลา ที่เน้นผลการเรียนรู้ทั้งห้าด้านซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในวิชาอื่น ๆและบรรลุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective) ดังนี้ 1. พุทธิพิสัย คือ สามารถจำ เข้าใจ รู้จักนำไปใช้ รู้จักวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า 2. จิตพิสัย คือ สามารถรับรู้ หรือเอาใจใส่ ตอบสนอง เห็นคุณค่า จัดระบบ หรือสร้างความเชื่อ สร้างนิสัย หรือค่านิยม 3. ทักษะพิสัย คือ สามารถปฏิบัติ หรือนำความรู้ไปปฏิบัติจนชำนาญ  
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบก่อนเริ่มงานก่อสร้าง การตรวจสอบแบบก่อสร้าง แบบและแผนการทำงาน ระบบการขนส่งวัสดุ ความปลอดภัย การติดตั้ง รื้นถอน  การวางผังอาคาร งานฐานราก งานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก งานคอนกรีตอัดแรง งานเหล็กรูปพรรณ งานสถาปัตยกรรม ระบบสุขาภิบาล ระบบดับเพลิง ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ การเขียนแบบรายละเอียดก่อสร้าง การนำนักศึกษาทัศนศึกษานอกสถานที่
1 ชั่วโมง/สัปดาห์นักศึกษาสามารถติต่อผู้สอน เพื่อขอคำปรึกษา หรือแนะนำ ได้ ด้วยตนเอง หรือโดยวิธีสื่อสารที่สะดวก
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม และจริยธรรม 1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 แนะนำในห้องเรียน 1.2.2 อธิบาย ความหมาย ข้อดี ข้อเสีย 1.2.3 แบ่งกลุ่มระดมความคิด 1.2.4 แนะนำและยกตัวอย่าง 1.2.5 บอกระเบียบการเข้าชั้นเรียน 1.2.6 แนะนำในห้องเรียน 1.2.7 มีสัมมาคารวะให้ความเคารพแก่ผู้อาวุโส
1.3.1 สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา 1.3.2 สอบข้อเขียน 1.3.3 นำเสนอในชั้นเรียน 1.3.4 ผลการเข้าชั้นเรียน 1.3.5 การส่งงานที่มอบหมายตามเวลา และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 สอน อธิบาย ยกตัวอย่าง ตามวิชาการ 2.2.2 ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ ในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ 2.2.3 กำหนดหัวข้อทางวิชาการให้กับนักศึกษาในการค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ นอกเวลาเรียน 2.2.4 อธิบายความเชื่อมโยงของความรู้ในวิชาที่ศึกษากับศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง 2.2.5 ระดมความคิดของนักศึกษาในชั้นเรียน 2.2.6 แบ่งกลุ่มค้นคว้าข้อมูลและรายงาน
2.3.1 สอบย่อย 2.3.2 สอบข้อเขียน ทั้งกลางภาค และ ปลายภาค 2.3.3 งานที่มอบหมาย 2.3.4 รายงาน 2.3.5 ผลงานที่นำเสนอ 2.3.6 ข้อเสนอความคิดของนักศึกษาและนำเสนอในชั้นเรียน
3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 ฝึกทักษะ ตามหัวข้อทางวิชาการให้นักศึกษาได้ปฏิบัติ 3.2.2 การมอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงาน และนำเสนอผลการศึกษา
3.3.1 ทดสอบย่อย 3.3.2 วิเคราะห์แนวคิดทางวิชาการ 3.3.3 ประเมินระบบการทำโครงงานและการนำเสนอโครงงาน
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามรถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 แนะนำในห้องเรียน 4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน 4.2.3 มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด 4.2.4 อธิบายความเชื่อมโยงของความรู้ในวิชาที่ศึกษากับศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
4.3.1 สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา 4.3.2 ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ 4.3.3 ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา 4.3.4 สอบข้อเขียน 4.3.5 ข้อเสนอความคิดของนักศึกษา
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และทำแบบฝึกหัด และตรวจสอบความถูกต้อง 5.2.2 มอบหมายงานกลุ่ม นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน 6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ 6.2.3 สนับสนุนการเข้ารว่มกิจกรรมกับหน่วยงานภายในและภายนอก
6.3.1 ประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน 6.3.2 ประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 3 4 5 3 4 5 4 3 2 3 5 5 1 2
1 ENGCV704 การตรวจสอบงานก่อสร้าง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-6 การทดสอบย่อย และงานที่ได้รับมอบหมาย 1-16 10%
2 1-6 รายงานกลุ่มการศึกษาดูงาน 1-16 10%
3 1-6 การสอบกลางภาค 8 30%
4 1-6 การสอบปลายภาค 17 30%
5 1-6 การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม 1-16 5%
6 1-6 การประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ 1-16 5%
7 1-6 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม โดยนักศึกษาสมาชิกกลุ่ม 1-16 5%
8 1-6 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียน โดยนักศึกษาอื่นๆในรายวิชา 1-16 5%
วีระ   สังข์นาค และคณะ. 2553. เอกสารคำสอนรายวิชา 123443 การตรวจสอบงานก่อสร้าง สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม  คณะวิศวกรรมศาสตร์    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก
รายการตรวจสอบงานก่อสร้าง. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ : กรุงเทพ 2526. วีระศักดิ์   กรัยวิเชียร. เครื่องจักรกลงานก่อสร้าง .บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน).  : กรุงเทพ 2541. อรุณ   ชัยเสรี. การวิบัติของอาคาร สาเหตุและการแก้ไข.วิศวกรรมสถานแห่งประเทสไทย:กรุงเทพ 2543. อรุณ  ชัยเสรี. มาตรฐานสำหรับอาคารวัสดุก่อสร้าง.วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย:กรุงเทพ . อรุณ  ชัยเสรี , ชัย  มุกตพันธ์. คู่มือการตรวจสอบคอนกรีต 15085 .วิศวกรรมสถานแห่งประเทศ:กรุงเทพ. อรุณ  ชัยเสรี.อันตรายจากการก่อสร้างและวิธีป้องกัน.วิศวกรรมสถานแห่งประเทศ:กรุงเทพ. มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้างอาคาร.วิศวกรรมสถานแห่งประเทศ:กรุงเทพ.2526.
อรุณ   ชัยเสรี. การวิบัติของอาคาร สาเหตุและการแก้ไข.วิศวกรรมสถานแห่งประเทสไทย:กรุงเทพ 2543. อรุณ  ชัยเสรี. มาตรฐานสำหรับอาคารวัสดุก่อสร้าง.วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย:กรุงเทพ . อรุณ  ชัยเสรี , ชัย  มุกตพันธ์. คู่มือการตรวจสอบคอนกรีต 15085 .วิศวกรรมสถานแห่งประเทศ:กรุงเทพ. อรุณ  ชัยเสรี.อันตรายจากการก่อสร้างและวิธีป้องกัน.วิศวกรรมสถานแห่งประเทศ:กรุงเทพ. มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้างอาคาร.วิศวกรรมสถานแห่งประเทศ:กรุงเทพ.2526
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยสาขาวิชา ,คณะวิชา จากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา  แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดทุกภาคการศึกษา  สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอน/การวิจัยในชั้นเรียน  และมอบหมายให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่มีปัญหา ทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 รายวิชา มีการประชุมอาจารย์ทั้งภาควิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา  โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของภาควิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าภาควิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป