การจัดการการผลิต

Production Management

ระบบการผลิตด้วยการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจโดยรวม เทคนิคการจัดสรรวัสดุ การวางแผนผังกระบวนการผลิต เทคนิคการพยากรณ์ การเลือกทำเลที่ตั้ง การวิเคราะห์ต้นทุนและกำไรเพื่อการตัดสินใจ การวางแผนการผลิตรวม การจัดลำดับงานและตารางการผลิตด้วยวิธีฮิวริสติก การควบคุมสินค้าคงคลังและการใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบการผลิตด้วยการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจโดยรวม เทคนิคการจัดสรรวัสดุ การวางแผนผังกระบวนการผลิต เทคนิคการพยากรณ์ การเลือกทำเลที่ตั้ง การวิเคราะห์ต้นทุนและกำไรเพื่อการตัดสินใจ การวางแผนการผลิตรวม การจัดลำดับงานและตารางการผลิตด้วยวิธีฮิวริสติก การควบคุมสินค้าคงคลังและการใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ระบบการผลิตด้วยการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจโดยรวม เทคนิคการจัดสรรวัสดุ การวางแผนผังกระบวนการผลิต เทคนิคการพยากรณ์ การเลือกทำเลที่ตั้ง การวิเคราะห์ต้นทุนและกำไรเพื่อการตัดสินใจ การวางแผนการผลิตรวม การจัดลำดับงานและตารางการผลิตด้วยวิธีฮิวริสติก การควบคุมสินค้าคงคลังและการใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สอนเสริมเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการเพิ่มเติม)
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
2. มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
3. มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1. สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา 2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย  
1. การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม  
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
1. จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ 2. การบรรยายภายและทำงานที่ได้รับมอบหมายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน  การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
1. สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
2. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
 
1. การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
1. ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
1. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
2. มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็น ใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1.สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
2. สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูล และข้อมูลเชิงตัวเลข ได้
1. การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
1. สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
1. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผล การดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
1. นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ(Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4
1 BBABA238 การจัดการการผลิต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1 2.1.2 3.1.1 3.1.2 5.1.1 5.1.3 สอบกลางภาค และสอบปลายภาค สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 8 สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 17 สอบกลางภาค 30% สอบปลายภาค 30%
2 1.1.3 2.1.1 2.1.2 3.1.1 3.1.2 4.1.2 5.1.1 5.1.3 6.1.1 แบบฝึกหัด (เดี่ยว, กลุ่ม) กรณีศึกษา (เดี่ยว, กลุ่ม) การทดสอบย่อยในชั้นเรียน รายงาน หรืองานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1.1 1.1.2 1.1.3 4.1.1 4.1.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม การเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดภาคการศึกษา 10%
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้           1.1 การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา หรือ          
          1.2 การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ          
          1.3 การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา หลังจบบทเรียนในรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ ดังนี้           2.1 การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน หรือ           2.2 การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ รายงานหรือโครงการที่ได้รับมอบหมาย
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้           3.1 การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้           4.1 การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา           4.2 การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)           4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ           4.4 การประเมินข้อสอบ การปฏิบัติงานในชั้นเรียน การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้           5.1 รายงานผลการทวนสอบสัมฤทธิ์รายวิชา ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา           5.2 นำผลการทวนสอบสัมฤทธิ์รายวิชา ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป โดยอาจารย์ผู้สอน           5.3 นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร