การบัญชีต้นทุน

Cost Accounting

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ความสำคัญ และบทบาทของการบัญชีต้นทุนในองค์กรธุรกิจ ความหมายของต้นทุนต่างๆ ระบบบัญชีที่ใช้บันทึกต้นทุน วิธี การบัญชีและการควบคุมเกี่ยวกับวัตถุดิบ ค่าแรงงานทางตรงและค่าใช้จ่ายการผลิต ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่ง ทำ ระบบการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต วิธีการบัญชีเกี่ยวกับของเสีย ของสิ้นเปลือง งานที่บกพร่อง เศษซาก การบัญชีต้นทุนมาตรฐานและการวิเคราะห์ผลต่าง การบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้ ปัญหาการปันส่วนต้นทุนการผลิต และการบัญชีต้นทุนฐานกิจกรรม
เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผล การเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและฝึกปฎิบัติ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ความสำคัญและบทบาทของการบัญชีต้นทุนในองค์กรธุรกิจ ความหมายของต้นทุนต่าง ๆ ระบบบัญชีที่ใช้บันทึกต้นทุน วิธีการบัญชีและการควบคุมเกี่ยวกับวัตถุดิบค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิต ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ ระบบการบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต วิธีการบัญชีเกี่ยวกับของเสีย ของสิ้นเปลืองงานที่บกพร่อง เศษซาก การบัญชีต้นทุนมาตรฐานและการวิเคราะห์ผลต่างการบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้ การปันส่วนต้นทุนการผลิตและการบัญชีต้นทุนฐานกิจกรรม
7 ชั่วโมง
1. มีความรู้ และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี
2. สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
3. แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม
กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ได้แก่ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การสอบ การทำงานที่ได้รับมอบหมาย การทำโจทย์ปัญหา และการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
 1) ติดตามการปฎิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และให้คะแนน 10%
1. มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
2. มีความรู้ ความเข้าใจ ในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
3. มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
4. มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี
บรรยาย ยกตัวอย่าง และถาม – ตอบในชั้นเรียน การฝึกหัดแก้ไขโจทย์ปัญหา
การตอบคำถามในชั้นเรียน การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
1. มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วย วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
2. มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
3. มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก
4. มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
มอบหมายงานกลุ่มให้จัดทำรายการการคำนวณต้นทุนการผลิตสินค้า
1. คุณภาพของงานที่มอบหมายให้ทำ
1. มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ต่าง ๆ วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
2. มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ
3. มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
มอบหมายรายงาน
คุณภาพของรายงาน 
1. มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการใช้ความรู้ความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผนงาน การควบคุม การประเมินผล และการรายงานผล ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
2. มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ
3. มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์
มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่มอบหมายให้วิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2..ด้านการเรียนรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านการวิเคราะห์ ตัวเลขการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 3.4 4.1 4.2 4.3 5.1 5.2 5.3
1 BACAC123 การบัญชีต้นทุน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1/2.2/2.3/2.4/3.1/3.2/3.4 สอบย่อยครั้งที่ 1 บทที่ 1 ความรู้เบื้องเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุน - พื้นฐานการบันทึกบัญชีต้นทุนและการจัดทำงบต้นทุนการผลิต 3 10%
3 2.1/2.2/2.3/2.4/3.1/3.2/3.4 สอบกลางภาคเรียน การปันส่วนต้นทุนแผนกบริการไปยังแผนกผลิต บทที่ 1 - 4 ภาพรวมของบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ 8 30%
4 2.1/2.2/2.3/2.4/3.1/3.2/3.4 สอบย่อยครั้งที่ 2 บทที่ 5 การบัญชีต้นทุนช่วง 11 10%
6 2.1/2.2/2.3/2.4/3.1/3.2/3.4 สอบปลายภาคเรียน บทที่ 6 การบัญชีต้นทุนช่วงแบบมีเงื่อนไข บทที่ 6 การปัญชีสำหรับผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้ บทที่ 7 การบัญญชีต้นทุนมาตรฐาน 17 30%
7 1.4/4.1/4.2/4.3/5.1/5.2/5.3 รายงาน ต้นทุนนการผลิต ให้นักศึกษาศึกษากระบวนการผลิตและคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์เครื่องจักสารของชุมชนอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ 17 10%
8 1.4/4.1/4.2/4.3/5.1/5.2/5.3 การปฎิบัติในชั้นเรียน งานที่มอบหมาย การมีส่วนร่วมและพฤติกรรมในชั้นเรียน 1-17 10%
Principles of Cost Accounting ,VanDerbeck                                          
การบัญชีต้นทุน Cost Accounting ผศ.เดชา อินเด
ไม่มี
ไม่มี
ใช้การทดสอบปฏิบัติ  ในแต่ละบท
ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยในระบบออนไลน์
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงหลักการคำนวณต้นทุนสินค้า
ให้กรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ เป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบ และ การตัดเกรด 
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ เป็นผู้นำเสนอข้อสอบ และ การตัดเกรด  ก่อนที่จะมีการสอบและการประกาศผล นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2  ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน  วิธีการประเมิน และ เนื้อหารายวิชา