เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม

Engineering Economy

1. รู้หลักเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์
2. เข้าใจการคิดดอกเบี้ยต่างๆ
3. รู้และเข้าใจการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และการเลือกโครงการด้วยวิธีต่างๆ
4. รู้วิธีการหาค่าเสื่อมราคา
5. รู้คำนวณหาอัตราผลตอบแทน และวิเคราะห์ ประโยชน์ต่อเงินลงทุน
6. รู้วิธีการวิเคราะห์การทดแทนทรัพย์สิน และอัตราเงินเฟ้อ
เพื่อพัฒนารายวิชาเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมให้มีความก้าวหน้าตามการใช้งานจริงในปัจจุบันที่โรงงานอุตสาหกรรมใช้กัน
 ศึกษาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์เพื่อใช้ในงานวิศวกรรม  ต้นทุน งบดุล งบกำไรขาดทุน  การคำนวณ
ดอกเบี้ย     การหามูลค่าปัจจุบัน  และมูลค่ารายปี  การหาอัตราผลตอบแทน  การหาผลประโยชน์ต่อเงินลงทุน  หาค่าเสื่อมราคา  ภาษีรายได้  จุดคุ้มทุน  การทดแทนทรัพย์สิน  การวิเคราะห์เงินเฟ้อ  และการวิเคราะห์การตัดสินใจในโครงการต่าง ๆ   การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง และความไม่แน่นอน  การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์งานด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม   
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและ
ข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง
และลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 1.1.3 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล
องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.2.1 บรรยายเนื้อหาความสำคัญของรายวิชาพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้นักศึกษาทราบเกี่ยวกับ
คุณธรรม จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิชาชีพในองค์กรและสังคม
1.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมของนักศึกษา
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรม
พื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
             2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของ
สาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ
             2.1.3 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่
เหมาะสม
              2.1.4 สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาทำตามเงื่อนไขของรายวิชา       
2.3.1 ดูจากผลงานของนักศึกษา
3.1.1 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.2 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูล
ประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.3 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการ
พัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาทำตามเงื่อนไขของรายวิชา
3.2.2 ให้นักศึกษาวิเคราะห์งาน และสามารถแสดงแนวความคิดในเชิงสร้างสรรค์ได้
3.3.1 ดูจากงานที่นักศึกษาส่งและการวัดผลโดยการสอบกลางภาคและปลายภาค
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ
ภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นเหมาะสม
4.1.2 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทาง
วิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.3 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและ
งานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1 มีการให้งานทำในลักษณะกลุ่ม
4.2.2 นักศึกษาที่เรียนรู้ได้เร็ว ช่วยอธิบายเทคนิค ช่วยเหลือให้เพื่อน
4.2.3 การส่งงานที่ได้รับมอบหมายทันในเวลาที่กำหนด
4.3.1 การสังเกต
4.3.2 ความสำเร็จของงานที่ได้รับมอบหมาย
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อ
การแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้
สัญลักษณ์
5.1.4 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขา
วิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 นักศึกษาสามารถส่งงานและนำเสนองานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1ดูจากผลงานของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGIE113 เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 ตรวจสอบรายชื่อการเข้าชั้นเรียน ความสนใจในการเรียน ทุกสัปดาห์ ที่มีการเรียน ร้อยละ 10
2 2.2 สอบวัดความรู้กลางภาค ปลายภาค 8 และ 17 ร้อยละ 50
3 2.2 2.5 3.4 4.4 5.1 ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย ทุกครั้งที่มอบหมาย ร้อยละ 40
Ralph Stair, George Reynolds (200x). Engineering Economy, Thomson Course Technology
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ