การเพาะเห็ด

Mushroom Culture

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับความสำคัญและลักษณะทางชีววิทยาของเห็ด เห็ดพิษและความเป็นพิษของเห็ด ปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเห็ด การทำเชื้อและเพาะเห็ดชนิดต่าง ๆ การปฏิบัติดูแลรักษา การบริหารศัตรูเห็ด การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ธุรกิจการเพาะเห็ด มีความรับผิดชอบ มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีความรอบรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถประยุกต์ในการดำรงชีพ สามารถวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ ริเริ่มสร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำ สามารถประยุกลายมีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ มีทักษะการสื่อสาร และมีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในสาขาวิชาชีพที่ทันสมัยให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัยและสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญและลักษณะทางชีววิทยาของเห็ด เห็ดพิษและความเป็นพิษของเห็ด ปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเห็ด การทำเชื้อและเพาะเห็ดชนิดต่าง ๆ การปฏิบัติดูแลรักษา การบริหารศัตรูเห็ด การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และธุรกิจการเพาะเห็ด
Study and practice of importance and biology of muchroom, poisonous muchroom, taxonomy of muchroom, environmental factors on muchroom growth, hyphae culture, muchroom culture,management, muchroom pest management, havesting, posthavesting and muchroom business
อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่าน line กลุ่มวิชา และอาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
3.1 
3.1 วันพุธเวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องสำนักงานสาขาพืชศาสตร์ โทร..089-6458516
3.2 e-mail; Pramoth2550@hotmail.com
3.3 Line: การเพาะเห็ด 2-2565
1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 
กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆเช่นให้เข้าห้องเรียน ห้องปฏิบัติการตรงเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
- ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายการปฏิบัติการ และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
การตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดเวลา ความพร้อมเพรียงในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร

ความซื่อสัตย์ในการสอบและการทำงานมอบหมาย
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
1. บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. สอนภาคปฏิบัติ
การทดสอบย่อย การทดสอบกลางภาค-ปลายภาค ประเมินจากรายงาน ประเมินจากการนำเสนองาน

ประเมินจากผลการปฏิบัติงานภาคปฏิบัติ
3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน และวิเคราะห์กรณีศึกษาในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
ประเมินจากผลการปฏิบัติงานจริง

2. ประเมินจากการนำเสนองาน
4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา การมอบหมายงานรายกลุ่ม และการนำเสนอรายงาน
ประเมินจากรายงานที่นำเสนอพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ


มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากเว็บไซต์สื่อการสอนการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลขหรือมีสถิติอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความนับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 1 2 1 2
1 BSCAG156 การเพาะเห็ด
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรมจริยธรรม 1 การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา 2 ความรับผิดชอบงานมอบหมาย ทุกสัปดาห์ที่จัดการเรียนการสอน ร้อยละ 5
2 ความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 1 ทดสอบแต่ละหน่วยเรียน 2 รายงานบทปฏิบัติการ สัปดาห์ที่ 9 และ 17 ทุกสัปดาห์ที่รายงานบทปฏิบัติการ ทดสอบแต่ละหน่วยเรียน ร้อยละ 40 และ รายงานบทปฏิบัติการ ร้อยละ 40
3 1 ทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2 สามารถทำงานเป็นทีม 3 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 4 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ให้งานมอบหมายเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม โดยให้เลือกชนิดเห็ดที่สนใน และนำเสนอรายงาน สัปดาห์ที่ 13 และ 16 ร้อยละ 15
ปัญญา โพธิติรัตน์. 2532. เทคโนโลยีการเพาะเห็ด.ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ. 358 หน้า.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2558. การเพาะเห็ดเบ้ืองต้น. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด. 28 หน้า
 
สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย  www.thaimushroomsoc.com
ชี้แจงอธิบายการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาตาม มคอ.3 และมีแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองของนักศึกษาในรายวิชานี้


คณะกำหนดให้มีการประเมินการสอนโดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
เสวนาร่วมกันกับผู้สอนในรายวิชาอื่นๆ ถึงแนวทางการสอนที่เห็นว่าน่าจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจยิ่งขึ้น และติดตามพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนในรายวิชาอื่นๆ ว่าเป็นเช่นไร รวมถึงพิจารณาจากการประเมินการสอนของนักศึกษาในเทอม 2/2564 เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข
ในระหว่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนรายวิชานี้ มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา โดยการสอบถามนักศึกษาและการตรวจผลงานของนักศึกษารวมถึงพิจารณาจากผลการสอบย่อย ผลการเรียนรายวิชา และการประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองของนักศึกษาในรายวิชานี้
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนในรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้ ปรับปรุงเนื้อหาในรายวิชาให้ทันสมัยทุกเทอมที่มีการเรียนการสอนรายวิชา เชิญอาจารย์พิเศษที่มีประสบการณ์ด้านการเพาะเห็ดสอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้นี้กับปัญหาที่พบจริงในท้องถิ่น หรือนำนักศึกษาไปศึกษาดูงานที่ฟาร์มเพาะเห็ด มอบหมายงานให้นักศึกษาได้เพาะเห็ดที่ตนสนใจและปฏิบัติดูแลรักษาตลอดวงจรกระบวนการผลิตเห็ด และให้นักศึกษาฝึกบริการวิชาการแก่ผู้สนใจที่มาศึกษาดูงานการผลิตเห็ด โดยมีอาจารย์เป็นพี่เลี้ยง