ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการออกแบบ

Creative Thinking for Design

ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความหมาย องค์ประกอบ ประเภท แรงบันดาลใจในการออกแบบ และความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการของความคิดสร้างสรรค์ เทคนิคในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ การทำแผนผังความคิด และกระดานความคิดในการกำหนดกรอบคิดสร้างสรรค์ผลงาน การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในงานออกแบบรูปทรง ลวดลาย การนำเสนอความคิดเป็นภาพ และการนำไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ
ยังไม่มี พึ่งสอนเป็นครั้งแรก
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความหมาย องค์ประกอบ ประเภท แรงบันดาลใจในการออกแบบ และความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการของความคิดสร้างสรรค์ เทคนิคในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ การทำแผนผังความคิด และกระดานความคิดในการกำหนดกรอบคิดสร้างสรรค์ผลงาน การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในงานออกแบบรูปทรง ลวดลาย การนำเสนอความคิดเป็นภาพ และการนำไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ
ตามการร้องขอของนักศึกษา
1)                 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
                   2)   มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
                   3)   มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม  สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพในรายวิชาสอน ให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
1)                 รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
                    2)   มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
                   3)   มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
                    4)   มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา        
ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในด้านต่างๆ คือ
          1)   การทดสอบย่อย
         2)   การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
          3)   ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
          4)   ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
          5)   ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
          6)   ประเมินจากแผนการดำเนินงานศิลปนิพนธ์ที่นำเสนอ
          7)   ประเมินจากการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
1)                 สามารถค้นคว้า รวบรวม และประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ
                   2)   สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
                   3)   สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่น เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ และวิชาชีพได้
                    4)   มีความคิดสร้างสรรค์ และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
ใช้กรณีศึกษา การจัดทำโครงงาน หรือการจัดทำศิลปนิพนธ์ การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษา และการนำเสนองาน
                   1)   มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และ
มนุษยสัมพันธ์ที่ดี
                    2)   มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
                    3)   สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม  มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำ และผู้ตาม การเคารพสิทธิ ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
ประเมินจากพฤติกรรม การแสดงออกในการนำเสนองาน ผลงานกลุ่มในชั้นเรียน และประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ 
1)                 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                    2)   สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                    3)   มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล โดยการใช้ตัวเลข เพื่อการจัดการข้อมูล และการนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร 
ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูล และตัวเลข การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประเมินจากการอธิบาย และการนำเสนอ
1) สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ ในการสร้างสรรค์ผลงานตน          
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษา โครงงาน และศิลปนิพนธ์ สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริง โดยประเมินจากการปฏิบัติงาน และผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถค้นคว้า รวบรวม และประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่น เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ และวิชาชีพได้ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และ มนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม 3.6.1 มีทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานตน
1 BAACC405 ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการออกแบบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2 - การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา การแต่งกาย - ประเมินจากพฤติกรรมการเรียน การทำงาน - ประเมินจากการวิพากษ์ แสดงความคิดเห็น 1-16 5
2 2.1, 2.2 - ประเมินจากทดสอบย่อย - การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 9, 18 15
3 3.1, 3.2, 3.4, 4.2, 4.3, 6.1 - ประเมินจากผลงานรายบุคคล (งานในคาบเรียน) 1-16 60
4 5.1, 5.2 - ประเมินจากการนำเสนอ (การพูด การตอบคำถาม ความพร้อมของทีม) - ประเมินจากสื่อที่ใช้ในการนำเสนอ 8, 16 20
ความคิดสร้างสรรค์. ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์.
Graphic Design Thinking Beyond Brainstorming. Ellen Lupton.
การคิดเชิงสร้างสรรค์. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.
เน้นการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของผู้เรียนโดยใช้วิธีการดังนี้
                   1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
                   1.2 การแสดงความคิดเห็น
                   1.3 การส่งข้อเสนอส่วนตัวให้ผู้สอน โดยการเขียนแสดงความคิดเห็นในการสอน ผ่านช่องทางต่างๆ                  1.4 การประเมินตนเองของผู้เรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
           2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
           2.2 ผลการประเมินตามข้อ 1
           2.3 การพัฒนาการทำงานของนักศึกษา
           2.4 อาจารย์ผู้สอนประเมินตัวเอง
ความพึงพอใจการสอน
ความเหมาะสมของการเตรียมการสอน
          ข้อควรปรับปรุงในการสอนครั้งต่อไป
3.1 บันทึกการสอนเพื่อเสนอการปรับปรุงแก้ไข
                             3.2 การประชุมคณาจารย์เพื่อปรับปรุงการสอน โดยใช้ข้อมูล ผลการประเมินของนักศึกษา ผลการเรียนของนักศึกษา การประเมินผลตนเอง บันทึกการสอน
4.1 ทวนสอบความถูกต้องของคะแนนอาจารย์ โดยประกาศคะแนนแต่ละส่วนให้นักศึกษาทวนสอบของตัวเอง เพื่อปรับปรุงแก้ไข
                   4.2 อาจารย์ทวนสอบการให้คะแนนกับพฤติกรรมของนักศึกษา
                   4.3 นักศึกษาประเมินตนเอง
                   4.4 ทวนสอบโดยกรรมการทวนสอบประจาหลักสูตร (สุ่มตรวจ)
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาในภาคการศึกษาต่อไป ในเรื่อง เนื้อหา ลำดับการสอน และวิธีประเมินผลการสอน