การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน

Learning Management and Classroom Management

1.1  รู้และเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู-และการสอน
1.2  รู้และเข้าใจการสร้างแรงจูงใจในการเรียน
1.3  รู้และเข้าใจวิธีการให้เนื้อหาแก่ผู้เรียน
1.4  รู้และเข้าใจวิธีการให้ผู้เรียนนำเนื้อหาไปประยุกต์ใช้      
1.5  รู้และเข้าใจการตรวจสอบความก้าวหน้าการเรียนรู้ของผู้เรียน
1.6  รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณาการการเรียนรู้
1.7  รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการชั้นเรียนและการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน
1.8  รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาศูนย์การเรียนในสถานศึกษา
1.9  สามารถปฏิบัติการสอนหน้าชั้น

 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการสอนแบบต่าง ๆ  ที่จำเป็นและหลากหลาย ตลอดจนการจัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนที่เหมาะสม เพื่อเตรียมตัวสำหรับการไปปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำเอาไปประกอบการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
 ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีและรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหา และการบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม การจัดการชั้นเรียนทั้งในรายวิชาบรรยายและรายวิชาปฏิบัติ การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาศูนย์การเรียนในสถานศึกษา สําหรับครู  ทักษะการสอนและวิธีการสอนแบบต่าง ๆ  การจัดทําแผนการสอน  การฝึกทักษะการสอนรวมทั้งการฝึกสอนหน้าชั้นในสาขาวิชาเอกของนักศึกษา
- อาจารย์ประจำรายวิชา  จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ  3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชา  ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้
1.1.1  มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)
1.1.2  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ  (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2)
1.1.3  มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
1.1.4  เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
นอกจากนั้น ยังมีการส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษามีการพัฒนาจริยธรรมและจรรยาวิชาชีพผ่านทางการเรียนการสอนของรายวิชาในหลักสูตร ซึ่งอาจารย์ผู้สอนสามารถสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจรรยาวิชาชีพ และสามารถจัดให้มีการวัดผลแบบมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรมทุกภาคการศึกษา ด้วยการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำกิจกรรม  และมีการกำหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนจิตพิสัยในชั้นเรียน นักศึกษาที่คะแนนความประพฤติไม่ผ่านเกณฑ์อาจต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพิ่มก่อนจบการศึกษา
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1.3.1  ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2  ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.3  ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.5  ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความ 
         รับผิดชอบของนักศึกษา
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา  (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
2.1.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2)
2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3)
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
2.3.1  การทดสอบย่อย
2.3.2  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3  ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4  ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ
2.3.5  ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2.3.6  ประเมินจากรายวิชาปฎิบัติการสอนในสถานศึกษา
 นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งพาตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้นนักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล  เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา  แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กัน นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1)
3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ  (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.2)
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning)  มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาของแต่ละสาขาวิชาชีพเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้องและเน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง
การวัดและประเมินใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามสภาพจริงจากผลงาน โครงงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
3.3.1 บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง 
3.3.2 การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่าง ๆ 
3.3.3 การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน 
3.3.4 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่น ๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่าง ๆ  ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างที่สอนวิชา หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ นี้
4.1.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี  (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1)
4.1.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ  (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.2)
4.1.3  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 
                  (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.3)
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
4.2.1  สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.2.2  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3  สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4.2.4  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.2.5  มีภาวะผู้นำ
การวัดและประเมินผลทำได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมกลุ่มทั้งในและนอกชั้นเรียนและผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น
4.3.1  พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
4.3.2  พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน  การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาชีพ ด้วยเหตุนี้ ผู้สอนต้องใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้
5.1.1  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม  (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1)
5.1.2  สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.2)
5.1.3  สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข        การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
5.2.1  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
5.2.2  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
5.2.3  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน
5.2.4  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
5.3.1  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร
5.3.2  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
5.3.3  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
5.3.4  จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังข้อต่อไปนี้
6.1.1  มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
6.1.2  สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนใด้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม  (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
 
6.2.1  สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
6.2.3 สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
6.2.4 จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
6.2.5 สนับสนุนการทำโครงงาน
6.2.6 การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
6.3.1 มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
6.3.2 มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
6.3.3 มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
6.3.4 มีการประเมินโครงงานนักศึกษา
6.3.5 มีการประเมินนักศึกษาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา (1) แสดงออกซึ่งจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู ที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน (2) สามารถจัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู (3) แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี (4) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (1) มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาชีพเฉพาะ อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ (2) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ 3. สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง(3) สามารถนำหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์ และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม (1) มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม (2) มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ (1) มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี (2) แสดงออกถึงการมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม (3) สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ (4) สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกต่อสังคมด้านการนำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม (1) มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว (2) สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม (3) สามารถสนทนา เขียน และนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (1) แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ที่มีรูปแบบหลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์ (2) แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนรวมถึงประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างบูรณาการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายอย่างมีนวัตกรรม
1 TEDCC807 การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 2.1, 2.3, 3.1, 3.2 สอบ ข้อเขียน และสอบปฏิบัติการสอน 9 18 คะแนนด้านพุทธิพิสัย 30 คะแนนด้านทักษะพิสัย 40 คะแนนด้านจิตพิสัย 10 คะแนนงานมอบหมาย 20
2 2 1.3, 2.1, 2.3, 3.1, 3.2, 4.1, 4.2, 5.1, 5.3, 6.1, 6.2 การส่งการบ้านตามที่มอบหมาย การส่งงาน ตามที่มอบหมาย การฝึกปฏิบัติหน้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 30
3 1.2, 1.3, 4.1, 4.2, 5.1, 5.3, 6.1, 6.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
        

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม.การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพ

ครู.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,2559

กองฝึกอบรม, การเรียนรู้ด้วยตนเอง (SELF-DIRECTED LEARNING)  กลุ่มวิจัยและพัฒนาการ

เรียนรู้  กองฝึกอบรม กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย,2559

สบสันติ์  อุตกฤษฎ์, เกชา ลาวัลยะวัฒน์, และวัลลภ จันทร์ตระกูล, เงื่อนไขการเรียนรู้สำหรับครู

ช่างอุตสาหกรรม. ศูนย์ผลิตตำราสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร, 2526.

ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ และธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว. (2561). การสอนแบบทันสมัยและเทคนิควิธี

สอนแนวใหม่. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564, จากhttp://regis.skru.ac.th/RegisWeb/datafiledownload/25590714-15.pdf

ชวลิต เข่งทอง. สื่อการเรียนการสอน : เอกสารประกอบการบรรยาย, กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนา

เทคนิคศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ม.ป.ป. (อัดสำเนา).

ณิรดา เวชญาลักษณ์, หลักการจัดการเรียนรู้ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2562 ณิรดา เวชญาลักษณ์, หลักการบริหารจัดการชั้นเรียน สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2561.

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี

ประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553

เทียมจันทร์  พาณิชย์ผลินไชย, เอกสารประกอบการบรรยายโครงการอบรมสัมมนา การพัฒนา

ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 20 เรื่องการพัฒนาการเรียนการสอน และการพัฒนาทางวิชาชีพ.  ณ หอประชุมบ้านกร่าง 50 ปี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก, 2560

นิพนธ์  ไทยพาณิช, เทคนิคการนิเทศการศึกษา ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาตร์,

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535

ธีระพล  เมธีกุล และ พิสิฐ  เมธาภัทร. ยุทธวิธีการเรียนการสอนวิชาเทคนิค. ภาควิชาครุศาสตร์

เครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2553

ธีระพล  เมธีกุล. ปฏิบัติการสอน 1.  ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ

จอมเกล้าพระนครเหนือ, 2531
 

ภานุพงศ์ ดีแก้ว และ ดร.ดวงกมล โพธิ์นาค รูปแบบการเรียนการสอนแบบเพื่อนคู่คิดร่วมกับ

การใช้เทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน,2556

มงคล อาทิภาณุ และ วันชัย  ชัยชมชื่น, อุปกรณ์ช่วยสอน.  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

วิทยาเขตพระนครเหนือ, 2519.

วิจารณ์  พานิช, การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร, บริษัทเอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด, 2556 วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัม

มาจล, 2556

วิจารณ์  พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-

สฤษดิ์วงศ์,2555

วิจารณ์ พานิช, ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง, พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมา

จล, 2556

วิจารณ์ พานิช, วิจัยชั้นเรียนเปลี่ยนครู ฉันจะเป็นครูที่ดีได้อย่างไร, กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัม

มาจล, 2562.

วิจารณ์ พานิช, สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ 21, กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, 2556. วิจารณ์ พานิช, สอนเด็กให้เป็นคนดี, กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล, 2557. วิจารณ์ พานิช, เรียนรู้สู่การเป็นแปลง Transformative Learning, กรุงเทพฯ : มูลนิธิ

สยามกัมมาจล, 2558.

วันชัย  ชัยชมชื่น, ทฤษฎีช่างเบื้องต้น. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ,2523. วรพจน์  ศรีวงษ์คล. และคณะ  คู่มือแนะนำการศึกษาวิชา ED 6892 TEACHING PRACTICE      

ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ สถาบัน     
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ม.ป.พ.

วรพจน์ ศรีวงษ์คล. คู่มือการสอน MICROTEACHING  มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนคร

เหนือ, 2558

สุชา จันทน์เอม. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2539 สุชาติ  ศิริสุขไพบูลย์, การสอนทักษะปฏิบัติ, ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์

อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าพระนครเหนือ, 2526.

สุชาติ  ศิริไพบูลย์. เทคนิคและวิธีการสอนวิชาชีพ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนคร

เหนือ, 2527
 
 

สบสันติ์  อุตกฤษฏ์  เกชา ลาวัลยะวัฒน์ ฤทัยรัตน์  รตในภาส และ ประนอม อุตกฤษฏ์,  การฝึก

อาชีพ ช่างเทคโนโลยีอุตสาหกรรม การสอน หลักสูตร การวางแผน, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2533

สมจิต  สวธนไพบูลย์, การนิเทศการฝึกสอน. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2533.

สุราษฎร์  พรมจันทร์,  การวัดผลการศึกษา. ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์

อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าพระนครเหนือ, 2547.

สุนทร เกตุภาณิต. การเตรียมความพร้อมในการเป็นครู สำนักพิมพ์กรุงเทพ. มปพ สุราษฎร์  พรมจันทร์, การพัฒนาหลักสูตรรายวิชา . ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์

อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าพระนครเหนือ, 2552.

สุราษฎร์  พรมจันทร์, ปฏิบัติการฝึกสอน 1 . ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์

อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าพระนครเหนือ, 2531.

สุราษฎร์  พรมจันทร์, ยุทธวิธีการเรียนการสอนวิชาเทคนิค,  ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล, คณะ

ครุศาสตร์อุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2552.

สุราษฎร์ พรมจันทร์, ยุทธวิธีการเรียนการสอน ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์

อุตสาหกรรม,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2553.

สุราษฎร์ พรมจันทร์, เอกสารประกอบการสอนวิชา“ปฏิบัติการฝึกสอน” ภาควิชาครุศาสตร์

เครื่องกล,คณะอุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2531.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

21ST Century Skills

อาภรณ์ ใจเที่ยง, หลักการสอน(ฉบับปรับปรุง) สำนักพิมพ์ กรุงเทพฯ โอเดียนสโตร์, 2553. อธิพร ศรียมก. สื่อการสอน 1 สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. พิมพ์ครั้งที่13 พ.ศ.

2543.

อำนวย  สุมาลี. คู่มือการประเมินการสอน MIAP. ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล หาวิทยาลัย

เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2519

อำนวย สุมาลี, วิธีสอนทั่วไปและการฝึกสอนจุลภาค สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขต

พระนครเหนือ, 2519.

อนุกรรมการพัฒนาครูใหม่ เครือข่ายสถาบันผู้ผลิตครูภาคเหนือตอนล่าง เอกสารประกอบการ

บรรยาย, :, ม.ป.พ. (อัดสำเนา).

อุไร อภิชาตบรรลือ,เทคนิคการสอนวิชาชีพ ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ

จอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพ, 2562
 
ภาษาอังกฤษ
1. Martin, J. (2010). The Meaning of the 21st Century. Bangkok. L. T. P. The Partnership for 21st Century Skill. (2009). Framework for 21st Century Learning. Retrieved June 5, 2015, from http://21st Century skill. Org/index.php
2. Hilgard E.R. and G.H. Bower.  Theories of Learning.  4th ed.  New York : Appleton Century Crifts, 1975.
3. Briggs Thomas H. and Justman Joseph. Improving Instruction Through Supervision. New York Macmillan.Co.,1952
4. Burton, William. And Bruckner,Leo J. Supervision: A Social Process (3rd ed.). New York. Appleton-Century, 1995
5. Keeves, John P.  Educational research, methodology and measurement : An intentional Handbook. 5th ed. Cincinnati, Ohio : South-Western college Publishing, 2005.
6. Sergiovanni, Thomas J.,& Staratt, Robert J. Supervision : Human Perspective(4th ed.). New York.  McGraw-Hill, 1988
7. W.E. Wagener  Model for Practical-educational Counterpart Training.  Faculty of technical education King Mongkut’s Institute of technology in Bangkok, 1975
8. Gilpatrick, R Classroom management strategies and behavioral interventions to support academic achievement. Unpublished doctorate‘s thesis, Walden University, Minnesota. 2010
9. Overmyer, G.R. The Flipped Classroom Model for College Algebra: Effects on Student Achievement. (A thesis of the Degree of Doctor of Philosophy, Colorado State University). 2014
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
4.2  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
5.2   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4