การบัญชีชั้นกลาง 2

Intermediate Accounting 2

1. เข้าใจแนวคิด หลักการ ทฤษฎี วิธีการบัญชีเกี่ยวกับหนี้สิน การแสดงรายงานทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สิน
2. เข้าใจแนวคิด หลักการ ทฤษฎี วิธีการบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้
2. เข้าใจแนวคิด หลักการ ทฤษฎี วิธีทางการบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของ การแสดงรายงานทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของประเภทกิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด
4. มีทักษะการบันทึกบัญชีและการแสดงรายงานทางการเงินเกี่ยวกับหนี้สิน ส่วนของเจ้าของ
5. สามารถนำความรู้ ทักษะในกระบวนการบันทึกรายการบัญชี ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง และการใช้ชีวิต
6. มีความรับผิดชอบและเอาใจใส่ในงานที่ได้รับมอบหมาย เป็นอย่างดี
7. มีค่านิยมที่ดีในการประกอบอาชีพนักบัญชีในอนาคต
เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัยเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เป็นปัจจุบันเฉพาะฉบับที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด และเมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษาจะมีการทำรายงานผลการดำเนินงานรายวิชา (มคอ5) และนำข้อมูลในประเด็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงไปใช้ในภาคการศึกษาต่อไป ทั้งนี้เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ การบัญชีเกี่ยวกับหนี้สิน การจำแนกประเภท การรับรู้รายการ การวัดมูลค่า การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สิน การบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ การบัญชีเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วนในงบการเงิน การบัญชีเกี่ยวกับบริษัท กำไรต่อหุ้น การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลส่วนของผู้ถือหุ้นในงบการเงิน
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ ประมาณ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1 มีความรู้ และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี 1.2 สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม   1.3 แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม
- ผู้สอนปฎิบัติตนเป็นตัวอย่างในเรื่องการแต่งกาย การตรงเวลา
- การแจ้งนโยบายในการเรียนหาข้อตกลงร่วมกันในเรื่อง
การแต่งกาย การตรงเวลา ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ สอนแทรกคุณธธรรม กฎกติกาการอยู่ร่วมในกันสังคม การทำงานกลุ่ม
- การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในชั่วโมงเรียน อันได้แก่คุณธรรมจติยธรรมทางวิชาชีพ คุณธรรมจริยธรรมประพฤติอันมีผลต่อสังคม
- ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และปลูกจิตสำนักขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย และความมีส่วนร่วมในการพัฒนาคณะและมหาวิทยาลัย
ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการแต่งกายที่ถูกระเบียบ การมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ การแสดงออกในชั้นเรียน ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย การส่งงานตรงเวลาที่กำหมด การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม

ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ และการคัดลอกงานเพื่อน
2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน   2.3 มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ 2.4 มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี
- การบรรยาย เนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางบัญชี เพื่อให้เกิดองค์ความรู้
- การสาธิตและยกตัวอย่างประกอบ
- การตั้งคำถามที่ให้เกิดความคิด และแก้ปัญหา
- มอบหมายแบบฝึกหัด
- มอบหมายงานสืบค้นข้อมูลกฎหมายเกี่ยวกับบริษัทมหาชนจำกัด
- ประเมินผลจากการทดสอบย่อย งานที่มอบหมายให้ค้นคว้า  การสอบกลางภาคเรียน และการสอบปลายภาคเรียน
- ประเมินคุณภาพผลงานที่มอบหมาย
- ประเมินผลจากใบงานและแบบฝึกหัดทั้งงานเดี่ยว และงานกลุ่ม
3.1 มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม 3.2 มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม   3.3 มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก   3.4 มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
- ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบโดยใช้โจทย์ตัวอย่าง ใบงานและแบบฝึกหัด จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับหัวข้อ/เนื้อหาของรายวิชา
- สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษา ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านวิชาชีพบัญชีโดยรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
- ประเมินผลการแก้ไขโจทย์ใบงาน และแบบฝึกหัด การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
- ประเมินผลจากการสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
- ประเมินผลจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้ารายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียนรวมทั้งผลการแสดงความคิดเห็น
  4.1 มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ต่าง ๆ วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น 4.2 มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ   4.3 มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
- มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อย (ใบงาน แบบฝึกหัด รายงาน) โดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
- มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
- ส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เวลาว่างในการพัฒนาตนเอง และการรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
- ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมตามที่ มหาวิทยาลัย คณะ สาขากำหนด
- ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมกลุ่ม พฤติกรรมจากการทำงานทีม
- ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
- ประเมินคุณภาพจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
  5.1 มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการใช้ความรู้ ความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผนงาน การควบคุม การประเมินผล และการรายงานผล ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขั้นจากการตัดสินใจ   5.2 มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ 5.3 มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์
- มอบหมายงาน(ใบงานและแบบฝึกหัด) ที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
- มอบหมายงานที่ต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการทำใบงานและแบบฝึกหัด เช่น การใช้โปรแกรมExcel ในการจัดทำงบกระแสเงินสด เป็นต้น
- มอบหมายงาน(รายงาน) ที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน
- ประเมินผลจากใบงาน แบบฝึกหัด การสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
- ประเมินผลจากการใช้โปรแกรม Excel มาช่วยในการทำใบงานและแบบฝึกหัด
- ประเมินคุณภาพรายงานที่ให้สืบค้นข้อมูล และทักษะการใช้ภาษาเขียน และภาษาพูดในการนำเสนอรายงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีความรู้ และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี 1.2 สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม 1.3 แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม 2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 2.3 มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ 2.4 มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี 3.1 มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม 3.2 มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม 3.3 มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก 3.4 มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา 4.1 มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ต่าง ๆ วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น 4.2 มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ 4.3มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี 5.1 มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการใช้ความรู้ ความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผนงาน การควบคุม การประเมินผล และการรายงานผล ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขั้นจากการตัดสินใจ 5.2 มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ 5.3 มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์
1 BACAC121 การบัญชีชั้นกลาง 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2/2.1/2.2/2.4/3.1/ 3.2/4.2/5.3 สอบย่อยครั้งที่ 1 6 25
2 1.2/2.1/2.2/2.4/3.1/ 3.2/4.2/5.3 สอบกลางภาคเรียน 9 20
3 1.2/2.1/2.2/2.4/3.1/ 3.2/4.2/5.3 สอบย่อยครั้งที่ 2 11 5
4 1.2/2.1/2.2/2.4/3.1/ 3.2/4.2/5.3 สอบย่อยครั้งที่ 3 15 15
5 1.2/2.1/2.2/2.4/3.1/ 3.2/4.2/5.3 สอบปลายภาคเรียน 18 25
6 1.1/1.2/4.2/5.3 ใบงานและแบบฝึกหัด 1-17 5
7 1.1/1.2/5.3 พฤติกรรมในชั้นเรียน การแต่งกายถูกระเบียบ การเข้าเรียนตรงเวลา การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ไม่กระทำทุจริตในการสอบ และไม่คัดลอกงานเพื่อน 1-17 5
นุชจรีย์ พิเชฐกุล. การบัญชีขั้นกลาง 2. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน ทีพีเอ็น เพรส. 2561.
จรรจา ลิมปภากุล. การบัญชีขั้นกลาง 2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน ทีพีเอ็น เพรส. 2560. เยาวรักษ์ สุขวิบูลย์. การบัญชีขั้นกลาง 2. พิมพ์ครั้งที่ 1/2561. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน ทีพีเอ็น เพรส. 2561. พูลสิน กลิ่นประทุม. การบัญชีขั้นกลาง 2. พิมพ์ครั้งที่ 9/2559. กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด. 2559. กนกลักษณ์ วงษ์เกรียงไกร. การบัญชีขั้นกลาง 2. พิมพ์ครั้งที่ 5/2558. กรุงเทพฯ: บริษัท อินโพไมนิ่ง จำกัด. 2558.
ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี ได้แก่ประกาศเกี่ยวกับ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้จาก เว๊ปไซต์ ต่อไปนี้
www.fap.or.th
www.dbd.go.th
www.set.or.th
1) ให้นักศึกษาประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ตามแบบประเมินของมหาวิทยาลัย
1) พิจารณาจากผลคะแนนการสอบ (สอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค)
2) พิจารณาจากงานที่มอบหมายให้ (ใบงาน แบบฝึกหัด รายงาน)
3) พิจารณาจากพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
1) นำผลการประเมินประสิทธิผลรายวิชาโดยนักศึกษาและผลประเมินการสอน มาพิจารณาการปรับปรุงการสอน
2) นำสรุปผลรายงานผลการดำเนินงานรายวิชา (มคอ.5) และแบบประเมินผลการสอนของนักศึกษา โดยผู้สอนจะนำข้อมูลทั้ง 2 ส่วนมาทบทวนและปรับปรุงเพื่อนำไปออกแบบแนวทางการสอนในภาคเรียนต่อไปเพื่อให้การสอนในรายวิชาบรรลุตามผลลัพธ์การเรียนรู้และวัตถุประสงค์ของวิชา
3) ผู้สอนควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เข้ารับการอบรมสัมมา ในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาการสอน
            การทวนเกณฑ์ที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ โดยจะประเมินผลการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติ พิจารณาความเหมาะสมของโครงสร้างคะแนน ความตรงประเด็น ความสอดคล้องเนื้อหาที่ระบุไว้ในรายวิชากับประเด็นของการออกการวัดผลของข้อสอบ งานที่มอบหมาย โดยพิจารณากับผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา พิจารณาความเหมาะสมของเกณฑ์การวัดผล แนวโน้มของระดับคะแนน
นำเอาผลการประเมินข้อ1 ข้อ 2 ข้อ3 และข้อ4 มาวิเคราะห์และหาแนวพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ในรายวิชา