วิศวกรรมการบำรุงรักษา

Maintenance Engineering

เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการบำรุงรักษาแบบทวีผล สาเหตุของการเสื่อมสภาพ เครื่องจักรและอุปกรณ์ การตรวจสอบเครื่องจักรกล การประยุกต์ใช้หลักสถิติในการวิเคราะห์สาเหตุความเสียหายของเครื่องจักร วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร เป็นต้น การหล่อลื่น การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หลักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบและเฝ้าระวัง การวางแผนและการควบคุมในงานบำรุงรักษา การบริหารจัดการเพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร การออกแบบและจัดทำรายงานการบำรุงรักษา ดัชนีการวัดสมรรถนะในงานบำรุงรักษา ความปลอดภัยในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ การจัดองค์กรและการบริหารทรัพยากรในงานด้านการซ่อมบำรุง การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการระบบบำรุงรักษา ตลอดจนการพัฒนาระบบการบำรุงรักษา เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ ความสามารถที่ได้รับไปใช้ในการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกร
เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้พื้นฐานในด้านวิศวกรรมการบำรุงรักษา ซึ่งเป็นความรู้ที่จำเป็นของวิศวกรการผลิต ทางอาจารย์ผู้สอนจึงได้ดำเนินการจัดทำแผนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทุกหัวข้อของรายวิชาและเป็นแนวทางให้นักศึกษาได้มีการเตรียมความพร้อมในการศึกษาล่วงหน้าและทางผู้สอนเองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ทันต่อเทคโนโลยีการผลิตซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการบำรุงรักษาแบบทวีผล สาเหตุของการเสื่อมสภาพ เครื่องจักรและอุปกรณ์ การตรวจสอบเครื่องจักรกล การประยุกต์ใช้หลักสถิติในการวิเคราะห์สาเหตุความเสียหายของเครื่องจักร วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร เป็นต้น การหล่อลื่น การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หลักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบและเฝ้าระวัง การวางแผนและการควบคุมในงานบำรุงรักษา การบริหารจัดการเพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร การออกแบบและจัดทำรายงานการบำรุงรักษา ดัชนีการวัดสมรรถนะในงานบำรุงรักษา ความปลอดภัยในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ การจัดองค์กรและการบริหารทรัพยากรในงานด้านการซ่อมบำรุง การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการระบบบำรุงรักษา ตลอดจนการพัฒนาระบบการบำรุงรักษา
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1. นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน และส่งงานที่มอบหมายตามกำหนดเวลา 2. ชี้แจงวิธีการปฏิบัติในการเรียนการสอน และกฎระเบียบข้อบังคับ 3. บรรยายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมการบำรุงรักษา 4. มอบหมายงานประจำวิชา ค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และรายงาน
1. พิจารณาพฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งผลงานที่ได้รับมอบหมายตรงตามกำหนดเวลา 2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม 3. การร่วมกิจกรรมระหว่างเรียน การร่วมอภิปรายที่มีเหตุผลถูกต้องเหมาะสมและสร้างสรรค์
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
1. บรรยาย อภิปราย ยกตัวอย่าง  2. มีกิจกรรม ประเด็นปัญหาเพื่อการถาม–ตอบในระหว่างการเรียนการสอน 3. การนำเสนอผลงานและรายงาน การวิเคราะห์ผลงานที่นักศึกษาทำ
1. ทดสอบกลางภาคและสอบปลายภาคด้วยข้อสอบที่เน้นวัดหลักการและทฤษฎี 2. ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย 3. นำเสนอสรุปผลจากรายงานที่มอบหมาย และการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
1. การบรรยาย/ฝึกปฏิบัติ/อภิปราย/ซักถาม 2. การทำงานกลุ่ม การนำส่งผลงาน 3. การสรุปบทเรียน
1. ตรวจผลการสอบกลางภาคและสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคนิคหรือระบบการบำรุงรักษาในงานอุตสาหกรรม 2. วัดผลจากการทดสอบและการส่งผลงาน 3. สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่มอบหมายและการแก้ไขปัญหา รวมถึงการทำงานกลุ่ม
รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
1. มอบหมายงานกลุ่ม และรายบุคคล 2. ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย 3. การนำเสนอรายงาน
1. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 2. ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรร
1. มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E-Learning และทำรายงานโดยเน้นการขียน การใช้สัญลักษณ์ จากแหล่งที่มาของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 2. นำเสนอด้วยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอ โดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์ 2. ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอในชั้นเรียน
 
-ไม่มี-
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล