ภาษาเบื้องต้น

Introduction to Language

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิดพื้นฐานและหลักการเบื้องต้นทางภาษาศาสตร์ แขนงของภาษาศาสตร์ และระบบของภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
 
เพื่อจัดทำเนื้อหา รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอน และวิธีการวัดและประเมินผลรายวิชาให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนทั้งในชั้นเรียนและในการสอนออนไลน์
 
แนวคิดพื้นฐานและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ แขนงของภาษาศาสตร์ และระบบของภาษา โดยเน้นภาษาอังกฤษเป็นหลัก
- จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- สร้างชั้นเรียนแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่ไม่ปกติ และเป็นช่องทางติดต่อกับนักศึกษา ให้คำแนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงงานมอบหมายต่าง ๆ
คุณธรรมจริยธรรมที่ต้องพัฒนา
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษา
1.1.1. มีทัศนคติที่ดี เคารพศักดิ์ศรี และคุณค่าความเป็นมนุษย์ (ความรับผิดชอบรอง 1.1)
1.1.2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรที่ดี (ความรับผิดชอบรอง 1.2)
1.1.3. มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (ความรับผิดชอบรอง 1.3)
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
1.2.1   จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.2.2    สร้างวัฒนธรรมองค์กรโดยมีผู้สอนเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.2.3    ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและชุมชน เพื่อเรียนรู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกของกลุ่ม เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.3.1   การสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียนและการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.2    บันทึกและติดตามการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
ความรู้ที่ต้องได้รับ
         พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในวิทยาการ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถ
         2.1.1 เปรียบเทียบการใช้ภาษาอังกฤษในวัฒนธรรมที่หลากหลาย (ความรับผิดชอบรอง 2.3)
         2.1.2 สรุปใจความและประเด็นสำคัญจากสิ่งที่ฟังและอ่านได้ถูกต้อง (ความรับผิดชอบหลัก 2.5)
         2.1.3 ประเมินความเหมาะสมของการใช้วัจนภาษา และอวัจนภาษาเพื่อสื่อสารในบริบทวัฒนธรรมข้ามชาติได้ (ความรับผิดชอบรอง 2.7)
วิธีการสอนยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
          2.2.1 จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายตามหลัก Active Learning โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชา
          2.2.2 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียน
          2.2.3 ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองโดยใช้เทคโนโลยี เพื่อการค้นคว้าหาความรู้ และการเรียนรู้
2.3.1 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
2.3.2 การสังเกตจากการอภิปรายกลุ่มและการแสดงความคิดเห็น
 
พัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะในการปฏิบัติ จากการประยุกต์ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหารายวิชา (ความรับผิดชอบหลัก 3.1)
3.2.1 ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองตามแนว Constructivism โดยเน้นการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task-based learning) ตามหลักการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21
3.2.2 ส่งเสริมให้นักศึกษามีการระดมสมองและอภิปรายโต้แย้งในหัวข้อที่กำหนด
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและผลการปฏิบัติของนักศึกษา
3.3.2 การอภิปรายกลุ่มและการแสดงความคิดเห็น
 
ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคมข้ามวัฒนธรรม (4.3)
สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์ และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่าง ๆ ในเนื้อหารายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Collaborative Learning)
การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสม
มอบหมายงานให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษารวบรวมวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูล ตลอดจนการนำเสนองานและการทำรายงาน
1. การทดสอบกลางภาคและปลายภาค 2. พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
มีการแสดงออกถึงทักษะในการนำความรู้มาบูรณาการกับการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและเที่ยงตรง มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้มาแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กร ชุมชนและสังคม สามารถปรับตัวให้เข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน และสังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม
1. จัดกิจกรรมที่สอดแทรกการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในชั้นเรียน 2. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้กับนักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริง
1. การทดสอบย่อย กลางภาค และปลายภาค 2. ผลชิ้นงานนักศึกษาจากงานที่ได้รับมอบหมาย 3. พฤติกรรมและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาเพื่อสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BOAEC151 ภาษาเบื้องต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 การเข้าชั้นเรียน และการส่งงานมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 1.1,1.3 การสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมทั้งในและนอกชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา
3 2.5 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 2-7, 11-15, 9-17 10% 25% 25%
4 2.3, 2.7 การอภิปรายกลุ่มและการแสดงความคิดเห็น 2-7, 10-15
5 3.1 ผลงานจากงานมอบหมาย - งานมอบหมายย่อย (5 ชิ้น) - งานมอบหมายหลัก (3 ชิ้น) 3-7, 10-15 15% 15%
ไม่มี
เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาเบื้องต้น
จรัลวิไล จรูญโรจน์ และคณะ. 2554. คู่มือการศึกษาชุดวิชาภาษาศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิโรจน์ อรุณมานะกุล. 2563. ศาสตร์แห่งภาษา: ความเป็นมาและพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Akajian, A. et al. 2010. Linguistics: An Introduction to Language and Communication. London: The MIT Press. Denham, K. and Lobeck, L. 2013.  Linguistics for Everyone: An Introduction. 2nd edition. MA: Wadsworth Cengage Learning. Finch, G. 2000. Linguistic Terms and Concepts. New York: Palgrave. Fromkin, V. (ed.) 2000. Linguistics: An Introduction to Linguistic Theory. MA: Blackwell Publishers Inc. Fromkin, V., Rodman, R. and Hyams, N. 2017. An Introduction to Language. 11th edition. MA: Cengage Learning Inc. Hoque, M. 2020. “Branches of Linguistics”, Language and Linguistics. May 2020. Meyer, C.F. 2009. Introducing English Linguistics. Cambridge: Cambridge University Press. Mullany, L. and Stockwell, P. 2010. Introducing English Language: A Resource Book for Students. New York: Routledge. Salzmann, Z., Stanlaw, J.M. and Adachi, N. 2012. Language, Culture, and Society: An Introduction to Linguistic Anthropology. 5th edition. Colorado: Westview Press. เว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับภาษาและภาษาศาสตร์ และข้อมูลที่นักศึกษาสนใจ
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
          1.1 แบบประเมินตนเองของนักศึกษาเพื่อทวนสอบมาตรฐานการเรียนรู้ของรายวิชา
          1.2 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
          2.1 ข้อเสนอแนะจากกรรมการผู้ตรวจประเมินรายวิชา
         2.2 ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการโดยปรับแนวทางการวัดผลประเมินผลรายวิชามาเป็นการวัด-ประเมินผลการพัฒนาความสามารถของนักศึกษาตามแนวทาง Performance-based assessment
4.1 ก่อนเริ่มการสอน มีการตรวจสอบมคอ.3 โดยหัวหน้าหลักสูตรและหัวหน้าสาขา ว่ามีมาตรฐานผลการเรียนรู้สอดคล้องตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 2 ของหลักสูตร
4.2 ในระหว่างการสอน มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังจากกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ในรายวิชา ข้อสอบที่จะใช้สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั้งกลางภาคและปลายภาค และเกณฑ์การประเมินผลงาน
4.3 หลังการสอน มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบมคอ. 3 มคอ. 5 ข้อสอบ เกณฑ์การให้คะแนน ผลการเรียน และผลจากงานมอบหมาย
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชามาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นโดยมีการปรับปรุงรายวิชาทุกปีหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 1-4