ฝึกงานทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

Job Internship in Food Product Development

ฝึกงานปฏิบัติวิชาชีพในหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมเกษตร โดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงาน มีการจัดทำรายงานการฝึกงาน การนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน
เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกงานปฏิบัติวิชาชีพในหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมเกษตร โดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงาน มีการจัดทำรายงานการฝึกงาน การนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน
ฝึกปฏิบัติงานการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หรือหน่วยงานเอกชนและราชการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ภายในหรือต่างประเทศโดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงานมีการจัดทำรายงานการฝึกงาน การนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน
On-the-job training program in food industries, governmental or non-governmental organization in the country or overseas by Integrate knowledge into practice, training report writing, internship presentation and recommendation for work improvement.
ให้นักศึกษามีจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัย คุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และระบบการผลิตที่มีต่อตนเอง ชุมชน และสังคมส่วนรวม มีการปฏิบัติตามข้อกำหนด กฎหมายรวมทั้งกฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับระบบคุณภาพและความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม
ใช้การสอนแบบ Active Learning เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นในหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมอาหารที่ได้พบรวมทั้งการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อย่างมีจรรยาบรรณและถูกต้องตามความเหมาะสมบนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง
ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมอาหารที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลา และการเคารพการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพผู้อาวุโส โดยประเมินทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม (การทำงานร่วมกับผู้อื่น)
ให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระบบคุณภาพและมาตรฐาน มีความรู้และความเข้าใจวิธีการตรวจสอบคุณภาพด้านกายภาพ เคมี จุลินทรีย์ และประสาทสัมผัส
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) การสอนแบบคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนบรรยายแบบ Active Learning เน้นให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหรือกลุ่ม โดยหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมอาหารเป็นที่ปรึกษาเบื้องต้น โดยศึกษาจากประสบการณ์จริง ทั้งนี้กลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ดังกล่าวขึ้นอยู่ด้วยความเหมาะสมกับสถานการณ์และความจำเป็นที่สอดคล้องกันกับองค์ความรู้ในแต่ละหัวข้อที่ทางหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมอาหารกำหนดให้
ประเมินพฤติกรรมจากหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมอาหารและการสอบวัดความรู้ โดย
ทำรายงานรายบุคคลและหรือรายงานกลุ่มเพื่อประเมินความสนใจการมีส่วนร่วมในหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมอาหาร
การทำรายงานกรณีศึกษาเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารและนำเสนอ
ให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ ประเมิน และติดตามการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ สามารถเลือกวิธีการประเมินคุณภาพทางกายภาพ เคมี จุลินทรีย์ และประสาทสัมผัสที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท เพื่อใช้ในการออกแบบระบบคุณภาพ และประยุกต์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ฝึกตอบปัญหาในหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมอาหาร และการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ศึกษาจากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมอาหาร กำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
ประเมินจากการตอบปัญหาในหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมอาหาร การฝึกปฏิบัติการตามลำดับขั้นตอน และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
สามารถติดต่อประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดระบบคุณภาพที่ดีในองค์กร สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดและมีภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมที่ดีในการนำระบบคุณภาพไปใช้ในองค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กรและสังคม สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้พัฒนาตนเองในด้านระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
สอนโดยมีกิจกรรมเสริมจากหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมอาหาร โดยมีกิจกรรมทำงานเป็นกลุ่มมอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้ และการมีการนำเสนอรายงาน
การประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมอาหาร และประเมินผลงานจากรายงานของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
ให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และประเมินผลการวิเคราะห์คุณภาพได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบ สามารถนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาประมวลผลในระบบคุณภาพได้ สามารถเตรียมตัวและนำเสนอผลงานทางด้านระบบคุณภาพได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ สามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์และส่งเสริมระบบคุณภาพ ทั้งจากแหล่งข้อมูลในระดับชาติและนานาชาติ
การสอนโดยหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมอาหาร จากการปฏิบัติงานจริง การเลือกวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย อย่างเป็นระบบ
ประเมินจากเอกสารรายงานของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีระเบียบวินัย อดทน ตรงต่อเวลาซื่อสัตย์สุจริต 1.2 นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกงานอย่างถูกต้อง โดยคำนึงถึงคุณธรรม และจริยธรรม 1.3 มีจรรยาบรรณวิชาชีพ คำนึงถึงความปลอดภัยส่วนบุคคล และส่วนรวม 1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 2.2 มีความรู้/ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีการผลิต การควบคุมคุณภาพ หรือระบบประกันคุณภาพ หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามที่ได้รับการฝึกประสบการณ์ 3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา 4.1 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในงานกลุ่ม 4.2 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม 4.3 สามารถวางตัวในตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างเหมาะสม 5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
1 BSCFT207 ฝึกงานทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ตามลัพธ์การเรียนรู้ทั้ง 6 ด้านของนักศึกษา การประเมินผลในรายวิชาเป็นระดับคะแนน พอใจ (S) และไม่พอใจ (U) โดยมีเกณฑ์ในการประเมินดังนี้ 1) นักศึกษาประเมินตนเองในผลการเรียนรู้ครบถ้วนทุกด้าน 2) นักศึกษาต้องทำการฝึกงานจนครบจำนวนชั่วโมงที่กำหนด 3) นักศึกษาจัดทำรายงานและนำเสนอต่อสถานประกอบการหรือสถานที่ฝึกงานตามเวลาที่กำหนด 4) นักศึกษาจัดทำรายงานและนำเสนอผลการฝึกงาน (แบบปากเปล่า) พร้อมข้อเสนอแนะในการฝึกงานต่ออาจารย์ประจำวิชา และหลักสูตรสาขาวิชา ภายหลังการฝึกงานภายในในระยะเวลาไม่เกินสองสัปดาห์นับจากฝึกงานเสร็จเรียบร้อย (ก่อนปิดภาคการศึกษาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนในรายวิชานั้นๆ) หน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมเกษตรเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา โดยประเมินผลในรายวิชาเป็นระดับคะแนน พอใจ (S) และไม่พอใจ (U) ร่วมกับ อาจารย์ประจำวิชา และอาจารย์นิเทศ สัปดาห์ที่ 8-9 การประเมินเบื้องต้นเพื่อพัฒนาผลการฝึกงานตามข้อเสนอแนะของหน่วยงาน สัปดาห์ 17-18 การประเมินจากการนพเสนองาน กับหน่วยงานที่ทำการฝึกงาน และการนำเสนองานในรูปแบบสัมมนา ณ สาขาอุตสาหกรรมเกษตร พท. ลำปาง การประเมินผลในรายวิชาเป็นระดับคะแนน พอใจ (S) และไม่พอใจ (U) จากเกณฑ์การประเมินของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมเกษตรเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมเกษตรและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ดของมหาวิทยาลัย
การประเมินผลสัมฤทธิ์ตามลัพธ์การเรียนรู้ทั้ง 6 ด้านของนักศึกษา
การประเมินผลในรายวิชาเป็นระดับคะแนน พอใจ (S) และไม่พอใจ (U) โดยมีเกณฑ์ในการประเมินดังนี้
1) นักศึกษาประเมินตนเองในผลการเรียนรู้ครบถ้วนทุกด้าน
2) นักศึกษาต้องทำการฝึกงานจนครบจำนวนชั่วโมงที่กำหนด
3) นักศึกษาจัดทำรายงานและนำเสนอต่อสถานประกอบการหรือสถานที่ฝึกงานตามเวลาที่กำหนด
4) นักศึกษาจัดทำรายงานและนำเสนอผลการฝึกงาน (แบบปากเปล่า) พร้อมข้อเสนอแนะในการฝึกงานต่ออาจารย์ประจำวิชา และหลักสูตรสาขาวิชา ภายหลังการฝึกงานภายในในระยะเวลาไม่เกินสองสัปดาห์นับจากฝึกงานเสร็จเรียบร้อย (ก่อนปิดภาคการศึกษาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนในรายวิชานั้นๆ)
กระบวนการประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามจากผู้เกี่ยวข้องต่อไปนี้
1.1. นักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมเกษตรและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ดของมหาวิทยาลัย
1.2 พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ
รวบรวมผลการประเมินการสอนนักศึกษา คะแนนฝึกงาน พฤติกรรมของนักศึกษา รวมทั้งข้อคิดเห็นเพิ่มเติม การประเมินผลในรายวิชาเป็นระดับคะแนน พอใจ (S) และไม่พอใจ (U)
1.3 อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม
รวบรวมผลการประเมินการสอนนักศึกษา คะแนนฝึกงาน พฤติกรรมของนักศึกษา รวมทั้งข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมเกษตร การประเมินผลในรายวิชาเป็นระดับคะแนน พอใจ (S) และไม่พอใจ (U)
อาจารย์ผู้สอนรวบรวมผลการประเมินการสอนนักศึกษา คะแนนฝึกงาน พฤติกรรมของนักศึกษา รวมทั้งข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อประกอบการวิเคราะห์ปัญหา ทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ นำเสนอข้อมูลตามลำดับ และหากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการในรายละเอียดที่จำเป็น จะมีการนำเสนอในที่ประชุมสาขาวิชาฯ เพื่อพิจารณาร่วมกันต่อไป
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา จะต้องมีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นในประเด็นดังนี้
2.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี /ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ และหรือ
2.2 การปรับเปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน หรือการจัดตั้งทีมอาจารย์ผู้สอนและกรรมการนิเทศ การฝึกงาน เพื่อให้การดำเนินการส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนทั้งด้านกิจกรรมและแผนการฝึก การติดตามและการประเมินผลการฝึกประสบการณ์ โดยสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา และมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมเกษตรต่างๆ
อาจารย์ผู้สอนรวบรวมผลการประเมินการสอนนักศึกษา คะแนนฝึกงาน พฤติกรรมของนักศึกษา รวมทั้งข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อประกอบการวิเคราะห์ปัญหา ทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ นำเสนอข้อมูลตามลำดับ และหากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการในรายละเอียดที่จำเป็น จะมีการนำเสนอในที่ประชุมสาขาวิชาฯ เพื่อพิจารณาร่วมกันต่อไป
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา จะต้องมีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา
มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นในประเด็นดังนี้
2.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี /ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ และหรือ
2.2 การปรับเปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน หรือการจัดตั้งทีมอาจารย์ผู้สอนและกรรมการนิเทศ การฝึกงาน เพื่อให้การดำเนินการส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนทั้งด้านกิจกรรมและแผนการฝึก การติดตามและการประเมินผลการฝึกประสบการณ์ โดยสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา และมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากหน่วยงานราชการหรือเอกชนด้านอุตสาหกรรมเกษตรต่างๆ