กฎหมายเกี่ยวข้องกับปศุสัตว์

Livestock Laws

        1.1. รู้เกี่ยวกับกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปศุสัตว์
         1.2. รู้เกี่ยวกับระเบียบและเทศบัญญัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปศุสัตว์
         1.3. สามารถวิเคราะห์และนำพระราชบัญญัติ ระเบียบและเทศบัญญัติมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
          1.4. ให้มีเจตคติที่ดีต่อกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปศุสัตว์
เพื่อประยุกต์ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่ให้มีความสอดคล้องกับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนความก้าวหน้าต่างๆ ในวงการปศุสัตว์ที่เกี่ยวกับกฎหมายต่างๆของสัตว์เลี้ยงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติบำรุงพันธุ์สัตว์ พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พระราชบัญญัติการฆ่าและการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พระราชบัญญัติยา พระราชบัญญัติการพนัน พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ พระราชบัญญัติ ระเบียบและเทศบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับปศุสัตว์
3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ให้นักศึกษาตระหนัก และมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้มอบหมายทั้งของตนเอง และผลงานของกลุ่มที่ได้รับมอบหมายมีวินัยต่อการเรียน   ส่งมอบงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด    เคารพในการแสดงออกทางความคิดของผู้ร่วมงาน และการรับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน ทั้งในกลุ่ม และนอกกลุ่ม
-ใช้การสอนแบบ Active Learning เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถาม หรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ ให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มมีกิจกรรม นักศึกษาค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
         - ยกตัวอย่างกรณีศึกษา  ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ 
          - เพิ่มการสอนนอกชั้นเรียนโดยให้ศึกษาจากประสบการณ์จริง ในเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจ และหาข้อมูลเชิงประจักษ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปศุสัตว์ที่ได้พบ รวมทั้งการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปศุสัตว์อย่างมีจรรยาบรรณ และถูกต้องตามความเหมาะสมบนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง
ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน และในสถานการณ์ที่สาขาวิชาฯ และคณะ   จัดกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม  การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน  การตรงต่อเวลา และการเคารพการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น  การเคารพผู้อาวุโส และอาจารย์  โดยประเมินทั้งแบบรายบุคคล และรายกลุ่ม
รู้ และเข้าใจความหมายเพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปศุสัตว์พระราชบัญญัติและเทศบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ การฆ่า การจัดจำหน่ายเนื้อสัตว์ การเคลื่อนย้ายสัตว์ การส่งออกและการนำเข้าประเทศ
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) การสอนแบบคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนบรรยายแบบ  Active Learning เน้นให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม และหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง หรือกลุ่ม โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเบื้องต้น รวมทั้ง การสอนนอกห้องเรียน โดยศึกษาจากประสบการณ์จริงในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปศุสัตว์พระราชบัญญัติและเทศบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ การฆ่า การจัดจำหน่ายเนื้อสัตว์ การเคลื่อนย้ายสัตว์ การส่งออกและการนำเข้าประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้กลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ดังกล่าวขึ้นอยู่ด้วยความเหมาะสมกับสถานการณ์ และความจำเป็นที่สอดคล้องกันกับองค์ความรู้ในแต่ละหัวข้อ หรือบทเรียน
      ประเมินพฤติกรรมในชั้นเรียน และการสอบวัดความรู้ โดยมีการสอบย่อย (Quiz) และสอบเป็นทางการ 2      ครั้ง (สอบกลางภาค และสอบปลายภาค)
      ทำรายงานรายบุคคล และหรือรายงานกลุ่ม เพื่อประเมินความสนใจการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน     
      การทำรายงานกรณีศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปศุสัตว์และนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นกลุ่ม
ทักษะการคิดวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาที่ทราบในชั้นเรียน หรืองานที่มอบหมายให้ค้นหาคำตอบ เพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ปัญหานั้นๆ 
     ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ศึกษาจากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหา หรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือ และความเป็นไปได้
ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน  การสอบย่อย (Quiz)  การสอบกลางภาคและปลายภาค  การนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคล และกลุ่ม
เน้นการทำงานเป็นทีม โดยมีการทำงานเป็นกลุ่ม ซึ่งจะต้องช่วยเหลือแบ่งงานย่อยโดยมอบหมายให้ช่วยกันค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อใช้เขียนรายงาน และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา กรณีศึกษาในชั้นเรียน
สอนโดยมีกิจกรรมเสริมในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียนโดยมีกิจกรรมทำงานเป็นกลุ่ม และมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามภาระงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้ โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน และเอกสารรายงานของนักศึกษา การสอบย่อย (Quiz) ในชั้นเรียน
           -  การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์  เช่น แผ่น CD ที่บรรจุหน่วยเรียน
          -  การนำเสนอข้อมูลของงานที่มอบหมายให้เข้าใจง่าย ในรูปแบบที่เหมาะสม โดยใช้โปรแกรม
             คอมพิวเตอร์ในการทำงาน
            -  การใช้ Power point ในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายทั้งแบบรายบุคคล และรายกลุ่มรวมทั้ง           
              การนำเสนอโครงการที่เสร็จสิ้น
           - การคำนวณในหน่วยเรียน
การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลรวมทั้งการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การนำเสนอโดยใช้แผ่นใส ตำรา PowerPoint ประกอบการสอนในชั้นเรียน  การเลือกวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย อย่างเป็นระบบ หลักการคำนวณในหน่วยเรียน
          ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน และเอกสารรายงานของนักศึกษา การสอบย่อย (Quiz) ในชั้นเรียน
       ให้นักศึกษาตระหนัก และมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้มอบหมายทั้งของตนเอง และผลงานของกลุ่มที่ได้รับมอบหมายมีวินัยต่อการเรียน   ส่งมอบงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด    เคารพในการแสดงออกทางความคิดของผู้ร่วมงาน และการรับฟังการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน ทั้งในกลุ่ม และนอกกลุ่ม
         -ใช้การสอนแบบ Active Learning เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถาม หรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ ให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มมีกิจกรรม นักศึกษาค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
         - ยกตัวอย่างกรณีศึกษา  ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ 
          - เพิ่มการสอนนอกชั้นเรียนโดยให้ศึกษาจากประสบการณ์จริง ในเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจ และหาข้อมูลเชิงประจักษ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปศุสัตว์ที่ได้พบ รวมทั้งการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปศุสัตว์อย่างมีจรรยาบรรณ และถูกต้องตามความเหมาะสมบนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง
ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน และในสถานการณ์ที่สาขาวิชาฯ และคณะ   จัดกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม  การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน  การตรงต่อเวลา และการเคารพการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น  การเคารพผู้อาวุโส และอาจารย์  โดยประเมินทั้งแบบรายบุคคล และรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ทักษะพิสัย ทางปัญญา คุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา การมอบหมายงาน การบรรยาย การมอบหมายงาน การมอบหมายงาน
1 BSCAG240 กฎหมายเกี่ยวข้องกับปศุสัตว์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การสอบกลางภาค การสอบกลางภาค 9 35%
2 การสอบปลายภาค การสอบปลายภาค 17 35%
3 การเขียนรายงาน ศึกษาดูงานนอกสถานที่ นำเสนอผลงาน การเขียนรายงาน ศึกษาดูงานนอกสถานที่ นำเสนอผลงาน 1-17 20%
4 เจตคติ การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบ ในรายวิชา เจตคติ การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบ ในรายวิชา 1-17 10%
1. คณะวิชาการ. 2550.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550.บริษัทพีรภาส จำกัด กรุงเทพมหานคร
2. คณะวิชาการ.2551.ประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับปัจจุบัน).บริษัทพีรภาสจำกัด กรุงเทพมหานคร
3. คณะวิชาการ.2551.ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์(ฉบับปัจจุบัน).บริษัทพีรภาสจำกัด กรุงเทพมหานคร
4. ชุมพล ต่อบุญ.2551.กฏหมายเกี่ยวกับปศุสัตว์.โรงพิมพ์ โอ.เอส.พริ้นติ้ง.เฮาส์ กรุงเทพมหานคร 400 หน้า
5. เชื้อ ว่องส่งสาร, สมบูรณ์ สุธีรัตน์. 2526. ประมวลวิชาการสัตวแพทย์. โรงพิมพ์บัณฑิตการพิมพ์, กรุงเทพฯ.451 หน้า.
6. พีระพล อยู่สวัสดิ์.2546 กฎหมายเกี่ยวกับยาและอาหารสัตว์.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 200 หน้า
7. ปรารถนา พฤกษะศรี และคณะ. 2530. กฏหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับปศุสัตว์ สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ. 177 หน้า.
8. หยุด แสงอุทัย.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 16บริษัทประกายพรึก กรุงเทพมหานคร
9. สมคิด บางโม.2546 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป.บริษัท ยู แอนด์ ไอ กรุงเทพมหานคร
10. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีการ.(มกราคม2558).www.krisdika.go.th
11. อุทิศ มุสิโก. 2528. คู่มือสัตวแพทย์ เล่ม 1. กองควบคุมโรคระบาด กรมปศุสัตว์. 418 หน้า.
หนังสือและตำราที่กำหนด ตามข้อ 6.1
เวปไซด์สำนักงานกฤษฏีกา  เวปไซด์กรมปศุสัตว์  E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ให้นักศึกษาทุกคนทำการประเมินการสอนของอาจารย์และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา
จากการเปรียบเทียบผลการทดสอบตามบทเรียนก่อนและหลังจากอ่านบทเรียนครบทุกส่วนแล้ว
แผนกวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนกลยุทธ์การสอนทุกภาคการศึกษา มีการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนใหม่ๆ ทุกปี  อาจารย์ประชุมปรึกษาปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
แผนกวิชามีคณะกรรมการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนนทั้งคะแนนดิบและระดับขั้นคะแนนโดยการสุ่มรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนรวบรวมผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา คะแนนสอบ พฤติกรรมของนักศึกษา รวมทั้งข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้สอนภาคทฤษฎี  เพื่อประกอบการวิเคราะห์ปัญหา ทบทวนเนื้อหาที่สอน และกลยุทธ์การสอนที่ใช้ นำเสนอข้อมูลตามลำดับ และหากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการในรายละเอียดที่จำเป็น จะมีการนำเสนอในที่ประชุมในสาขาวิชาสัตวศาสตร์เพื่อพิจารณาร่วมกันต่อไป