เทคโนโลยีการจัดการพลังงานในอาคาร

Energy Management Technology in Building

1.1 รู้ทฤษฎีพื้นฐานต่างๆและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานในอาคาร
1.2 เข้าใจสถานการณ์และปัญหาการใช้พลังงานที่เกิดขึ้น
1.3 รู้และเข้าใจองค์ความรู้พื้นฐานที่จะนําไปสู่การออกแบบ การจัดการพลังงานในอาคาร และการแก้ปัญหาการใช้พลังงานของอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
1.4 พิจารณาเลือกใช้รูปแบบ วัสดุ และอุปกรณ์ได้อย่างมีเหตุผล และเหมาะสมกับรูปแบบอาคารและปัญหาที่เกิดขึ้น
1.5 เห็นความสําคัญของการจัดการพลังงานในอาคาร รวมทั้งยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ควรคํานึงถึงเมื่อมีการออกแบบงานสถาปัตยกรรม
1.6ฝึกความเข้าใจและปฏิบัติการคำนวณค่าพลังงาน เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับหลักการใช้พลังงานในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ ทฤษฏีพื้นฐานเกี่ยวกับปริมาณพลังงานที่ใช้ในอาคาร ระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในอาคาร การใช้วัสดุและอุปกรณ์ เพื่อแก้ปัญหาด้านพลังงาน โดยผ่านการคำนวณค่าพลังงาน เพื่อนำมาออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีส่วนช่วยในการลดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโลก
ศึกษาความสำคัญและหลักการทางด้านเทคโนโลยีการใชเพลังงานภายในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร ทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับระบบประหยัดพลังงาน วัสดุกรอบอาคาร การถ่ายเทความร้อนและการป้องกันความร้อน  การออกแบบสภาพแวดล้อมภายในเพื่อส่งเสริมคุณภาพของเสียงและการป้องกันการสั่นสะเทือนของเสียง การออกแบบและวิเคราะห์การใช้แสงประดิษฐ์ในอาคาร แนวทางการประสานแสงธรรมชาติกับแสงประดิษฐ์ การควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร โดยใช้วิธีการคำนวณแบบต่างๆ ฝึกปฎิบัติการวิเคราะห์และคำนวณเพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเรื่องการวัดและประเมินผลการเรียนในชั่วโมงแรก - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพในรายวิชา สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม  
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
1.3.5 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการศึกษาดูงานนอกสถานที่

 
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมศาสตร์
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษาในสถาปัตยกรรมศาสตร์กับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 บรรยายให้องค์ความรู้ หลักการและทฤษฎีด้านการจัดการพลังงาน เพื่อให้สามารถใช้ในการปฎิบัติงานได้
2.2.2 ฝึกการคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับค่าพลังงานขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และงานระบบอาคารต่างๆ เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบอาคารให้มีประสิทธิภาพ
2.2.3 ทำเป็นรายงานเป็นรายบุคคล โดยการนำเสนอวิธีคิด การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาตัวอย่างและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา  
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการน าความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ  
3.2.1 ฝึกปฎิบัติการคิดวิเคราะห์ค่าการใช้พลังงานของอาคาร ทั้งในส่วนขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมและงานระบบอาคาร
3.2.2 มีการมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน  
3.3.1 สังเกตพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงต่อเวลา
3.3.2 สอบกลางภาคและปลายภาค
3.3.3 วัดผลจากการนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมาย
3.3.4 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น  
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม  
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายบุคคล เช่น การค้นคว้าการนำพลังงานธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ทางสถาปัตยกรรม
4.2.3 การนำเสนอรายงาน



 
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
4.3.4 ประเมินจากการส่งงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด
 
 
 
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม  
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สาธารณะที่แนะนำให้ และมีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาได้ถูกต้อง
5.2.2 นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
 
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
 
6.1.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง


 
ฝึกปฎิบัติการคิดวิเคราะห์ ด้วยการคำนวณค่าการใช้พลังงานในอาคาร ในส่วนขององค์ประกอบอาคารและงานระบบ  โดยจะมีการยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา แล้วให้ นศ ปฎิบัติตาม
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน  
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ุ6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BARAT309 เทคโนโลยีการจัดการพลังงานในอาคาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม - การเข้าชั้นเรียน การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ความรับผิดชอบส่งงานตามกำหนดเวลา - ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่มอบหมาย และการสอบ ตลอดภาคการศึกษา 10 %
2 ด้านความรู้ สอบกลางภาค / สอบปลายภาค 10 / 17 50 %
3 ด้านทักษะทางปัญญา - การฝึกปฏิบัติการคำนวณและการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดภาคการศึกษา 20 %
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - การทำงานกลุ่มในการสืบค้นข้อมูลและการนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 5 %
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์ตัวเลขการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - การทำรายงานในการสืบค้นข้อมูลและการนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 5 %
6 ด้านทักษะพิสัย - การนำเสนอผลงานการออกแบบเทคโนโลยีการจัดการพลังงานในอาคาร 16 10%
1. กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, แนวทางการ ประหยัดพลังงานในบ้านอยู่อาศัย, พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สํานักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ, การอนุรักษ์พลังงานในระบบไฟฟ้าแสงสว่าง, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจํากัดอุดมศึกษา, 2545.
3. กองพัฒนาพลังงานทดแทน สํานักงานวิจัยและพัฒนาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, พลังงานทดแทน พลังงานแห่งอนาคต, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ, 2546
4. ตรึงใจ บูรณสมภพ, การออกแบบอาคารที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน, พิมพ์ครั้งที่ 1,กรุงเทพมหานคร : บริษัทอมรินทร์พริ้นติงแอนด์พับลิชชิง จํากัด(มหาชน) , 2539
5. ปรีชญา มหัทธนทวี ดร., การใช้แสงสว่างธรรมชาติภายในอาคารเพื่อการประหยัดพลังงาน: สร้างสรรค์อาคารสบาย, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปภัมภ์, 2547.
6. พัทธวดี รุ่งโรจน์ดี,ผลกระทบของรูปทรงและคุณสมบัติการสะท้อนของแสงธรรมชาติภายใน เอเทรียมสําหรับภูมิอากาศเขตร้อนชื้น,วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาคาร ภาควิชาสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
7. มาลินี ศรีสุวรรณ รศ., การศึกษาความสัมพันธ์ของทิศทางกระแสลมกับการเจาะช่องเปิดที่ ผนังอาคารสําหรับภูมิอากาศร้อนชื้นในประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ :J.Print, 2543.
8. สุนทร บุญญาธิการ ศ. ดร.,บทสรุป:สร้างสรรค์อาคารสบาย, พิมพ์ครั้งที่ 1,กรุงเทพฯ : สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์, 2547

 
ไม่มี
ไม่มี
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาข้อเสนอแนะผ่านห้องสนทนา ที่อาจารย์ผู้สอนได้แนะนําเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา  
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้  
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน  
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิaในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ สอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน มีการทวนสอบผลสัมฤทธิaโดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกสาขา หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจําหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม  
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิaประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผน การปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือการศึกษาดูงาน