ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

English Grammar for Communication

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับที่ซับซ้อนขึ้น การสร้างประโยคอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และการเลือกใช้คำศัพท์อย่างเหมาะสมเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมาย
 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับที่ซับซ้อนขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ได้เพิ่ม กิจกรรมให้มีการฝึกปฏิบัติในการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ การสร้างประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์เพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ English grammar, constructing correct sentences for effective communication
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
คุณธรรม จริยธรรม 1.1 มีทัศนคติที่ดี เคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ 1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรที่ดี 1.3 มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.4 มีจิตสาธารณะในการทำคุณประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม 1.5 มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีจรรยาวิชาการและวิชาชีพ
(1) สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา (2) จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม (3) สร้างวัฒนธรรมองค์กรโดยมีผู้สอนเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีจรรยาวิชาการและวิชาชีพ (4) ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและชุมชน เพื่อเรียนรู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกของกลุ่ม เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
(1) การสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม (2) บันทึกและติดตามการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
2.1 จดจำ และออกเสียงภาษาอังกฤษและ/หรือภาษาต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง 2.2 วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของคำ วลี และประโยคได้ 2.3 เปรียบเทียบการใช้ภาษาอังกฤษในวัฒนธรรมที่หลากหลายได้ 2.4 แปลความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ 2.5 สรุปใจความและประเด็นสำคัญจากสิ่งที่ฟังและอ่านได้ถูกต้อง 2.6 ตีความ วิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็นด้านภาษาและวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ 2.7 ประเมินความเหมาะสมของการใช้วัจนภาษา และอวัจนภาษาเพื่อสื่อสารในบริบทวัฒนธรรมข้ามชาติได้
(1) จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ (2) ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ประยุกต์นำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องได้ (3) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม  (4) ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า หาความรู้ และการเรียนรู้ออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ
(1) สอบกลางภาคและปลายภาค โดยใช้การสอบข้อเขียน  (2) ทดสอบย่อยตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในรายวิชา (3) การสังเกตจากการแสดงความคิดเห็นและร่วมกิจกรรม
3.3.1 มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ 3.3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนตามวัฒนธรรมสากล 3.3.3 มีทักษะในการประยุกต์ใช้ภาษามาวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล และสามารถแก้ปัญหา
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาตามแนว Constructivism (การสร้างความรู้ด้วยตนเอง)  บรรยายให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ภาษา นักศึกษาฝึกปฏิบัติ ทำแบบฝึกหัดตามเนื้อหาการบรรยาย
การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมโดยประเมินตามสภาพจริงจากงานมอบหมาย
4.1 มีความสามารถทำงานเป็นทีม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม 4.2 ประมวลทักษะและองค์ความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อนำมาใช้ในการทำงานของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคมข้ามวัฒนธรรม
(1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชา (2) จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มในรายวิชา มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (Collabolative learning)  (3) ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆเพื่อเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม ทักษะสัมพันธ์ 
การสังเกตพฤติกรรมและบทบาทของนักศึกษาในการทำงานร่วมแับผู้อื่น
5.1 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และคุณภาพ อย่างถูกต้อง 5.2 นำเสนอข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3 ประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และทำงานด้านภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม 5.4 ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม ตามกาลเทศะของบริบทวัฒนธรรมข้ามชาติ และวัฒนธรรมนานาชาติ
(1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารการค้นคว้าข้อมูล  (2) มอบหมายงานให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น ศึกษา และการทำแบบฝึกหัดออนไลน์ (3) แนะนำแหล่งเรียนรู้ออนไลน์และนอกห้องเรียนเพื่อเสริมทักษะภาษา ตัวเลข และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามความสนใจและความต้องการของนักศึกษา
(1) การประเมินจากงานมอบหมาย (2) สอบย่อยตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา (3) กลางภาคและปลายภาค โดยใช้การสอบข้อเขียน
6.1 ปรับตัวเข้าสู่สังคมการทำงานในบริบทข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม 6.2 ปฏิบัติงานโดยยึดจรรยาบรรณวิชาชีพ 6.3 ประยุกต์ความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการปฏิบัติงานในระดับสากล
(1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มในการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้อง หน้าที่ ความรับผิดชอบ คุณสมบัติและแนวปฏิบัติที่ดีในจรรยาบรรณวิชาชีพ ในรายวิชา (2) แนะนำแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองออนไลน์
ประเมินจากงานมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะในการปฎิบัติงาน
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1, 1.2, 1.3 2.2 2.3, 2.5 3.2 4.3 5.3, 5.4 6.1
1 BOAEC173 ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3, 4.3 การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การส่งงานตรงเวลา การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.2, 2.3, 2.5, 3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8, 17 25%, 25%
3 2.2, 5.3, 5.4 ทดสอบย่อย กิจกรรมและงานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
เอกสารเรียบเรียงประกอบการสอนวิชาไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
Simon Clarke. 2012. Macmillillan English Grammar In context. Hewings, M. (2002). Advanced grammar in use. Cambridge: Cambridge University Press. Radford, A. (2009). An introduction to English sentence structure. Cambridge: Cambridge University Press. Moore, M. ( 2018). Oxford Grammar for Schools. Oxford University Press. Berry,.R. ( 2012). English Grammar. 
Folse. (2014) Great Sentence for Great Paragraphs. National Geographic Learning.
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียด ของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ ตามข้อ 4