นวัตกรรมและเทคโนโลยี

Innovation and Technology

1.1 เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิวัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1.2 เข้าใจกระบวนการสร้างและออกแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยี 1.3 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับนวัตกรรมและเทคโนโลยี 1.4 วิเคราะห์ผลกระทบของนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 1.5 มีทักษะการออกแบบนวัตกรรมที่สอดคล้องกับมนุษย์ในปัจจุบัน
เพื่อปรับกระบวนการรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณสมบัติบัณฑิตนักปฏิบัติอันพึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิวัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระบวนการสร้างและออกแบบนวัตกรรและเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับนวัตกรรมและเทคโนโลยี ผลกระทบของนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ฝึกกระบวนการออกแบบนวัตกรรมที่สอดคล้องกับมนุษย์ในปัจจุบัน Study social change and evolution of science and technology, process of creating and designing innovation and technology, the relationship between humans and innovation and technology, and the impact of innovation and technology on society and the environment. Practice the process of designing innovations that are relevant to modern human life.
ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคลนอกชั้นเรียนโดยการสื่อสาร-นัดหมายล่วงหน้าผ่านทาง e-mail หรือสื่อสังคมออนไลน์ ไม่มีการจำเพาะเจาะจงกำหนดจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยจำนวนต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคลขึ้นอยู่กับความหนักเบาของปัญหาที่นักศึกษาประสบ
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชา  ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้

มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

อาจารย์ผู้สอนสามารถสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจรรยาวิชาชีพ และสามารถจัดให้มีการวัดผลแบบมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรมทุกภาคการศึกษา ด้วยการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำกิจกรรม  และมีการกำหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนจิตพิสัยในชั้นเรียน นักศึกษาที่คะแนนความประพฤติไม่ผ่านเกณฑ์อาจต้องทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพิ่มก่อนจบการศึกษา
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ ผู้สอนสอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในขณะสอนและผ่านการมอบหมายงาน ร่วมถึงส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการปฏิบัติตนในด้านต่างๆ ได้แก่

การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้

มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถติดตามความก้าวหน้า ใฝ่รู้ ทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การทดสอบผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการใช้ข้อสอบวัดผลในรายวิชาที่เรียนทั้งการทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติตลอดระยะเวลาของหลักสูตร
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning : WiL)  CDIO :(Conceiving – Designing – Implementing – Operating)  โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การใช้กรณีตัวอย่างประกอบการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา โดยใช้การวัดผล ดังนี้

การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน งานที่ได้มอบหมาย การนำเสนองาน
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้น นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญา พร้อมกับคุณธรรม และจริยธรรม โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล  เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา  แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
(2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning)/STEM Education มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่างๆ โดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น

บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่างๆ


การนำเสนองานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
นักศึกษาต้องได้รับการฝึกประสบการณ์เพื่อเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับบุคคลและกลุ่มบุคคลต่างๆ  ดังนั้น ผู้สอนต้องแนะนำการวางตัว  มารยาทในการเข้าสังคม และทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนี้

มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม

การวัดและประเมินผลทำได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมกลุ่มทั้งในและนอกชั้นเรียน และผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบการณ์ต่างๆ
ดำเนินการสอนโดยการกำหนดกิจกรรมกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น หรือค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในงานอาชีพ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
(1)   สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
(2)   มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
(3)   สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรได้เป็นอย่างดี
(4)   มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
(5)   มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
(6) มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วย  และสามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น

พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนองานกลุ่มในชั้นเรียน พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชา ด้วยเหตุนี้ ผู้สอนต้องใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
(2) สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
(3) ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
การวัดและประเมินผลอาจจัดทำในระหว่างการสอนโดยการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อนำมาเรียบเรียง นำเสนอ และอภิปราย    แสดงความคิดเห็นในกลุ่ม หรือจัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร หรือนำเสนอผลงานต่างๆ
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรม Active Learning/Flipped Classroom ที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข   การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้

ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้

ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้า ใฝ่รู้ ทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.1 มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 5.1 เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม 5.2 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.3 ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
1 GEBIN702 นวัตกรรมและเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 การเข้าชั้นเรียน ความซื่อสัตย์ต่อการเรียน การส่งรายงานตรงเวลา ความรับผิดชอบในงานที่รับมอบหมาย 1 - 17 10%
2 2.2, 3.2 การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน 12 – 16 20%
3 1.2, 2.2, 3.2, 5.2 การนำเสนองาน 17 10%
4 1.2, 2.2, 3.2, 4.3, 5.2 การมอบหมายงาน 3, 4 10%
5 3.2, 4.3, 5.2 การนำเสนอผลงาน 17 10%
6 1.2, 2.2, 3.2 การสอบกลางภาค 8 30%
7 1.2, 4.3 การประเมินการทำงานกลุ่มโดยการประเมินตนเอง (self assessment) และประเมินเพื่อน (peer assessment) 17 10%
สไลด์ประกอบการสอนแต่ละหน่วยเรียน
เอกสารประกอบการเรียนการสอน/การวิเคราะห์ปัญหาชุมชนตัวอย่างจากกรณีศึกษา
ภาษาไทย
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2549). เทคโนโลยีการศึกษาวิชาชีพ. กรุงเทพ ฯ : สินทวี.
ภคมนวรรณ ขุนพิณี. การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking). สืบค้นจากเว็บไซต์ https://www.gotoknow.org/posts/545244
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอิสาน. “หน่วยที่ 1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”. รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ (บทเรียนออนไลน์). สืบค้นจาก http://cw.rmuti.ac.th/source/science/science_01_1.swf
วิกรณ์ รักษ์ปวงชน.  (2550).  “การติดอาวุธสมอง การพัฒนาระบบคิด” ใน ติดอาวุธนักบริหาร. กรุงเทพ ฯ : บริษัทพิมพ์ดี.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ.  (2555). นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 – 2564).
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ.  (2556). ดัชนีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของประเทศไทย ปี 2555. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พรินท์ ซิตี้ จำกัด.
สุนทร โคตรบรรเทา.(2551). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ดิสทริบิวเตอร์.
เสริมพล รัตสุข. (2526). วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: ครีเอตีฟพริ๊นท์.
ภาษาอังกฤษ
Bellanca, James and Brandt, Ron (eds). (2010). 21st century skills : Rethinking How Students Learn. Bloomington, IN : Solution Tree Press.
Bertalanffy, L. Von. (1968). General System Theory. New York : Braziller.
Checklean, Peter. (1982). Systems Thinking, Systems Practice. New York: John Wiley & sons.
Katz, Ralph. (2003). The Human Side of Managing Technological Innovation : A Collection of Readings. 2nd Ed. Oxford : Oxford University Press.
Rothwell, Roy and Zegveld, Walter. (1982). Innovation and the Small and Medium Sized Firm. University of Illinois at Urbana-Champaign's Academy for Entrepreneurial Leadership Historical Research Reference in Entrepreneurship. Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=1496714
Sundbo, Jon. (1998). The Theory of Innovation: Entrepreneurs, Technology and Strategy. Cheltenham, Glos, UK : Edward Elgar Publishing Limited.
นักศึกษาทุกคนประเมินการประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ดังนี้
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การสะท้อนการคิดจากพฤติกรรมของผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชาผ่านระบบของสำนักทะเบียนและประเมินผล
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ ดังนี้
- การแลกเปลี่ยนสังเกตการณ์การสอนระหว่างผู้สอนในรายวิชา
- ระดับผลการเรียนของนักศึกษา
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
การปรับปรุงการสอน  กระทำทุกปีการศึกษา  โดยพิจารณาจากผลการประเมินรายวิชาโดยผู้เรียนและผลประเมินการสอนและปัจจัยอื่นๆ
รายวิชามีการปรับปรุงการสอน โดยพิจารณาจากปัจจัย ดังนี้
- ผลประเมินรายวิชาจากผู้เรียน
- ผลประเมินการสอนจากการสอบถามความสนใจในชั้นเรียน
- ประเด็นปัจจุบันหรือหัวข้อที่คัดสรรตามความสนใจ
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา อาศัยทั้งปัจจัยภายในและภายนอกกระบวนการเรียนการสอน  ทวนสอบทั้งกระบวนการ ผลลัพธ์ และผลสัมฤทธิ์ ได้ดำเนินการทุกครั้ง ดังนี้
- ทวนสอบจากการประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน ได้แก่ การเข้าเรียนและการสังเกตพฤติกรรมโดยผู้สอน
- การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ที่ได้เรียนผ่านไปแล้วในแต่ละบทเรียน โดยผู้สอนที่รับผิดชอบรายวิชา
การทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา  ดำเนินการทุกปีการศึกษา โดยประมวลจากกระบวนการและผลลัพธ์ ดังนี้
- การทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาโดยผู้สอนดำเนินการทุกปีการศึกษา โดยเฉพาะการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
- การทบทวน และวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และการประกันคุณภาพของหลักสูตรวิชาฯ คณะ ฯ และมหาวิทยาลัย