การตลาดสื่อสาร

Marketing Communication

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสารการตลาด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารการตลาด การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การกำหนดวัตถุประสงค์การออกแบบข้อมูลข่าวสาร เพื่อสามารถที่ประยุกต์ใช้ในการวางแผนกลยุทธ์การตลาดต่อไปในอนาคตได้
เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาด มีความรู้พื้นฐานในการใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาด และนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ หรือใช้ในชีวิตประจำวันได้ นำมาประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจเลือกเครื่องมือการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทางการตลาดในปัจจุบัน ให้มีความทันสมัยและตรงตามยุคตามสมัยนิยม
ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีของการสื่อสารทางการตลาดในธุรกิจค้าปลีก ขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาด ผ่านเครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดอันประกอบด้วย การโฆษณา การประชาสัมพันธ์และการให้ข่าว การตลาดเชิงกิจกรรม การส่งเสริมการขาย การขายโดยบุคคลในธุรกิจค้าปลีก และการตลาดทางตรง รวมถึงจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางการตลาดในธุรกิจค้าปลีก แบบบูรณาการให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจค้าปลีก
          Study concept and theory of marketing communication in retail business; planning procedure; marketing communication strategy through various marketing communication tools, including advertisement, public relations and press conference, activity-based marketing, sale promotion, personal selling in retail business, and direct marketing; and ethics in integrated retail business marketing communication that corresponds with retail business environment.
1-2 ชั่วโมง/สัปดาห์ สอนเสริมเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการเพิ่มเติม)
 
บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม
1. สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1. การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2. การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
Ability ความรู้ความสามารถ (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจ)

บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน

Accountability ความรับผิดชอบ (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)

บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม
1. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน   ข้อ 2
2. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง  ข้อ 1,3
1.  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2. ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
3. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
บัณฑิตมีความรอบรู้ สามารถสืบค้นข้อมูล และข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล แนวคิด และหลักฐานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานตามสถานการณ์จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีและประสบการณ์เพื่อคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ แก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างมีเหตุผล
1. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา
2. การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
3. การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
1.  ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
2. ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
บัณฑิตมีความใฝ่รู้ มีความสามารถในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเองและอาชีพ สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ สามารถสรุปประเด็นปัญหา และบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติ สามารถช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยี
1. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
2. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1. พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
2. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
·      บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน
ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
1. ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
2. พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
บัณฑิตแสดงออกถึงทักษะในการนำความรู้มาบูรณาการกับการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและเที่ยงตรง มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้มาแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กร ชุมชนและสังคม สามารถปรับตัวให้เข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน และสังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม
จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ                 การเรียนการสอนกับการทำงาน
การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ(Hand On)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BBABA308 การตลาดสื่อสาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบกลางภาค 9 สอบปลายภาค 17 สอบกลางภาค 20% สอบปลายภาค 20%
2 วิเคราะห์กรณีศึกษา รายงาน และการนำเสนอ - งานที่มอบหมาย / รายงาน (กลุ่ม) - แบบฝึกหัด / กรณีศึกษา (เดี่ยว, กลุ่ม) - การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน (กลุ่ม) ในการนำเสนอ การทำกิจกรรมกลุ่ม (Team-based Learning) และผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 16 50%
3 การเข้าชั้นเรียน - การเข้าชั้นเรียน / การมีส่วนร่วม / การเข้าร่วมกิจกรรม และแสดงความคิดเห็น ตลอดภาคการศึกษา 10%
George E. Belch and Michael A. Belch (2009). Advertising and Promotion :
An Integrated Marketing Communication Perspective. (Eighth Edition).
Philip Kotler and Kevin Lane Keller (2009). Marketing Management. (13th Edition).
Don Schultz and Heidi Schultz (2007). IMC The Next Generation : Five Steps for
Delivering value and Measuring Returns Using Marketing Communication.
Carl McDaniel, Charles W. Lamb, Jr. and Joseph F. Hair, Jr. (2007). Marketing
พรจิต สมบัติพานิช ดร., ยุทธวิธีการวางแผนสื่อโฆษณา. (2551)
  มานิต รัตนสุวรรณ และ สมฤดี ศรีจรรยา ดร., ยุทธศาสตร์การตลาด : ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ.
  Philip Kotler, Hermawan Kartajaya and Iwan Setiawan (2010). Marketing 3.0
  ทีมงาน Y&R. โฆษณา โฆษณุก : โฆษณา โคตรสนุก ความสนุกในมุมของคนโฆษณา. (2550)
  สมวงศ์ พงศ์สถาพร. Practical IMC : การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานภาคปฏิบัติ. (2549)
 เกรียงไกร กาญจนะโภคิน. Event Marketing. (2549)
นิตยสารและเว็บไซต์เพิ่มเติมในการทำรายงาน เช่น นิตยสาร Positioning และ S + M Magazine
- ผลการสอบ
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- การฝึกทักษะเพื่อดูพฤติกรรมตอบสนองของผู้เรียน
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และผู้เรียนรายวิชา เช่น การทดสอบระหว่างเรียน
การสังเกต และ feed back ของนักศึกษาที่มีต่ออาจารย์
-               การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา โดยอาจารย์ท่านอื่นที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
-               มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
-     ควรมีการปรับปรุงรายวิชาทุกปีการศึกษาที่เปิดการเรียนการสอน
-      ปรับ กรณีศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหาที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน