จิตรกรรม 4

Painting 4

รู้จักวัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆในการเขียนภาพจิตรกรรม เข้าใจขั้นตอน วิธีการวาดภาพเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำมันและเทคนิคอื่นๆในรูปแบบ ต่างๆ ทั้งแบบเหมือนจริงและแบบสร้างสรรค์ มีทักษะในการเขียนภาพจิตรกรรมแบบเหมือนจริงและแบบสร้างสรรค์ที่มีความสอดคล้องระหว่างรูปแบบและแนวความคิดในการแสดงออกในการสร้างสรรค์ เลือกเทคนิคในการเขียนภาพจิตรกรรมได้อย่างเหมาะสมกับแนวความคิดเฉพาะตนมีความเป็นอัตลักษณ์ รู้และเข้าใจในการจัดวางรูปทรงให้สอดคล้องกับ เนื้อหาเรื่องราว ,อารมณ์ ความรู้สึก ของรูปแบบต่างๆในลักษณะการสร้างสรรค์ได้ สามารถวิเคราะห์ทัศนธาตุต่างๆในงานตนเองและเห็นคุณค่าในงานจิตรกรรม
ศึกษาค้นคว้าฝึกปฏิบัติการวาดภาพจิตรกรรม ด้วยการใช้เทคนิคสีน้ำมันหรือเทคอื่นๆที่มีความหลากหลาย โดยเลือกมุมมองด้านองค์ประกอบศิลป์ แสดงออกผ่านทัศธาตุ เพื่อฝึกฝนให้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนภาพเหมือนจริง กึ่งเหมือนจริง หรือนามธรรมก็ได้ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อแสดงออกด้านแนวความคิดเฉพาะตน ค้นหารูปแบบและเทคนิควิธีการที่เหมาะสมต่อการนำเสนอเนื้อหานั้นๆ ทั้งนี้นักศึกษาต้องสามารถวิเคราะห์ผลงานตนเองเพื่อพัฒนาผลงานตามหลักการความงามและการสื่อความหมายอันมีคุณค่าทางทัศนศิลป์
ปฏิบัติเกี่ยวกับจิตรกรรม ให้มีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอดรูปแบบขั้นสูงขึ้นจากจิตรกรรม 3 โดยการปฏิบัติงานตามหัวข้อที่กำหนดให้ เพื่อศึกษาและปฏิบัติให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์กันของรูปแบบเนื้อหา และเทคนิคที่เหมาะสมในการแสดงออกและมีเอกลักษณ์เฉพาะตน
4 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
พัฒนานักศึกษาให้มีความรับผิดชอบ มีความรักในวิชา รักที่จะฝึกฝนค้นคว้าตามกระบวนการของวิชา มีความรับผิดชอบต่อการศึกษาค้นคว้าให้ประสบผลสำเร็จตามวิธีการต่างๆ มีวินัย มีความซื่อสัตย์
-สอดแทรกระหว่างการเรียนการสอนแต่ละครั้ง
-แสดงให้เห็นถึงผลของความรักต่อวิชา วินัย ความซื่อสัตย์
-แสดงให้เห็นถึงผลของความรับผิดชอบต่อวิชาการ
-ประเมินจากพฤติกรรมในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน
-ประเมินพฤติกรรมจากความรับผิดชอบในหน้าที่ต่างๆ
มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานด้านจิตรกรรมได้อย่างประสบผลสำเร็จ มีทักษะในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวาดภาพเขียนภาพเหมือนจริง กึ่งเหมือนจริง หรือนามธรรมก็ได้ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อแสดงออกด้านแนวความคิดเฉพาะตน ค้นหารูปแบบและเทคนิควิธีการที่เหมาะสมต่อการนำเสนอเนื้อหานั้นๆ ทั้งนี้นักศึกษาต้องสามารถวิเคราะห์ผลงานตนเองเพื่อพัฒนาผลงานตามหลักการความงามและการสื่อความหมายอันมีคุณค่าทางทัศนศิลป์
- บรรยายประกอบสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ให้เห็นถึงเทคนิค วิธีการ , ผลงานตัวอย่าง , ผลงานศิลปินที่มีชื่อเสียง
- บรรยายผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ยกตัวอย่างผลงานให้ได้เห็น และเข้าใจในแนวความคิดในการสร้างสรรค์ใหม่ๆในงานจิตรกรรมร่วมสมัย
- ปฏิบัติงานจริง เพื่อศึกษาค้นคว้าตามขั้นตอนต่างๆวิจารณ์แนะนำเพื่อพัมนาต่อ
- ประเมินจากความสมบูรณ์ของผลงานจิตรกรรมของแต่ละบุคคล
- ประเมินจากความรู้ความเข้าใจในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแนวความคิด เทคนิคที่ใช้ และรูปแบบนำเสนอในผลงานจิตรกรรม ที่มีความงาม ความหมายที่มีคุณค่าทางทัศนศิลป์
- ประเมินจากความรู้ความสามารถในการบรรยายอธิบายผลงานของตนสอดคล้องกับผลงานที่ปรากฏตามองค์ความรู้ทางทัศนศิลป์สาขาจิตรกรรม
- ประเมินจากการสอบกลางภาค และปลายภาค
พัฒนาความสามารถในความเข้าใจในการสร้างสรรค์ ตามข้อกำหนด เลือกเทคนิคในการเขียนภาพจิตรกรรมได้อย่างเหมาะสมกับแนวความคิดเฉพาะตนมีความเป็นอัตลักษณ์ รู้และเข้าใจในการจัดวางรูปทรงให้สอดคล้องกับ เนื้อหาเรื่องราว ,อารมณ์ ความรู้สึก ของรูปแบบต่างๆในลักษณะการสร้างสรรค์ได้
- นำเสนอผลงานการวาดเส้นในลักษณะเหมือนจริง ที่แสดงให้เห็นถึงเทคนิค วิธีการต่างๆ ของศิลปินที่มีชื่อเสียงจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
- แนะนำหรือสาธิตเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้เกิดทักษะและปัญญา
- มอบหมายให้ค้นคว้า ศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
- วิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานปฏิบัติของแต่ละบุคคลให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียต่างๆ
- ประเมินผลความก้าวหน้าจากการศึกษาค้นคว้า เปรียบเทียบกับผลงานปฏิบัติในแต่ละครั้ง
- ประเมินผลความรู้ ความเข้าใจจากการสอบกลางภาค และสอบปลายภาค
- มีทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
- มีทักษะในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
- มีความรับผิดชอบในการทำงานร่วมกัน หรือทำงานเป็นกลุ่ม
- แสดงให้เห็นถึงผลของความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานร่วมกัน
- แสดงให้เห็นถึงผลของความรู้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนในการปฏิบัติงานร่วมกัน
-ประเมินผลจากพฤติกรรมการปฏิบัติงานร่วมกันในชั้นเรียน
-ประเมินผลจากความรู้ ความเข้าใจที่ได้จากการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เรียน
-ประเมินผลจากการกำหนดให้ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
-ทักษะความรู้ ความเข้าใจที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
-ทักษะความรู้ ความเข้าใจในเทคนิควิธีการที่ได้จากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
-นำเสนอตัวอย่างความรู้ ความชำนาญเกี่ยวกับการเขียนภาพจิตรกรรมแนวใหม่ๆ รวมทั้งตัวอย่างผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
-นำเสนอตัวอย่างเทคนิควิธีการที่ได้จากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
-มอบหมายงานการศึกษาค้นคว้าจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
-ประเมินผลความรู้ความเข้าใจจากผลงานที่สร้างสรรค์ตามเทคนิควิธีการที่ได้จากสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ
-ประเมินผลจากการมอบหมายให้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. มีทักษะในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย
2. มีทักษะในการร่างและทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละบุคคลถนัดได้
3. สามารถสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม
4. สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน
5. มีทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามใบงาน และการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วย
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและจากชิ้นงานมีการใช้เทคนิคทางวาดเส้นสร้างสรรค์ รูปแบบและแนวความคิด มีความสอดคล้องกัน ตรงตามวัตถุประสงค์ของแต่ละโครงงานที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 5
1 BFAVA126 จิตรกรรม 4
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 นักศึกษาสามารถปฎิบัติและเข้าใจหลักการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมผ่านหัวข้อที่กำหนด โดยแสดงออกผ่านแนวความคิด เทคนิคและรูปแบบเฉพาะตนได้ ประเมินจากผลงานของนักศึกษาในแต่ละหัวข้อโดยมีหลักการเรื่องความสมบูรณ์ด้านเนื้อหาแนวความคิด เทคนิค และรูปแบบที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน 1-17 40%
2 นักศึกษาสามารถปฎิบัติและเข้าใจหลักการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมผ่านหัวข้ออิสระ โดยแสดงออกผ่านแนวความคิด เทคนิคและรูปแบบเฉพาะตนได้ ประเมินจากผลงานนักศึกษาในแต่ละหัวข้อโดยมีหลักการเรื่องความสมบูรณ์ด้านเนื้อหาแนวความคิด เทคนิค และรูปแบบที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน 1-17 30%
3 นักศึกษาสามารถเข้าใจเรื่องแนวความคิดสร้างสรรค์เพื่อใช้ในการแสดงออกเป็นผลงานจิตรกรรมได้ ประเมินจากเนื้อหาแนวความคิดของนักศึกษาในแต่ละหัวข้อเป็นสำคัญ 1-17 20%
4 มีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การเข้าชั้นเรียน 1-17 10%
      รศ.จิระพัฒน์ พิตรปรีชา.โลกศิลปะศตวรรษที่20.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์เมืองโบราณ,2552       รศ.อิทธิพล ตั้งโฉลก.แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์อัมรินทร์ ปริ้นติ้ง,2550       คอตติงตัน,เดวิด. ศิลปะสมัยใหม่:ความรู้ฉบับพกพา.กรุงเทพ:โอเพ่นเวิลด์ส,2554
หนังสือศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่9,พิมพ์ครั้งที่2 .กรุงเทพ:อัมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง,2540 ศาสตราจารย์ กำจร สุนพงษ์ศรี. หนังสือศิลปะสมัยใหม่ .สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2554 ชลูด นิ่มเสมอ.องค์ประกอบของศิลปะ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด,2534
www.fineart-magazine.com www.American painting www. Art Now
-สอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาเมื่อเสร็จสิ้นในเนื้อหานั้น -นักศึกษาประเมินการสอนในคอมพิวเตอร์ -ประเมินการสอนโดยผู้บริหารของภาค หรือสาขาวิฃา
-จัดประชุมคณะอาจารย์  ระดมความคิดเห็นเมื่อสิ้นสุดภาคเรียน
-สรุปผลการประเมินการสอนจากนักศึกษา -ประชุมคณะอาจารย์แจ้งผลการประเมิน    แสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการสอน -จัดประชุม สัมมนาคณะอาจารย์เพื่อพัฒนาเทคนิคใหม่เกี่ยวกับการสอน
-มีคณะกรรมการวิชาการประจำสาขาวิชา -มีคณะกรรมการพิจารณาข้อสอบ และผลสอบ  -ให้นักศึกษาตรวจสอบคะแนน    ผลคะแนนจากฝ่ายทะเบียนได้
-นำผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็น    คะแนนสอบของนักศึกษา   การประชุมสัมมนานำมาสรุปผล และพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคเรียนต่อไป