การเตรียมโครงงานวิศวกรรมเหมืองแร่

Mining Engineering Pre-Project

1. สามารถอธิบายเกี่ยวกับหลักการและวิธีจัดทำข้อเสนอโครงการได้
2. สามารถอธิบายการเตรียมแผนการดำเนินงานโครงการ การกำหนดจุดประสงค์ ขั้นตอน และแผนการดำเนินงานได้
3. สามารถอธิบายการจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ เพื่อดำเนินโครงการและการจัดทำข้อเสนอโครงการได้
จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และกรับวนการเรียนรู้ การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่มีความทันสมัย มีแหล่งสืบค้นใหม่มากมาย ที่รวดเร็วและสามารถช่วยพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาได้ดี จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทักษะการเรียนการสอนกับนักศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างเหมาะสม
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการและวิธีจัดทำข้อเสนอโครงการ การเลือกหัวข้อโครงการ การรวบรวมข้อมูลนำเสนอโครงการ การเตรียมแผนการดำเนินงานโครงการ การกำหนดจุดประสงค์ ขั้นตอน และแผนการดำเนินงาน ตลอดจนจัดเตรียม วัสดุและอุปกรณ์ เพื่อดำเนินโครงการและการจัดทำข้อเสนอโครงการ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานได้อย่างเป็นระบบอย่างเหมาะสม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
ให้ความสำคัญวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนด การสอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเองและสังคม  ผู้สอนประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
1. การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าขั้นเรียนลากรส่งงานตรงเวลา
2. พิจารณาจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
3. การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการจัดทำหัวข้อโครงงาน การสืบค้นข้อมูลแหล่งอ้างอิงต่างๆ การจัดทำวางแผนการดำเนินงาน รวมถึงสามารถนำเสนอโครงงานได้
บรรยาย-ถามตอบ รวมถึงให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลมานำเสนอ พร้อมกับการวิเคราะห์วิจารณ์ปัญหาร่วมกัน
1.  พิจารณาจากรายงานที่มอบหมาย
2.   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล 
การสืบค้นข้อมูล การอ้างอิงรวบรวมข้อมูลนำมาคิดวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนดำเนินการและการนำเสนอโครงการ
มอบหมายงานให้สืบค้นและรวบรวมข้อมูลหัวข้อที่สนใจ นำเสนอปัญหาแนวทางการแก้ไข และวางแผนการดำเนินงาน พร้อมกับนำเสนอโครงการ
ประเมินการผลงานการนำเสนอหัวข้อและข้อมูลที่เกี่ยวข้องและการนำเสนอโครงการ
1. พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2. พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
3. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
1. ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม 
2. มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล ตามที่กำหนดให้
3.   การนำเสนอโครงการ
1. ประเมินพฤติกรรม การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
2. ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
3. พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจการรมของนักศึกษา    
1. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
2. ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
3. สามารถใช้ภาษาไทย หรือภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2. นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ประเมินจากรายงานและรูปแบบการนำเสนอ
2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
 
1. การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมเหมืองแร่ ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมแหมืองแร่ ดังข้อต่อไปนี้
1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
 
 
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่าง ๆที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน การนำเสนอความคิด การออกแบบและวางแผนงาน
2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ การยกตัวอย่าง การตอบข้อซักถาม
2.3 สนับสนุนการทำโครงงาน
1. มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
2. มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
3. มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
4. มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยะธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGMN116 การเตรียมโครงงานวิศวกรรมเหมืองแร่
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7,2.1,2.4-2.6,3.2, 4.1-4.6, 5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
2 1.7, 2.1, 3.2 การนำเสนอหัวข้อโครงงานต่อกรรมการสอบ 15 16 และ 17 60%
1.คู่มือการดำเนินการรายวิชาเตรียมโครงงาน/โครงงาน 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน หรือผู้ทรงคุณวุฒิ  2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ