การบัญชีชั้นสูง 1

Advanced Accounting 1

สามารถเข้าใจและปฏิบัติได้ในเรื่องเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินจากรายการที่บันทึกไว้ไม่สมบูรณ์ รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า การบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย ธุรกิจขายผ่อนชำระ สัญญาเช่า การใช้โปรแกรมชีสสเปรดชีตในการจัดทำตารางชำระเงินต้นและดอกเบี้ยรวมถึงการคำนวณหาอัตราผลตอบแทนคิดลด การบัญชีสำนักงานใหญ่สาขาและตัวแทนทั้งในและต่างประเทศรายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและการแปลงค่างบการเงิน การบัญชีสำหรับการป้องกันความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า การบัญชีเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง การบัญชีผลประโยชน์พนักงาน การบัญชีกองทุนและกิจการไม่หวังผลกำไร
 
1. มีคุณธรรมจริยธรรมยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพซื่อสัตย์สุจริตมีความรับผิดชอบต่อตนเองวิชาชีพและสังคม
2.มีความรอบรู้ในด้านการบัญชีการเงินและความรู้ที่เกี่ยวข้องสามารถบูรณาการและประยุกต์ความรู้กับการปฏิบัติงานจริงได้อย่างเหมาะสมและมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
3. มีทักษะการคิดวิเคราะห์และการปฏิบัติงานทางวิชาชีพบัญชีสามารถใช้ดุลพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพและมีคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ
4. มีความคิดสร้างสรรค์อดทนมีทักษะทางสังคมและการทำงานเป็นทีมมีจิตสาธารณะร่วมมือรวมพลังเพื่อสร้างสรรค์การพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
5. มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีและเทคโนโลยีอื่นที่ทันสมัยและสื่อสารรวมถึงนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
 
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินจากรายการที่บันทึกไว้ไม่สมบูรณ์ รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า การบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย ธุรกิจขายผ่อนชำระ สัญญาเช่า การใช้โปรแกรมชีสสเปรดชีตในการจัดทำตารางชำระเงินต้นและดอกเบี้ยรวมถึงการคำนวณหาอัตราผลตอบแทนคิดลด การบัญชีสำนักงานใหญ่สาขาและตัวแทนทั้งในและต่างประเทศรายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและการแปลงค่างบการเงิน การบัญชีสำหรับการป้องกันความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า การบัญชีเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง การบัญชีผลประโยชน์พนักงาน การบัญชีกองทุนและกิจการไม่หวังผลกำไร
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ห้องพักอาจารย์ ตึก BLA ชั้น 3 ห้องหลักสูตร
ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมได้แก่ 1 มีความรู้และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี 2 สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม 3 แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์สุจริตเที่ยงธรรมระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเองวิชาชีพและสังคม
 
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมได้แก่ 1 สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีในเนื้อหาวิชาเรียน 2 ให้ความสำคัญในการมีวินัยการตรงต่อเวลาและการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย 3 เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตากรุณาความเสียสละและการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน 4 การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
 
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมได้แก่ 1 ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงต่อเวลาการทำงานทันตามกำหนดและความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม 2 ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ 3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 4 สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
 
ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ได้แก่ 1 มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชีเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 2 มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 3 มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ 4 มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้ได้แก่ 1 ใช้วิธีการสอนเรารูปแบบตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิดหลักการทฤษฎีและการปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้เช่นการสอนแบบบรรยายและอภิปรายการยกตัวอย่างการถามตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียนการสอนแบบสาธิตการสอนแบบใช้สถานการณ์จำลองการสอนแบบเน้นกรณีปัญหา 2 มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ 3 การเรียนรู้จากสถานการณ์จริงจากการฝึกงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรมและการศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม 4 การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมและงานวิจัยโดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
 
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้ได้แก่ 1 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคเช่นงานที่มอบหมายการทดสอบย่อยรายงานการค้นคว้าและการนำเสนอ 2 การประเมินจากการสอบข้อเขียนหรือการสอบปฏิบัติ 3 การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริงหรือการฝึกงานในองค์กรธุรกิจ 4 การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต 5 การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จากการบูรณาการการบริการวิชาการการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมและงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการผ่านการสะท้อนความคิดของนักศึกษาหรือการเขียนรายงานจากประสบการณ์หรือวิธีการอื่นๆ
 
สถานปัญญาผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาได้แก่ 1 มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพการประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสมมีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสมมีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก 4 มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กรและสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาได้แก่ 1 ส่งเสริมการเรียนรู้และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบจากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้นตามระดับชั้นการศึกษาโดยใช้โจทย์แบบฝึกหัดโจทย์ปัญหากรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง 2 จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญาความคิดการวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่างๆทั้งในสาขาและนอกสาขา 3 สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้ารายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียนรวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น 4 การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมและงานวิจัยโดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาได้แก่ 1 ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัดโจทย์ปัญหากรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย 2 ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา 3 ประเมินจากรายงานผลการศึกษาค้นคว้ารายงานทางเอกสารและการนำเสนอหน้าชั้นเรียนรวมทั้งผลการอภิปรายและแสดงความคิดเห็น 4 การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จากการบูรณาการการบริการวิชาการการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมและงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการผ่านการสะท้อนความคิดเห็นของนักศึกษาหรือการเขียนรายงานจากประสบการณ์หรือวิธีการอื่น
 
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบได้แก่  1 มีความอดทนความรับผิดชอบทักษะทางสังคมและจิตสาธารณะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆวัฒนธรรมองค์กรและการทำงานร่วมกับผู้อื่น  2 มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติอย่างเป็นระบบสามารถทำงานให้สำเร็จเข้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ  3 มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
 
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบได้แก่  1 มอบหมายงานให้ทำงานร่วมกันเป็นทีมเช่นการทำโครงงานการแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษาการค้นคว้าอิสระการทำวิจัยการจัดนิทรรศการเป็นต้นโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำการเป็นสมาชิกทีมและผลัดกันเป็นผู้นำเสนอ  2 มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น  3 ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ  4 การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและงานวิจัยโดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
 
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  1. ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน  2. ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่มประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน  3. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน  4. การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จากการบูรณาการการบริการวิชาการการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมและงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการผ่านการสะท้อนความคิดของนักศึกษาหรือการเขียนรายงานจากประสบการณ์หรือวิธีการอื่นๆ 
 
การวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีได้แก่
1 มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพรวมทั้งการใช้ความรู้ความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผนการควบคุมการประเมินผลและการรายงานผลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
2 มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบันเพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพมีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียนโดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้แก่
1 มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
2 มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3 ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นหน้าชั้นเรียนและนำเสนอในรูปแบบรายงานมอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
4 การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมและงานวิจัยโดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
 
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้แก่
1 ประเมินจากผลงานกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิตศาสตร์
2 ประเมินผลจากงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
3 ประเมินจากการสอบข้อเขียน
4 ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือกลุ่ม
5 การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จากการบูรณาการการบริการวิชาการการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมและงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ 
 
1. สามารถปฏิบัติงานโดยน าองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม 2. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการด าเนินงานเพื่อสนับสนุนการด าเนินงานของธุรกิจ น ามาแก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง 3. สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการท างาน สัมคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการด าเนินชีวิต 4. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล 5. สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทาง ความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
1. มอบหมายงานศึกษาองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม 2. มอบหมายงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการด าเนินงานเพื่อสนับสนุนการด าเนินงานของธุรกิจ น ามาแก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย  ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง 3. อธิบายการปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการท างาน สัมคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการด าเนินชีวิต 4. มอบหมายงานโดยใช้ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล 5. มอบหมายงานโดยยึดถือแนวทาง ความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
. ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 2. ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลที่มอบหมายและน าเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม 3. ประเมินจากกรณีศึกษา 4. ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการน าเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความคิดสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC130 การบัญชีชั้นสูง 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม สังเกตการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 1-17 5%
2 ความรู้ สอบภาคทฤษฎี กลางภาคและปลายภาค ภาค 9 17 60%
3 ทักษะทางปัญญา สอบปฏิบัติจากกรณีศึกษา 6 16 20%
4 ทักษะความสัมพันร์ระหวา่งบุคคลและความรับผิดชอบ สังเกต 1-17 10%
5 ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สังเกต ทุกสัปดาห์ 5%
-  ผกาพรรณ พรหมสาขา ณ สกลนคร และ รัตนา วงศ์รัศมีเดือน. การบัญชีชั้นสูง 1. กรุงเทพฯ: เสมาสาส์น, 2562.
- ผศ.สุรชัย เอมอักษร. การบัญชีชั้นสูง 1. กรุงเทพฯ  : ทริปเพิ้ล  กรุ๊ป, 2558.- รุจาภา  สุกใส .เอกสารประกอบการสอน การบัญชีชั้นสูง 1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก , 2562. 
- เสนีย์ พวงยาณีและคณะ.การบัญชีขั้นต้น 2. กรุงเทพฯ  : ทริปเพิ้ล  กรุ๊ป, 2558.
- สภาวิชาชีพบัญชี.มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 (ปรับปรุง 2561) ผลประโยชน์ของพนักงาน. กรุงเทพฯ : พฤศจิการยน, 2562.
- สภาวิชาชีพบัญชี.มาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับที่15 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า. กรุงเทพฯ : เมษายน, 2562.
- สภาวิชาชีพบัญชี.มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 16 สัญญาเช่า. กรุงเทพฯ : กันยายน, 2562.
  - สภาวิชาชีพบัญชี.มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 21 (ปรับปรุง 2561) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : กันยายน, 2561.
             
-  Power Point Slide ประจำบทเรียน
-  www.Fab.or.th เว็บไซด์สภาวิชาชีพบัญชี
-  www.nukbunchee.com เว็บไซด์นักบัญชีดอทคอม
-  www.set.or.th เว็บไซด์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1   การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ทุกภาคการศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1  ผลการสอบทั้งกลางภาคและปลายภาคเรียนของนักศึกษา
2.2  การทบทวนผลการประเมิน เช่น การทดสอบย่อย
2.3  จากการตรวจแบบฝึกหัดท้ายบทเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1  ปรับปรุงจุดบกพร่องในการสอนตามผลการประเมินของนักศึกษา
3.2  ปรับปรุงการสอนโดยประเมินจากผลการสอบและการวิเคราะห์ปัญหา การทำกรณีศึกษา
            4.1  ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา
            4.2  ตรวจสอบความตรงประเด็นของข้อสอบกับมาตรฐานผลการเรียนของสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้นำไปใช้ในการเรียน การทำแบบฝึกหัดหรือในการประกอบอาชีพต่อไป
5.3 ปรับเปลี่ยนตารางสอน เพิ่มการสอนเสริม ตามที่นักศึกษาต้องการ