ออกแบบสถาปัตยกรรม 4

Architectural Design 4

1.1 เข้าใจวิธีการรวบรวม การจัดหมวดหมู่ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับทฤษฎี ปรัชญา แนวคิด ตลอดจนข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาโครงการ/แนวทาง/วิธีการออกแบบlสถาปัตยกรรม และมีทักษะในการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน ด้วยรูปแบบ/วิธีการที่เหมาะสม
1.2 เข้าใจขั้นตอนและวิธีการจัดทำโครงการทางสถาปัตยกรรมอย่างมีตรรกะ รวมทั้งการกำหนดแนวความคิดในการออกแบบ โดยปล่อยให้บริบทเป็นตัวผลักดันการตัดสินใจ และคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
1.3 เข้าใจกระบวนการ/วิธีการสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานการออกแบบที่ต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน โดยการบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีทักษะการนำเสนอผลงานการออกแบบด้วยการสื่อสารผ่านรูปแบบของภาษาที่หลากหลายและเหมาะสมกับเนื้อหาสาระ
1.4 มีวุฒิภาวะ โดยเน้นถึงความมีคุณธรรมจริยธรรม ระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตนถูกต้องคามกาลเทศะ มีทักษะการทำงานเป็นทีม มีทัศนคติที่ดี ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของวิชาชีพที่มีผลกระทบต่อสังคม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องสัมพันธ์กับบริบทแวดล้อม ปรัชญาและแนวความคิดในการออกแบบ ผ่านการตีความ การสื่อความหมายและการรับรู้ รวมทั้งสัญลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการออกแบบอาคารสาธารณะขนาดกลางประเภทอาคารแสดง นิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ อาคารทางศาสนา อนุสรณ์สถาน จัดทำกระบวนการ ออกแบบโดยกำหนดองค์ประกอบโครงการ ขนาดพื้นที่ สำรวจและวิเคราะห์ที่ตั้ง กำหนดแนวความคิดและทำการออกแบบสถาปัตยกรรมและผังบริเวณที่เน้นการสื่อ ความหมายและการรับรู้ คำนึงถึงระบบโครงสร้าง งานระบบอาคาร และข้อกำหนด อาคารที่เกี่ยวข้อง
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าชั้นเรียนและอาจมีการประกาศเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการอย่างน้อย 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ได้นัดหมายล่วงหน้า)
1.1.1 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.2 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา หรือเหตุการณ์ข่าวปัจจุบัน เพื่อสอดแทรกประเด็นทางด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานออกแบบสถาปัตยกรรม
1.2.2 ถามตอบหรืออภิปรายกลุ่ม
1.3.1 สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาในชั้นเรียน
1.3.2 การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ประกอบการศึกษา/รายงาน ที่มีความถูกต้องเหมาะสม และไม่มีพฤติกรรมที่ขัดต่อจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.3.3 พฤติกรรมการเข้าเรียน การส่งงาน การดูแลสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติที่เกี่ยวกับ สถาปัตยกรรมศาสตร์
2.1.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขา สถาปัตยกรรมศาสตร์
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษาในสถาปัตยกรรมศาสตร์กับความรู้ใน ศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  
2.2.1 บรรยาย อภิปราย พร้อมยกตัวอย่าง
2.2.2 มอบหมายงานกลุ่มเพื่อจัดทำและนำเสนอรายงาน/กรณีศึกษา
2.2.3 อาจจัดให้มีการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสบการณ์โดย การศึกษาดูงานนอกสถานที่ หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษ
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค หรือสอบปากเปล่า โดยเน้นความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฏี เนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้อง
2.3.2 ประเมินจากการจัดทำและนำเสนอรายงาน/กรณีศึกษา
2.3.3 ประเมินจากผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือ วิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้ากรณีศึกษา จัดทำรายละเอียดโครงการ และออกแบบสถาปัตยกรรมบนพื้นที่ที่ตนเองสนใจ โดยเน้นกระบวนการออกแบบ เพื่อสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่มีคุณภาพและตอบสนองวัตถุประสงค์ของแต่ละโครงการ
3.2.2 ตรวจความก้าวหน้าในการพัฒนาผลงานออกแบบทุกสัปดาห์
3.2.3 อภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยน เสนอความคิดเห็น และการคิดวิเคราะห์/วิพากษ์ อาจมีการเชิญวิทยากรพิเศษมาร่วมอภิปราย
3.2.4 นักศึกษานำเสนอกระบวนการและผลงานออกแบบหน้าชั้นเรียนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพ
3.3.1 ประเมินจากกระบวนการทำงาน การคิดวิเคราะห์ และการประยุกต์ใช้ความรู้ หลักการ ทฤษฏี เนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
3.3.2 ประเมินจากกระบวนการและผลงานออกแบบที่มีคุณภาพตามมาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพ
3.3.3 ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
 
4.1.1 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม  
4.2.1 มอบหมายงานกลุ่ม เพื่อพัฒนาบทบาท ความสัมพันธ์ และความรับผิดชอบของนักศึกษาในการทำงานเป็นทีม
4.3.1 สังเกตพฤติกรรมในการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกันของนักศึกษาในชั้นเรียน
4.3.2 ประเมินภาวะความเป็นผู้นำ/ผู้ตาม ความรับผิดชอบในการทำงานเป็นทีม จากการทำงานกลุ่มที่มอบหมาย
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไข ปัญหาอย่างเหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 ให้นักศึกษากำหนดวิธีการนำเสนอผลงานด้วยรูปแบบสื่อ รูปภาพ แผนภูมิ รวมทั้งวิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินทักษะการใช้เครื่องมือ แนวทางและรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมจากผลงานและวิธีการนำเสนอ
5.3.2 ประเมินทักษะการสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมจากผลงานและวิธีการนำเสนองาน
6.1.1 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
6.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาวิเคราะห์ และกำหนดลักษณะโครงการ รวมทั้งข้อมูลรายละเอียดโครงการให้สมบูรณ์ โดยคำนึงถึงกระบวนการออกแบบที่ถูกต้องเหมาะสม
6.2.2 ฝึกทักษะการวิเคราะห์และออกแบบโดยมอบหมายให้นักศึกษาออกแบบสถาปัตยกรรมตามรายละเอียดโครงการที่นักศึกษากำหนด รวมทั้งอาจมอบหมายให้นักศึกษาทำ Skeych Design เพื่อฝึกทักษะการออกแบบเพิ่มเติม
6.2.3 มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำเอกสาร ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม หุ่นจำลอง ฯลฯ ที่เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ  เพือนำเสนอหน้าชั้นเรียน
6.3.1 ประเมินจากการวิเคราะห์ข้อมูลรายละเอีบดโครงการที่มีความถูกต้องและสมบูรณ์
6.3.2 ประเมินจากแนวความคิดและการพัฒนาแบบร่างผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม
6.3.2 ประเมินจากเอกสาร ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม หุ่นจำลอง ฯลฯ รวมทั้งทักษะในการนำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะทางปัญญา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมศาสตร์ 2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ 3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษาในสถาปัตยกรรมศาสตร์กับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชำชีพ 2 มีทักษะในการนาความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภำพ 3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1 BARAT104 ออกแบบสถาปัตยกรรม 4
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 3.1 สอบกลางภาคและสอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 10 และ 17 10%
2 1.2-1.3, 2.1-2.3, 3.1-3.2, 4.3, 5.1-5.2, 6.2-6.3 1. ประเมินจากการทำงานที่มอบหมายและนำเสนอผลงาน 2. ผลงานโครงการออกแบบ ประเมินตลอดภาคการศึกษา, สัปดาห์ที่ 17 80%
3 1.2-1.3 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย มารยาทในชั้นเรียน รวมทั้งการมีส่วนร่วม การอภิปราย และการเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
จามร รักการดี. การวิเคราะห์โครงการสถาปัตยกรรมและที่ตั้งโครงการ. กรุงเทพฯ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2520.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,. หนังสือชุด คลื่นความคิด : แนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม , กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.
ฐานิศวร์ เจริญพงศ์. สรรพสารจากทฤษฎีตะวันตก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2545.
ทิพย์สุดา ปทุมานนท์, รศ.ดร. สถาปัตยกรรม กังสดาลแห่งความคิด , กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
ทิพย์สุดา ปทุมานนท์, รศ.ดร. จิตวิทยาสถาปัตยกรรมมนุษย์ปฏิสันถาร, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.
ทิพย์สุดา ปทุมานนท์, รศ.ดร. จิตวิทยาสถาปัตยกรรมสวัสดี, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
พรพรรณ ชินณพงษ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์. การวางผังบริเวณกับการวิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ. กรุงเทพฯ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2548.
เลอสม สถาปิตานนท์, ศาสตราจารย์. มิติสถาปัตยกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ลายเส้น, 2554.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร, ศาสตราจารย์. การจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อการออกแบบงานสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์vมหาวิทยาลัย, 2541.
สันติรักษ์ ประเสริฐสุข, ผู้ช่วยศาสตราจารย์. การสื่อและการสร้างความหมายในสถาปัตยกรรม : จากโครงสร้างนิยมถึงหลังโครงสร้างนิยม. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ฉบับที่ 3, หน้า 129-150. 2548.
อรศิริ ปาณินท์, ศาสตราจารย์. กระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต, 2540.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์ กฎหมายควบคุมอาคาร กระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม แนวความคิดในการออกแบบพิพิธภัณฑ์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ทำการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ดังนี้
2.1 การสังเกตความสนใจและการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
2.2 การพัฒนาแบบร่าง ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม และผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
คณาจารย์นำข้อมุลจากข้อ 2. รวมทั้งผลการประเมินการสอนมาวิเคราะห์และปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยคณาจารย์ผู้สอนร่วมกันพิจารณา
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา ซึ่งอาจใช้การตรวจสอบจากผลงาน ข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงแผนการสอนรายวิชา โดยใช้ผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องแนวความคิด การประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อการแก้ปัญหาที่มาจากประสบการณ์ปฏิบัติวิชาชีพหรือการวิจัยของอาจารย์