การทดสอบและปฏิบัติการแม่พิมพ์

Tools and Die Practice

ฝึกปฏิบัติการทดสอบการตัดแบบตั้งฉาก การสึกหรอและอายุการใช้งานของแม่พิมพ์ การวิเคราะห์และการวัดแรงจากการตัดแบบต่างๆ การหาเส้นโค้ง ความเค้นกับความเครียดที่เกิดขึ้นจริงบนโลหะหลายชนิด การอบชุบโลหะ กลุ่มเหล็กและการทดสอบความแข็ง สัมประสิทธิ์ความเสียดทานในงานขึ้นรูปโลหะ การขึ้นรูปโลหะด้วยวิธีการต่างๆ การขึ้นรูปพลาสติกด้วยวิธีการต่างๆ  
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในวิศวกรรมแม่พิมพ์ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านวิศวกรรมแม่พิมพ์ที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย   
ฝึกปฏิบัติการทดสอบการตัดแบบตั้งฉาก การสึกหรอและอายุการใช้งานของแม่พิมพ์ การวิเคราะห์และการวัดแรงจากการตัดแบบต่างๆ การหาเส้นโค้ง ความเค้นกับความเครียดที่เกิดขึ้นจริงบนโลหะหลายชนิด การอบชุบโลหะ กลุ่มเหล็กและการทดสอบความแข็ง สัมประสิทธิ์ความเสียดทานในงานขึ้นรูปโลหะ การขึ้นรูปโลหะด้วยวิธีการต่างๆ การขึ้นรูปพลาสติกด้วยวิธีการต่างๆ 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม  1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 
ตรวจสอบรายชื่อก่อนเข้าและหลังเลิกเรียนทุกครั้ง  ส่งรายงาน แบบฝึกหัดตามเวลาที่กำหนด
สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง  จากการขานชื่อเข้าชั้นเรียน  การส่งงานตรงเวลา   ประเมินปริมาณการทุจริตในการสอบ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี  2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
สืบค้นรายงาน ค้นคว้าเพิ่มเติม และปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม 
ประเมินจากการทดสอบย่อย   ประเมินจากการสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
สืบค้นรายงาน และค้นคว้าเพิ่มเติม
ประเมินจากรายงานและการนำเสนอผลงาน และงานที่มอบหมาย
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ   4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
มอบหมายงานให้ปฏิบัติเป็นกลุ่ม ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล
ประเมินผลจากการทำกิจกรรมกลุ่มและสังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
 5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์   5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ให้คำนวณและออกแบบเขียนแบบงานและเครื่องมือจริง
สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านการค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงาน
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ   6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
ฝึกใช้เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ เครื่องมือในการผลิตงานจริง
การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน  มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 3 4 5 1 2 3 5 1 2 4 5 4 3 2 5 1 2
1 ENGTD118 การทดสอบและปฏิบัติการแม่พิมพ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.2, 1.1.3, 2.1.1, 2.1.4, 3.1.3 สอบกลางภาค และสอบปลายภาค 9 และ 17 15% และ 15%
2 1.2.1, 1.1.3, 2.1.4, 3.1.3, 4.1.4 ,6.1.2 ผลงานตามมอบหมาย และการนำเสนอผลการทดสอบปฏิบัติงาน ทำรูปเล่ม สรุปผล ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 1.1.2, 4.1.4, 6.2.2 การเข้าชั้นเรียน กิจนิสัย ความตั้งใจ การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. Lange, K.: Handbook of Metal Forming, McGraw-Hill Book Company (1985), Part Three Chapter 19. 
 2. Schuler: Metal forming handbook, Springer Berlin (1998), Chapter 4.8, Page 366-373.  
3. วรุณี เปรมานนท์ และอรจีรา เดี่ยววาณิชย์, งานขึ้นรูปโลหะ เล่มที่ 2 วัสดุทำแม่พิมพ์และชิ้นงาน, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2551  
4. เกษม  เลิศรัตน์ และ มัทสึโอะ  มิยากาวา, การทำแม่พิมพ์อัดโลหะ, สำนักพิมพ์ ดวงกมล, 2527 
5. ชาญชัย ทรัพยากร และคณะ, การออกแบบแม่พิมพ์, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), พิมพ์ครั้งที่ 23, 2551  
6. เจริญ นาคะสวรรค์. 2545. เทคโนโลยีเบื้องต้นทางพลาสติก. สำนักพิมพ์โฟร์เพช. กรุงเทพฯ. หน้า 196-199.  
7.  Timings, R. L. Engineering Materials Volume1, 7 th Edition, Longman Scientific & Technical, Malaysia, 1994.    8.  ASTM D638-10. 2010. Standard Test Method for Tensile Properties of  Plastics.    9.  ASTM D 790-07. 2007. Standard Test Methods for Flexural Properties of Unreinforced and Reinforced Plastics and Electrical Insulating Materials. 
10. ASTM D 2240-05. 2005. Standard Test Method for Rubber Property-Durometer Hardness.
www.google.com
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้   การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้  2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน  2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา  2.2.1 คะแนนภาควิชาการ  2.2.2 คะแนนภาคผลงาน  2.2.3 คะแนนจิตพิสัย  2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้  3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้  4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาฯ ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ