จิตรกรรมหุ่นนิ่ง

Still Life Painting

1. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์สำหรับงานจิตรกรรมสีน้ำมันเบื้องต้น
2. มีความเข้าใจวิธีการเขียนภาพหุ่นนิ่งด้วยเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำมันเบื้องต้น
3. มีความรู้เรื่องเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำมันจากต้นแบบหุ่นนิ่งของจริง
4. มีความรู้เรื่องเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำมันหุ่นนิ่งจากภาพถ่าย
5. มีความรู้เรื่องเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำมันหุ่นนิ่งจากภาพจิตรกรรม
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการใช้ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเขียนภาพด้วยเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำมันเบื้องต้น เพื่อนำมาสร้างสรรค์งานจิตรกรรมสีน้ำมันจากต้นแบบหุ่นนิ่งของจริง หรือภาพถ่าย และภาพจิตรกรรม โดยเน้นทักษะฝีมือรูปแบบเหมือนจริง
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการใช้ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเขียนภาพด้วยเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำมันเบื้องต้น จากต้นแบบหุ่นนิ่งของจริง หรือภาพถ่าย และภาพจิตรกรรม โดยเน้นทักษะฝีมือรูปแบบเหมือนจริง
5 ชั่วโมง
(1) ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
(2) มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม  สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา  สอนให้มีระเบียบวินัย  ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา  ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และ ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
(1) รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตรอื่นที่เกี่ยวข้อง
(2)มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
(3)มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา        
          ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา
ในด้านต่าง ๆ คือ
                    (1)   ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
                    (2)   ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
 
(1) สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
(2) มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
ใช้การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล   การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน  การปฏิบัติงานของนักศึกษา  และการนำเสนองาน
มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม  มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม   การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น   การประสานงานกับบุคคลภายนอก   การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ 
สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ    ให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล  โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล   การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร 
ประเมินจากการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม   ประเมินจากการอธิบาย  การนำเสนอ
สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานของตน
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษา โครงงานและศิลปนิพนธ์   สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1
1 BFAVA183 จิตรกรรมหุ่นนิ่ง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 นักศึกษามีความรู้และเข้าใจวัสดุอุปกรณ์ในงานจิตรกรรมสีน้ำมัน และสามารถปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมหุ่นนิ่งจากต้นแบบของจริง ภาพถ่าย และงานจิตรกรรม โดยมีทักษะในรูปแบบเหมือนจริง มีเทคนิคการสร้างรูปทรง การจัดวางองค์ประกอบศิลป์ การใช้สี การสร้างน้ำหนักแสง-เงา การสร้างพื้นผิวได้อย่างเหมือนจริง ตลอดภาคการศึกษา 60%
2 นักศึกษาเข้าใจและสามารถปฎิบัติตามหลักการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมในรูปแบบเหมือนจริงได้อย่างสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของผลงาน และขนาดผลงานไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในแต่ละสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 มีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีความรับผิดชอบส่งงานครบ การเข้าชั้นเรียน จิตพิสัย การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
www.fineart-magazine.com
National Gallery of Art (nga.gov)
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมการสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และสอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาเมื่อเสร็จสิ้นในเนื้อหานั้น
-จัดประชุมคณะอาจารย์  ระดมความคิดเห็นเมื่อสิ้นสุดภาคเรียน
สรุปผลการประเมินการสอนจากนักศึกษา -ประชุมคณะอาจารย์แจ้งผลการประเมิน    แสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการสอน -จัดประชุม สัมมนาคณะอาจารย์เพื่อพัฒนาเทคนิคใหม่เกี่ยวกับการสอน
มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ โดยสอบถามนักศึกษา และสังเกตความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาการของผลงานนักศึกษา มีคณะกรรมการวิชาการประจำสาขาวิชา และคณะกรรมการพิจารณาผลงาน ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา และการให้คะแนนพฤติกรรม  
นำผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็น    คะแนนสอบของนักศึกษา   การประชุมสัมมนานำมาสรุปผล และพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคเรียนต่อไป