การวิจัยทางธุรกิจและสถิติ

Business Research and Statistics

 1.1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการดำเนินการวิจัยทางธุรกิจ 
 1.2 เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ ในการปฏิบัติการวิจัยเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การเสนอโครงการ การกำหนดวัตถุประสงค์ การตั้งสมมติฐานการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย
1.3 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับสถิติสำหรับการวิจัย
 1.4 เพื่อให้นักศึกษาเลือกใช้สถิติสำหรับการทดสอบสมติฐาน
 1.5 เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
2.1    เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำวิจัยทางธุรกิจ
  2.2  เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชี
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ ที่มาและการเตรียมการวิจัย การดำเนินงานวิจัย การเขียนโครงการและรายงาน การวิจัยซึ่งจะนำมาประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจเพื่อพัฒนาแก้ปัญหาชุมชนและสังคม โดยฝึกปฏิบัติงานวิจัยในพื้นที่จริง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติสำหรับการวิจัย การเลือกใช้สถิติสำหรับการทดสอบสมมติฐาน
 
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 4 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
 1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ            
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฎิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม
1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม

       

 
 
1)  ใช้การสอนแบบบรรยาย โดยมีการสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณนักวิจัย
2)  สอนโดยเป็นต้นแบบที่ดี เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่นักศึกษาในเรื่องการแต่งกาย การตรงต่อเวลา
3)  มีการกำหนดกติกาในการเรียน การปฏิบัติตนขณะที่เรียน ในเรื่องการแต่งกาย การตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ การปฏิบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัย มารยาทในห้องเรียน
4)  กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นการมีส่วนร่วมและการแสดงความคิดเห็น
  
 
 
 
  
 
         
1)  ประเมินผลจากเข้าห้องเรียนตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบมหาวิทยาลัย
2)   สังเกตุจากพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและการเข้าร่วมกิจกรรม มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3) ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
4) ประเมินจากงานที่มอบหมายถึงการอ้างแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในงานวิจัย
 
2.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
2.2 มีความรู้และความเข้าใจองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
1) โดยจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Team และ Rmutl Education สอนแบบบูรณาการการเรียนการสอนกับการวิจัย/การบริการวิชาการและทำนุบำรุง  ศิลปวัฒนธรรม  โดยแบ่งกลุ่มนักศึกษา และให้นักศึกษาหาประเด็นงานวิจัยที่สนใจ หรือ ลงพื้นที่เพื่อหาโจทย์วิจัยจากชุมชน 
2)  ใช้การสอนแบบบรรยาย ใช้PowerPoint ที่น่าสนใจ ชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ
    ประกอบการสอนในชั้นเรียน มีการยกตัวอย่างงานวิจัยที่น่าสนใจ
3)  เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น สอบถามในประเด็นที่ไม่เข้าใจ
1)  สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
2)  งานที่ได้รับมอบหมาย
3)  ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย การค้นคว้า
4) การนำเสนองานในชั้นเรียน
3.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุ และวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
1) สอนโดยการบรรยายทฤษฎีและรูปแบบปัญหา ซึ่งเมื่อได้โจทย์วิจัย นักศึกษาจะต้องมีการทบทวน
วรรณกรรม โดยการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ แล้วนำมาสังเคราะห์
2) ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มทำการนำเสนอปัญหาที่สนใจ  เพื่อให้นักศึกษาในชั้นเรียนร่วมกันวิเคราะห์โจทย์ ถึงความเป็นไปได้ในการทำวิจัยภายใต้เงื่อนไขของเวลา ศักยภาพและทุนวิจัย
 3) ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ให้นักศึกษาได้นำความรู้สถิติมาวิเคราะห์ข้อมูล
       1) ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2) ประเมินจากการสอบ โดยออกข้อสอบที่นักศึกษาแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา
3) ประเมินจากการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา
4.1 สามารถปฎิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.4 มีความรับผิดชอบพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1)  สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ตามกำหนด  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามยอมฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
2)  สามารถปฎิบัติงานร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน/กลุ่มได้
 3)  สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1)  มอบหมายงานกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้
2)  มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่น ทั้งภายในและภายนอก
มหาวิทยาลัย
3) พฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองานในชั้นเรียน
5.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อการติดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟ้งที่แตกต่างกัน         
5.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสนเทศ
1)  ใช้PowerPoint ที่น่าสนใจ ชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ ประกอบการสอนในชั้น เรียน
                   2) นักศึกษาจะต้องมี โดยการสืบค้นข้อมูลไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย บทความ จากแหล่งต่างๆ แล้วนำมา
              สังเคราะห์
         3)  การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอในรูปของการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รายงานวิจัย  โปสเตอร์และ
               สื่อวีดีทัศน์
1)  ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
2)  ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
3)  ประเมินจากโปสเตอร์และสื่อวีดีทัศน์
4)  สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข 1 คุณธรรมจริยธรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4
1 BACAC151 การวิจัยทางธุรกิจและสถิติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2/2.1/2.2/2.3/3.1/3.2/5.1 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 9 18 50%
2 1.1/1.4/2.1/2.2/2.3/2.4/3.1/3.2/3.3 4.1/4.2/4.3/4.4 5.1/5.2/5.3 การนำเสนองานในชั้นเรียน ประเมินจากข้อเสนอโครงการวิจัย โปสเตอร์และสื่อวีดีทัศน์ 1-18 40%
3 1.2/1.3/1.4 พฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน เกี่ยวกับ การแต่งกายที่ถูกตามข้อตกลง การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ ความมีน้ำใจ การไม่กระทำทุจริตในการสอบ ทุกสัปดาห์ 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชา Business Research and Statistics  เรียบเรียงโดย ผศ.เสรฐสุดา ปรีชานนท์ 
1.สาขาศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช .(2554).  ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา  พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
2.สิน  พันธุ์พินิจ  .(2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์  พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
3.ยุทธ  ไกยวรรณ์ , กุสุมา  ผลาพรม  .(2553).  พื้นฐานการวิจัย  พิมพ์ครั้งที่ที่ 5  กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริม
4.สุภางค์  จันทวานิช  .(2554).  วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ  พิมพ์ครั้งที่ที่ 19  กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์
5.กัลยา วานิชย์บัญชา. หลักสถิติ.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2540 .
     6.   ชัชวาลย์  เรืองประพันธ์.  สถิติพื้นฐาน.  ขอนแก่น : โรงพิมพ์พระธรรมขันต์ , 2541.
     7. พันทิพา สุนทราชุน. สถิติธุรกิจ. กรุงเทพฯ :  หจก.กิ่งจันทร์การพิมพ์ , 2529 .
     8. มัลลิกา บุนนาคและคณะ. สถิติ. กรุงเทพฯ :  โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2532 .
     9. สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. เอกสารการสอนชุดสถิติเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ(ฉบับปรับปรุง).
          กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช , 2542
 http://www.arit.dusit.ac.th/
เว็บไซต์สำนักหอสมุดของสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานต่างๆ ที่มีผลงานวิจัย
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
           1.2 แบบประเมินผู้สอน
2.1 ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยในระบบออนไลน์
     2.2 ผลการเรียนนักศึกษา
3.1  นำสรุปประเมินการสอนโดยนักศึกษาในระบบออนไลน์มาเพื่อปรับปรุงการสอนในภาคเรียนถัดไป
     3.2  นำผลการเรียนนักศึกษามาปรับปรุงการสอน
4.1 ให้กรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ เป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบ และ การตัดเกรด
          4.2 ในระหว่างการสอนมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อได้จากการสอบถามนักศึกษา
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ เป็นผู้นำเสนอข้อสอบ และ การตัดเกรด  ก่อนที่จะมีการสอบและการประกาศผล นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2  ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน  วิธีการประเมิน  และ เนื้อหารายวิชา