ระบบเชิงกลสำหรับวิศวกรรมเกษตร

Mechanical System for Agricultural Engineering

 
เพื่อให้นักศึกษา ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการทำงานและสมรรถนะของ ต้นกำลังในระบบเกษตร เครื่องยนต์สันดาปภายใน เครื่องจักรกลของไหลระบบปรับอากาศระบบความเย็นระบบท่อ การจัดการต้นกำลังและเครื่องจักรกลเกษตร
เพื่อพัฒนารายวิชาให้เหมาะสมกับช่วงเวลาทันสมัยตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปค่อนข้างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทั้งพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัยครบทุกส่วน

 
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการทำงานและสมรรถนะของ ต้นกำลังในระบบเกษตร เครื่องยนต์สันดาปภายใน เครื่องจักรกลของไหลระบบปรับอากาศระบบความเย็นระบบท่อ การจัดการต้นกำลังและเครื่องจักรกลเกษตร
นักศึกษาสามารถเข้าพบหรือติดต่อขอคำปรึกษาทางด้านวิชาการได้ตามเวลาที่แจ้งในชั้นเรียน และอาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการคำปรึกษา)
ผลการเรียนรู้ เข้าใจและซาบซื้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้และผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคราพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจาการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
กำหนดให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื้อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น และสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ และการประหยัดพลังงานในห้องเรียน โดยกำหนดบทบาทและมอบหมายหน้าที่ให้รับผิดชอบเป็นครั้ง ๆ ไป โดยบอกพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และมีการให้ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรทางวิชาชีพของวิศวกร และผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์การประเมินผล ประเมินจากพฤติกรรมของนักศึกษา เช่น ความตั้งใจเรียน การเข้าชั้นเรียน การทำงานกลุ่ม การสั่งงาน ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของงานที่มอบหมาย
ผลการเรียนรู้ มีความรู้และเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และ การสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตน เพื่อนำไปประยุกต์แก้ไขปัญหา และสามารถปฏิบัติงานได้จริง
การบรรยายประกอบสื่อ ลงมือปฏิบัติจริง และการใช้สื่อวีดีทัศน์ การมอบหมายงานเป็นรายบุคคล และการมอบหมายงานเป็นกลุ่ม

สรุปงานที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงส่งท้ายชั่วโมง
ประเมินจากใบงานที่มอบหมาย โดยพิจารณาจากความครบถ้วนและถูกต้อง ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ทักษะการทำงาน
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินในในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
มอบหมายงานให้สืบค้นข้อมูลที่ทันสมัยและนำเสนอ ทำการสาธิตในเบื้องต้น การกำหนดงานและให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน การกล่าวถึงทฤษฏี การยกตัวอย่างการทำงานจริงเพื่อเปรียบเทียบและให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมและถ่ายทอดให้กับเพื่อนนักศึกษา
ประเมินผลจากผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของนักศึกษา และจากเขียนสรุปใบงานที่มอบหมาย
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณืเชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผุ้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสามกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบ ด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
การมอบหมายงานโดยแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่ม ๆ โดยแต่ละกลุ่มจะจัดสรรหน้าที่รับผิดชอบในกลุ่มเอง โดยที่ผู้สอนจะควบคุมดูและ และให้คำแนะนำ รวมไปถึงการให้นักศึกษานำเสนองานและส่วนงานตามรายละเอียดที่กำหนด
ประเมินจากพฤติกรรมและผลงานของแต่ละกลุ่ม สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
 

มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้

 
มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูล การวัด การวิเคราะห์/จัดการกับตัวเลข และการสรุป เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ประเมินผลสัมฤทธิ์จากงานที่ได้รับมอบหมาย
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
สาธิตและลงมือปฏิบัติจริง การมอบหมายงานเป็นรายบุคคล และการมอบหมายงานเป็นกลุ่ม สรุปงานที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินผลสัมฤทธิ์จากงานที่ได้รับมอบหมายและสังเกตุพฤติกรรมที่แสดงออกในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGAG203 ระบบเชิงกลสำหรับวิศวกรรมเกษตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทุกหน่วย สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 25% 35%
2 ทุกหน่วย ค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน/สรุปใบงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10% 10% 10% 10
3 ทุกหน่วย ประเมินจากการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของนักศึกษา เช่น การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย การทำงานกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 10
1.1. วินิต ชินสุวรรณ. 2530. เครื่องจักกลเกษตรและการจัดการเบื้องต้น. ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
1.2. เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชา Power and Agricultural Machinery Managementรศ. ภรต กุญชร ณ อยุธยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
1.3. Engineering Principles of Agricultural Machines Third Edition Ajit K. Srivastava Carroll E. Goering and Roger P. Rohrbach
1.4.Tractors and Their Power Units (Barger, E.L.) แก้ไข
Standards 1987 American Society of Agricultural Engineers
เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับหัวข้อที่สอนในรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายและ
มหาวิทยาลัยจัดให้นักศึกษามีโอกาสประเมินการสอนของอาจารย์ทุกท่านในทุกรายวิชาที่เปิดสอน
กำหนดให้มีการประเมินเพื่อรับรองผลการเรียนของนักศึกษาในแต่ละรายวิชาโดยคณาจารย์ในหลักสูตร และคณะกรรมการประจำคณะตามลำดับ
มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการทำงานให้แก่คณาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นประจำทุกปี
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ