กระบวนการคิดและการใช้นวัตกรรมเพื่อชีวิตมีสุข

Thinking and Innovative Using for Well-being

1.แสดงความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและคิดในเชิงวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจได้อย่างเป็นระบบ 2.ประเมินสถานการณ์และวิเคราะห์ปัญหา กระบวนการคิด ได้อย่างสร้างสรรค์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อการปรับตัวในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 3.ประยุกต์ใช้เทคนิคการคิด แนวทางการคิด วิธีการแก้ไขปัญหาทางความคิดอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
1.เข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี เทคนิคและกระบวนการพัฒนาการคิดแบบมีเหตุผล ที่ส่งเสริมความคิดโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นกรณีศึกษา 2.สามารถคิดอย่างเป็นระบบในการจัดลำดับงาน โดยฝึกทักษะการคิดและนวัตกรรม การจัดการทางความคิดและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม 3.มีเจตคติ และกิจนิสัยที่ดีในการดำเนินชีวิตและสามารถทำงานร่วมก้บผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ศึกษาเกี่ยวกับ ทฤษฎี เทคนิค กระบวนการคิดและการพัฒนาการคิด และฝึกทักษะการคิด วิธีการแก้ไขปัญหาทางความคิด เพื่อขจัดปัญหาทางความคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างนวัตกรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต สามาถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข
ให้คำปรึกษาและแนะนำตามความต้องการของนักศึกษาเป็นรายกรณีและชั่วโมงว่างของอาจารย์ผู้สอน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
ศรีสุรางค์ ทีนะกุล สมจิต รัตนอุดมโชติ ทรงศักดิ์ นิธิปรีชา สมศักดิ์ เทศสวัสดิ์ และเวชชัย สังข์สาย.   (2542). การคิดและการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร : บริษัทเธิว์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซสมีเดีย. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซสมีเดีย.
ทิพย์วัลย์ สีจันทร์. (2546). ความคิดสร้างสรรค์ การตัดสินใจ ความคิดและการคิด. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.มณฑลี ศาสนนันทน์, การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี. พิมพ์ครั้งที่1. กทม. สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์, 2552. หน้า 1-120.  
ทรงสิริ วิชิรานนท์,โรจน์รวี พจน์พัฒนพล,สุทธิพร บุญส่ง,สุวิมล จุลวานิช และอนุรีย์ แก้วแววน้อย. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, 2550.
การประเมินผลรายวิชานี้จัดทำโดยนักศึกษา :       
1.1 นักศึกษาเป็นผู้ประเมินผลผู้สอน และรายวิชานี้ทางเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัย      
1.2 นักศึกษาเป็นผู้ประเมินความพึงพอใจในรายวิชานี้ในตอนท้ายของการเรียนการสอนปลายภาคเรียน      
1.3 นักศึกษาเป็นผู้ประเมินความพึงพอใจในกิจกรรมต่างๆที่จัดให้        
1.4 นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอน      
1.5 นักศึกษาเป็นผู้ประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ/กิจกรรเสริม
2.1 สังเกตพฤติกรรมความสนใจต่อการเรียนของนักศึกษา  (การซักถาม การร่วมอภิปราย การแสดงความคิดเห็น)
2.2 จากกิจกรรมกลุ่มย่อยในชั้นเรียน   นอกชั้นเรียน  แบบฝึกหัด  งานมอบหมายในชั่วโมง
2.3 จากการสังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม   การมีจิตอาสา   ความรับผิดชอบ  ตรงต่อเวลา
3.1  ปรับปรุงเอกสาร ตำราที่ใช้ในการเรียนทุกปีการศึกษาเพื่อแก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
3.2 ให้นักศึกษานำเสนอสิ่งที่ต้องการให้เพิ่มเติมในวิชานี้
3.3 นำผลการประเมินที่ได้จากนักศึกษามาปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น
3.4 ทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อช่วยแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆที่มีผลกระทบต่อผู้เรียน
4.1 สังเกตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งด้านการเรียน การมีวินัย การเข้าเรียนและการส่งงานตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย       
4.2 สังเกตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอื่นๆ ตามที่ได้เรียนไป ได้แก่ การแต่งกาย บุคลิกภาพ การปรับตัว,  พฤติกรรมด้านจริยธรรม ฯลฯ
4.3. คะแนนกิจกรรมและงานมอบหมาย
4.4  การปรับปรุงพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และวิธีการนำเสนอตามที่ได้รับการแนะนำ 
5.1 มีการปรับปรุงเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ ให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์
5.2 เชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้ในเรื่องต่างๆตามที่นักศึกษาสนใจ
5.3 ปรับปรุงกิจกรรมต่างๆให้มีข้อบกพร่องน้อยลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5.4 พัฒนากิจกรรม/โครงการใหม่ๆที่ให้ประโยชน์แก่นักศึกษามาเป็นทางเลือกให้หลากหลายมากขึ้น 5.5 พัฒนาเทคนิคการสอน   สื่อเทคโนโลยีการศึกษา ให้ทันสมัย น่าสนใจ  และนักศึกษาสามารถเรียนรู้ ได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน