การวางแผนและควบคุมการผลิต

Production Planning and Control

รู้ลักษณะและข้อมูลสำหรับการวางแผนและควบคุมการผลิต รู้เทคนิคการพยากรณ์ความต้องการสินค้า รู้หลักการและเทคนิคการบริหารสินค้าคงคลังและสามารถหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด  สามารถหาต้นทุนเพื่อใช้วางแผนการผลิต รู้เทคนิคในการกำหนดและควบคุมการผลิตเชิงปริมาณ เห็นคุณค่าของการวางแผนและควบคุมการผลิต
เพื่อให้รายวิชาเป็นมาตรฐาน และไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทลักษณะของการวางแผนและควบคุมการผลิต การไหลเวียนของข้อมูลในระบบควบคุมการผลิต เทคนิคการพยากรณ์ การวางแผนกระบวนการผลิต การวิเคราะห์ต้นทุนและผลกำไรเพื่อใช้ในการตัดสินใจ การวางผนบริหารความต้องการวัสดุ การหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด การจัดตารางการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลัง การกำหนดการผลิตการควบคุมการผลิตเชิงปริมาณ การบริหารและจัดการ ห่วงโซ่อุปทานเบื้องต้น ตลอดจนการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการวางแผนและควบคุมการผลิต
1 ชั่วโมง
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดําเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่าง ราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาการวางแผนและควบคุมการผลิต ต้องพยายามสอดแทรก ตามแผนที่แสดงการการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชาการวางแผนและควบคุมการผลิต (Curriculum Mapping) กำหนดความรับผิดชอบหลักไว้ ในข้อ 1.1.1 และความรับผิดชอบรองไว้ในข้อ 1.1.2 ดังนี้ 1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและ ข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม นอกจากนั้นในการสอนรายวิชาของสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ยังได้สอดแทรกเนื้อหาที่ เกี่ยวกับจริยธรรม กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการ และจรรยาบรรณ วิศวกรในการสอนด้วย อาจารย์ผู้สอนจะต้องจัดให้มีการวัดมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งไม่ จําเป็นต้องเป็นข้อสอบ อาจจะวัดพฤติกรรมระหว่างทํากิจกรรมที่กําหนดมีการกําหนดคะแนนในเรื่อง คุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนความประพฤติของนักศึกษา
1.2.1 ให้ความสำคัญในเรื่องการตรงต่อเวลา
การส่งงานตามเวลาที่กำหนด  การแต่งกายถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทําการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น
1.2.4 ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยและสังคม การยกย่องนักศึกษาที่ทําดีทําประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
พฤติกรรมการเข้าเรียนตรงเวลาของนักศึกษา เช็คชื่อ และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามตรงเวลา 1.3.2   สังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับอย่างต่อเนื่อง 1.3.3   ปริมาณการทุจริตในการสอบ 1.3.3   ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ และความรับผิดชอบของนักศึกษา
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ในวิชาการวางแผนและควบคุมคุมการผลิตซึ่งเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้จากแผนที่แสดงการการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชาการวางแผนและควบคุมการผลิต (Curriculum Mapping) กำหนดความรับผิดชอบหลักไว้ ในข้อ 2.1.2 และความรับผิดชอบรองไว้ในข้อ 2.1.1 และ 2.1.3 2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทาง คณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางแการวางแผนและควบคุมการผลิต 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะข้อมูลการวางแผนและควบคุมการผลิต การวางแผนกำลังการผลิต การบริหารสินค้าคงคลัง การควบคุมต้นทุนการผลิตสำหรับการวางแผนความต้องการวัสดุ 2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้จากวิชาการวางแผนควบคุมการผลิตกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  
บรรยาย  ยกตัวอย่างประกอบ สาธิตการใช้งาน Minitab, Leikin, Excel Solver มอบหมายให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ มอบหมายกรณีศึกษาปัญหาสินค้าคงคลัง ทำแบบฝึกหัดการคำนวณ ,กรณีศึกษา, การนำเสนอผลงาน
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.2   ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ 2.3.3    ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบ การศึกษาเเล้ว ดังนั้น นักศึกษาจําเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการจากแผนที่แสดงการการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) กำหนดความรับผิดชอบหลัก คือ 3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการที่เกี่ยวข้องกับ ข้อมูลสำหรับการวางแผนและควบคุมการผลิต   การกำหนดการผลิตการควบคุมการผลิตเชิงปริมาณ จัดตารางการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลัง การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการวางแผนและควบคุมการผลิต ความรับผิดชอบรองคือ 3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึง การใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่าง เหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
การมอบให้นักศึกษาทำกิจกรรมกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า กรณีศึกษา และรายงานทางเอกสารและรายงาน พร้อมทั้งนำเสนอผลงาน
3.3.1  พิจารณาจากผลการนำเสนอผลงาน และผลงานกลุ่ม 3.3.2  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา 3.3.3 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ ข้อสอบกลางภาค ปลายภาค
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คน ที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่ จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจําเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้อง กับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างสอน จากแผนที่แสดงการการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) การวางแผนและควบคุมการผลิตกำหนดความรับผิดชอบหลัก คือ 2.4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทํางานตามที่มอบหมาย ทั้ง งานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทํางานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นําและผู้ตามได้อย่างมี ประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความ รับผิดชอบ ความรับผิดชอบรองคือ 2.4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้ง ส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความ ช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่ม 4.2.3   การนำเสนอรายงาน
ประเมินจากผลงาน  การอภิปราย  สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
จากแผนที่แสดงการการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) การวางแผนและควบคุมการผลิตกำหนดความรับผิดชอบหลัก คือ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนาคือ 2.5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติ ประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบรองคือ 2.5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สําหรับการทํางานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็น อย่างดี  2.5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่าง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งต่างๆ ด้วยตนเอง พร้อมทั้งรวบรวม เรียบเรียงข้อมูล เพื่อจัดทำรายงานสรุปผลเพื่อนำเสนอผลการค้นคว้า 5.2.2 การทำแบบฝึกหัด และกรณีศึกษา 5.2.2  นำเสนอผลงานโดยใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินจากผลงานที่นำเสนอ เทคนิคการนําเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทาง เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย การทํางานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลัก ทฤษฎีแต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติการใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การ ทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสําคัญมากในการทํางาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จําเป็นยิ่งในการ พัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในตําแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมอุตสาหการ ดังนั้น ในการเรียนการ สอนวิชาการวางแผนและควบคุมการผลิต จากแผนที่แสดงการการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ได้ครอบคลุมความรับผิดชอบรอง ดังนี้ 2.6.2.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความ ร่วมมือกันเป็นอย่างดี
มอบหมายกิจกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม
1 สังเกตพฤติกรรมการทำงานร่วมกัน 2 ประเมินผลจากงานที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะ์เชิบงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 2 3 4 5 1 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 4 3 5 1 2
1 ENGIE116 การวางแผนและควบคุมการผลิต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 และ 1.5 พฤติกรรมการเข้าเรียนตรงเวลาของนักศึกษา เช็คชื่อ และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามตรงเวลา สังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับอย่างต่อเนื่อง ตลอดภาคการเรียน 10%
2 2.2,2.3,2.4 สอบย่อย 15%
3 2.2-2.4,3.2-3.3 สอบกลางภาค 9 25%
4 2.2-2.4,3.2-3.3 สอบปลายภาค 18 30%
5 4.3-4.4,5.3,5.4 ผลงานที่นำเสนอ ผลการทำแบบฝึกหัด แบบทดสอบย่อย 20%
ณฐา คุปตัษเฐียร, การวางแผนและควบคุมการผลิต , 2549 บรรหาญ ลิลา, การวางแผนและควบคุมการผลิต วิชัย แหวนเพชร, การวางแผนและควบคุมการผลิต ยุทธ ไกย์วรรณ, การวางแผนและควบคุมการผลิต
ชุมพล ศฤงคารศิริ, การวางแผนและควบคุมการผลิต พิภพ ลลิตาภรณ์, การวางแผนและควบคุมการผลิต
1.1 นักศึกษาประเมินผู้สอนผ่านระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัย
อาจารย์ผู้สอน พิจารณาทบทวน 
นำผลการประเมินจากนักศึกษา ผลการเรียนรู้ของนักศึกษา กิจกรรมการเรียนการสอนมาปรับปรุงรายวิชา ใน มคอ. 3
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก พิจารณาจากพฤติกรรมการเข้าเรียน ผลการทำแบบฝึกหัด ทดสอบย่อย  ผลการทำกิจกรรมและรายงาน
นำเสนอในการปรับปรุง มคอ.3 และ 5