เคมีสำหรับวิศวกร

Chemistry for Engineers

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.      รู้และเข้าใจวิวัฒนาการของทฤษฎีอะตอมและการจัดเรียงอิเล็กตรอน
2.      รู้และเข้าใจเกี่ยวกับตารางธาตุและระบบพิริออดิก แนวโน้มของสมบัติตามตารางธาตุ
3.      รู้และเข้าใจสมบัติและประโยชน์ของธาตุเรฟพรีเซนเททีฟ และธาตุแทรนซิชัน
4.      รู้และเข้าใจประเภทของพันธะเคมีและการเกิดพันธะ ค่าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพันธะและโมเลกุล ทฤษฎีที่ใช้อธิบายพันธะโควาเลนต์พันธะโลหะ  แรงระหว่างโมเลกุล
5.    เข้าใจพื้นฐานทางปริมาณสารสัมพันธ์
6.      รู้และเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติของแก๊ส ของแข็ง และของเหลว
7.      รู้และเข้าใจประเภทของสารละลาย  หน่วยของความเข้มข้นและการเตรียมสารละลาย
8.      รู้และเข้าใจทฤษฎีจลน์ศาสตร์เคมี  ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราเร็วของปฏิกิริยา
9.      รู้และเข้าใจเรื่องภาวะสมดุล การเปลี่ยนแปลงสภาวะสมดุล และการปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่เมื่อสมดุลถูกรบกวน
10.   รู้และเข้าใจเรื่องสมดุลของไอออนในน้ำ
ศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานของทฤษฎีอะตอม โครงสร้างทางอิเล็กตรอนของอะตอม สมบัติของธาตุตามตารางพีริออดิก ธาตุเรฟพรีเซนเททีฟ ธาตุอโลหะและธาตุแทรนซิชัน พันธะเคมี ปริมาณสารสัมพันธ์ สมบัติของก๊าซ ของแข็ง ของเหลวและสารละลาย จลนศาสตร์เคมี สมดุลเคมี สมดุลไอออนในน้ำ
Study of atomic theory, electron configuration of atom, properties of elements in periodic table, representative elements, non-metal and transitional elements, chemical bonds, stoichiometry, properties of gas, solid, liquid and solution, chemical kinetics, chemical equilibrium and ion equilibrium in water.
จัดให้นิสิตพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง 
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning) 
1.2.2 การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small - Group Discussion)
1.2.3 การสอนแบบกรณีศึกษา (Case Studies)
1.2.4 การสอนแบบบรรยาย
1.3.1 การเขียนบันทึก
1.3.2 โครงการกลุ่ม 
1.3.3 การสังเกต 
1.3.4 การประเมินโดยเพื่อน
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.2.1 กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process)
2.2.2 การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving)
2.2.3 การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning) 
2.2.4 การสอนแบบการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี (Technology - Related Instruction)
2.2.5 การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มใหญ่ (Whole - Class Discussion)
2.2.6 การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small - Group Discussion)
2.2.7 การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  (Participatory Learning)
2.2.8 การสอนแบบบรรยาย  
2.3.1 โครงการกลุ่ม
2.3.2 การสังเกต
2.3.3 ข้อสอบอัตนัย
2.3.4 ข้อสอบปรนัย
3.1.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
3.2.1 กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process)
3.2.2 การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving)
3.2.3 การสอนแบบการตั้งคำถาม (Questioning) 
3.2.4 การสอนแบบการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี (Technology - Related Instruction)
3.2.5 การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มใหญ่ (Whole - Class Discussion)
3.2.6 การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small - Group Discussion)
3.2.7 การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  (Participatory Learning)
3.2.8 การสอนแบบบรรยาย  
3.3.1 การสังเกต
3.3.2 การนำเสนองาน
3.3.3 ข้อสอบอัตนัย
3.3.4 ข้อสอบปรนัย
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มใหญ่ (Whole - Class Discussion)
4.2.2 การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small - Group Discussion)
4.2.3 การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย
4.3.1 การสังเกต
4.3.2 การนำเสนองาน
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1 การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล
5.2.2 การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศการนำเสนองานด้วยวิธีโปสเตอร์ และวาจา
5.1.1 การสังเกต
5.1.2 การนำเสนองาน
6.1.1 สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง
6.1.2 สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
6.1.3 สามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ
6.2.1 โครงงาน
6.3.1 โครงการกลุ่ม
6.3.2 การนำเสนองาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 4 3 1 2 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 FUNSC201 เคมีสำหรับวิศวกร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-1.2,2.1-2.2,3.1-3.2,7.1-7.3,8.1-8.2 การทดสอบย่อย (Quiz) 4 ครั้ง 4, 7, 12, 15 5%
2 1.2,1.3,2.1,2.4,3.1,3.2 แบบฝึกหัดประจำบท 1-15 10%
3 1-9 งานมอบหมาย 15 5%
4 4.1-4.2, 5.1-5.4 การสอบกลางภาค 8 35%
5 6.1-6.4, 9.1-9.3 การสอบปลายภาค 17 35%
6 1-9 การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม 1-15 2%
7 1-9 การประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ 1-15 2%
8 1-9 การประเมินตนเองของนักศึกษา พฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบ 1-15 2%
9 1-9 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม โดยนักศึกษาสมาชิกกลุ่ม 1-15 2%
10 1-9 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียน โดยนักศึกษาอื่นๆในรายวิชา 1-15 2%
FUNSC201 เอกสารประกอบการสอน วิชา เคมีสำหรับวิศวกร  เรียบเรียงโดย คณาจารย์เคมี สาขาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่พิมพ์ ครั้งที่ 1 ปี 2562
1.     กฤษณา  ชุติมา.  หลักเคมีทั่วไป เล่ม 2.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2532.
2.        กฤษณา  ชุติมา. หลักเคมีทั่วไป เล่ม 2.  พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
             มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2536.
3.        กฤษณา  ชุติมา.  หลักเคมีทั่วไป เล่ม 2.  พิมพ์ครั้งที่ 11.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
             จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.
4.        ชัยวัฒน์  เจนวาณิชย์.  หลักเคมี 1 ฉบับปรับปรุง.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ :
             โอเดียนสโตร์, 2533.
5.        ชัยวัฒน์  เจนวาณิชย์.  หลักเคมี 2 ฉบับปรับปรุง.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ :
             โอเดียนสโตร์, 2530.
6.        รานี  สุวรรณพฤกษ์, เคมีทั่วไป1 สำหรับสาขาวิศวกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ :  บริษัทพิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด, 2553.
7.        รานี  สุวรรณพฤกษ์, เคมีทั่วไป2 สำหรับสาขาวิศวกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด, 2554.
8.       อภิสิฏฐ์ศงสะเสน, เคมีทั่วไปสำหรับวิศวกร  เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : บริษัททริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด, 2554.
9.       อภิสิฏฐ์ศงสะเสน, เคมีทั่วไปสำหรับวิศวกร  เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : บริษัททริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด, 2555.
1.        Zumdahl, S.Z. Chemistry. 2nd ed. Lexington: Health & Co,1989.
2.        Brady,J.E.,Humiston,G.E.  General chemistry.Second edition.USA : John Wiley & sons,   Inc., 1978.
3.        Brown,T. L.  General chemistry.Second edition.Ohio : Charles E. Merrill  publishing  company, 1968.
 4.       Brown,W.H.  General, organic and biochemistry.Second printing.  Boston,  Massachusetts : Willard Grant Press Statler office Building, 1980.
5.        Davis,R.E.,Gailey,K.D,Whitten,K.W.  Principles of chemistry.USA : CBS College Publishing, 1984.
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยภาควิชา จากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
แผนกวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา  มีการประชุมอาจารย์ในแผนกวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข เช่น นำระบบ Google form ใช้ในการเก็บข้อมูลงานมอบหมายของนักศึกษา รวมถึงแบบฝึกหัดประจำบท นำงานวิจัยเรื่องการจัดเรียงอิเล็กตรอนของ อ.กิตติชัย จินะไชย และทีมวิจัยมาเป็นสื่อการเรียนการสอนในเรื่องโครงสร้างอะตอม เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าใจหลักการจัดเรียงของอิเล็กตรอนในอะตอมได้ง่ายขึ้น และการพัฒนาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องสมดุลเคมี ของ อ.สมัชญ์  ทวีเกษมสมบัติ และทีมวิจัย มาเป็นสื่อการเรียนการสอนเรื่องสมดุลเคมี เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้นและได้เห็นตัวอย่างการทดลองที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา  โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของกลุ่มวิชาภายในรอบเวลาหลักสูตร
กลุ่มวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของแผนกวิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้ากลุ่มวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป