การวิเคราะห์และออกแบบระบบ

System Analysis and Design

มีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาระบบงานสารสนเทศ  เข้าใจหลักการ การวิเคราะห์ความต้องการของงานธุรกิจในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ มีทักษะในการวิเคราะห์ความต้องการของงานธุรกิจ และสามารถออกแบบระบบงานสารสนเทศ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ซึ่งใช้ระเบียบวิธี (Methodology) วิธีการ (Method) และเครื่องมือ (Tool) ที่เป็นมาตรฐานและทันสมัย
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการออกแบบระบบสารสนเทศให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีปัจจุบัน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการใช้ชีวิตต่อไป
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความหมายของระบบ ภาพรวมและประเภทของระบบ วงจรการพัฒนาระบบ การกำหนดปัญหาและการศึกษาความเป็นไปได้ การรวบรวมความต้องการ แบบจำลองกระบวนการ การออกแบบ การนำไปใช้และการบำรุงรักษา การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุโดยใช้ภาษายูเอ็มแอล ยูสเคสไดอะแกรม คลาสไดอะแกรม สเตทและแอคติวิตีไดอะแกรม แพคเกจไดอะแกรม ฝึกปฏิบัติการตามวงจรการพัฒนาระบบ โปรแกรมและเครื่องมือช่วยของวงจรการพัฒนาระบบที่เหมาะสม
Study and practice about definition of systems, types of systems, system development life cycle, problem analysis and feasibility study, collection of system requirements, process modeling, system design, implementation and maintenance, Object-Oriented Analysis and Design with UML use case diagrams, class diagrams, state and activity diagrams, and package diagrams. Practice in system development life cycle, using appropriate tools and software
3.1 อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านป้ายประกาศและเว็บไซต์ Facebook หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ 3.2  อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษารูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams 3.3  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหลังเลิกเรียนทุกวันพุธ เวลา 15.00 น. ถึง 17.00 น.
พัฒนาผู้เรียนให้มีสามารถทำงานเป็นทีม เข้าใจลำดับความสำคัญของงาน สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อองค์กรธุรกิจ มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ความรับผิดชอบ มีวินัย เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูลองค์กร การไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาในประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และออกแบบระบบ เช่น การออกแบบการควบคุมระบบที่ถูกต้องตามหลักวิชา การประเมินราคาที่คำนึงถึงความคุ้มค่าและประโยชน์ที่องค์กรได้รับ กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยฝึกปฏิบัติกับธุรกิจจริงในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ อภิปรายกลุ่ม
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา พฤติกรรมระหว่างการทำงานกลุ่ม การนำเสนอและอภิปราย โดยผู้สอนอาจซักถามประเด็นด้านจริยธรรม ประเมินผลการวิเคราะห์และออกแบบกรณีศึกษา
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ สามารถวิเคราะห์ปัญหาในธุรกิจ ประเมินความเป็นไปได้สำหรับแนวทางและทางเลือกในการแก้ปัญหา สามารถกำหนดความต้องการระบบสารสนเทศโดยนำเสนอเทคโนโลยีที่เหมาะสม ใช้เทคนิคในการวิเคราะห์และออกแบบที่เหมาะสม มีทักษะในการใช้เครื่องมือสร้างแบบจำลองในการวิเคราะห์และออกแบบ สามารถเขียนเอกสารทางเทคนิคเพื่อแสดงผลการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
บรรยาย ให้กรณีศึกษา กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยฝึกปฏิบัติกับธุรกิจจริงในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ให้นักศึกษาใช้เครื่องมือในการทำรายงานและการนำเสนอ
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบ นำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา
มีวิจารณญาณในการวิเคราะห์ปัญหาในธุรกิจอย่างเป็นระบบ สามารถใช้เทคนิคในการสืบค้นเก็บรวบรวมข้อมูลและความต้องการระบบของหน่วยงาน เพื่อนำมาวิเคราะห์และออกแบบระบบที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของธุรกิจ
บรรยาย ให้กรณีศึกษา กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยฝึกปฏิบัติกับธุรกิจจริงในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
นำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา และ การอภิปรายกลุ่ม
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนในองค์กรธุรกิจในการเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยฝึกปฏิบัติกับธุรกิจจริงในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
นำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา และตอบข้อซักถามของอาจารย์
สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยฝึกปฏิบัติกับธุรกิจจริงในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ที่ต้องไปเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์บุคลากรในงานธุรกิจ และนำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา จัดส่งรายงานทางเทคนิค
นำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา และตอบข้อซักถามของอาจารย์ ตรวจรายงานทางเทคนิค
สามารถสร้างแบบจำลองระบบ และแบบจำลองข้อมูลในการออกแบบระบบให้สอดคล้องกับความต้องการของระบบอย่างเหมาะสม
กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยฝึกปฏิบัติกับธุรกิจจริงในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ที่ต้องไปเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์บุคลากรในงานธุรกิจ และนำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา จัดส่งรายงานทางเทคนิค
นำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา และตอบข้อซักถามของอาจารย์ ตรวจรายงานทางเทคนิค
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม 3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับ ความสำคัญ 4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม 7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ\เละทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญูหา 3.สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด 4. สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ 5. รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง 6. มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ 7. มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง 8. สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1. คิดอย่างมีวิจารณญาณและอยากเป็นระบบ 2. สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 4. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม 1. สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 2. สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก่ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน 3. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 4. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม 5. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม 6. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องคุณสมบัติต่างๆ นี้สามารถวัดระหว่างการทำกิจกรรรมร่วมกัน 1. มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2. สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ 3. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอ อย่าง เหมาะสม 4. สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะสม
1 BSCCT303 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3,1.4, 1.5,1.6, 1.7, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.5, 2.6, 2.7, 2.8, 3.1, 3.2, 3.3, 3.4, 4.2, 4.4, 4.5, 4.6, 5.1, 5.3, 5.4 ตรวจสอบผลงานจากกรณีศึกษาที่มอบหมายในแต่ละครั้ง 1-4 10%
2 1.1, 1.2, 1.3,1.4, 1.5,1.6, 1.7, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.5, 2.6, 2.7, 2.8, 3.1, 3.2, 3.3, 3.4, 4.2, 4.4, 4.5, 4.6, 5.1, 5.3, 5.4 ตรวจสอบผลงานจาก workshop ที่ 1,2 6-7 5%
3 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.5, 2.6, 2.7, 2.8, 3.1, 3.2, 3.3, 3.4 สอบกลางภาค 7 30%
4 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.5, 2.6, 2.7, 2.8, 3.1, 3.2, 3.3, 3.4, 4.2, 4.4, 4.5, 4.6 นำเสนอผลงานด้วยวาจารายงานทางเทคนิค และแสดงต้นแบบซอฟต์แวร์ของระบบ - System Specification (E-RD, Use-Case, DFD, Class, Sequence ) - Prototype Software 15-16 20%
5 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 2.5, 2.6, 2.7, 2.8, 3.1, 3.2, 3.3, 3.4 สอบปลายภาค 17 35%
- กิตติ  ภักดีวัฒนะกุล และพนิดา  พานิชกุล, การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analysis and Design) พิมพ์ครั้งที่ 7, เคทีพีบุค:กรุงเทพฯ, 2551. - คนึงนุช สารอินจักร์,การวิเคราะห์และออกแบบระบบ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ลำปาง , 2561.
John W. Satzinger, Robert B. Jackson, and Stephen D. Bued. Systems Analysis and Design in a Changing World, Thomson Learning, 2004 Alan Dennis, Barbara Haley Wixon. Systems Analysis and Design, John Wiley & Sons, Inc. 2003 Gary B. Shelly, Thomas J. Cashman and Harry J. Rosenblott. Systems Analysis and Design Thomson Learning, 2001 K.E. Kendall and J.E. Kendall. Systems Analysis and Design (sixth edition), Prentice-Hall, 2005
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การสะท้อนคิด จากพฤติกรรมของผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ผลการสอบ การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ การประเมินโดยคณะกรรมการประเมินข้อสอบ
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบรายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
ปรับปรุงรายวิชาทุกปี ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4