ทักษะทางวิชาชีพและเทคโนโลยี

Professional skill and Technology

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ และการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมสเปรดชีตในการสร้างสูตรการคำนวณ และเพื่อสร้างสมุดบันทึกรายการขั้นต้น การผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท การปรับแก้ข้อมูล การจัดทํารายงานทางการเงิน การใช้คำสั่งในการสรุปผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ และการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการพิมพ์สัมผัสทั้ภาษาไทยและภาษอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์ การพิมพ์รายงาน การพิมพ์จดหมายธุรกิจแบบต่างๆ และหนังสือราชการโดยใช้โปรแกรมเวิร์ดโพสเซสเซอร์
3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูลขั้นพื้นฐาน
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้เครื่องคำนวณ และรวมถึงทักษะอื่น ๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพได้ 
 
เพื่อการฝึกปฏิบัติให้นักศึกษามีความเชี่ยวชาญในทักษะและเทคโนโลยีพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพ
ศึกษาและปฎิบัติการใช้โปรแกรมสเปรดซีตในการสร้างสูตร เศษส่วน ฟังก์ชั่นทาง ตรรกศาสตร์การค้นหาและอ้างอิง ฟังก์ชันทางการเงิน และการใช้ฟังก์ชั่นในการคํานวณเพื่อสร้างสมุดบันทึกรายการขั้นต้น การผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท การปรับแก้ข้อมูล การจัดทํารายงานทางการเงิน การใช้คําสั่งในการสรุปผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการนําเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ การพิมพ์สัมผัสทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์ การพิมพ์รายงาน การพิมพ์จดหมายธุรกิจแบบต่างๆ และหนังสือราชการโดยใช้โปรแกรมเวิร์ดโพสเซสเซอร์, โปรแกรมทางด้านการจัดการฐานข้อมูลขั้นพื้นฐาน, การใช้เครื่องคํานวณ และฝึกทักษะทางวิชาชีพอื่นตามมาตรฐานวิชาชีพเพื่อเป็นทางแนวทางในการประกอบวิชาชีพบัญชี การทํางานเป็นทีม การบริหารเวลา การทํางานภายใต้แรงกดดัน และแนวทางการประกอบวิชาชีพ
5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1) มีความรู้ และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี 2) สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทาง   ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม 3) แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม
1) สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ในเนื้อหาวิชาเรียน 2) ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย  3) เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน  4) การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
1) ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพรียงของการเข้าร่วมกิจกรรม  2) ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ  3) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  4) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน 
1) มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 2) มีความรู้ ความเข้าใจ ในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 3) มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ 4) มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี
1) ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การยกตัวอย่าง การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา 2) มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ 3) การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง หรือการศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม 4) การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
1) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงาน การค้นคว้า และการนำเสนอ 2) การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ 3) การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง หรือการฝึกงานในองค์กรธุรกิจ 4) การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต 5) การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จาการบูรณาการการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการ ผ่านการสะท้อนความคิดของนักศึกษา หรือการเขียนรายงานจากประสบการณ์ หรือวิธีการอื่น ๆ
1) มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วย วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม 2) มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม 3) มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก 4) มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
1) ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง 2) จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา 3) สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น 4) การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
1) ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย 2) ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา 3) ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น 4) การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จาการบูรณาการการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการ ผ่านการสะท้อนความคิดของนักศึกษา หรือการเขียนรายงานจากประสบการณ์ หรือวิธีการอื่นๆ
1)   มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ต่าง ๆ วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น 2) มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จ  ตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ 3) มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
1) มอบหมายงานให้ทำงานร่วมกันเป็นทีม เช่น การทำโครงงาน การแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษา การค้นคว้าอิสระ การทำวิจัย การจัดนิทรรศการ   เป็นต้น โดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกทีม และผลัดกันเป็นผู้นำเสนอ 2) มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น 3) ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่าง ๆ 4) การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
1) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน 2) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน 3) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน 4) การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จากการบูรณาการการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการ ผ่านการสะท้อนความคิดของนักศึกษา หรือการขียนรายงานจากประสบการณ์ หรือวิธีการอื่น ๆ
1) มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการใช้ความรู้ความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผนงาน การควบคุม การประเมินผล และการรายงานผล ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ   2) มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ   3) มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์
1) มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข 2) มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ 3) ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอ ในรูปแบบรายงาน มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 4) การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
1) ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิตศาสตร์ 2) ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมาย และนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม 3) ประเมินจากการสอบข้อเขียน 4) ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม 5) การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จาการบูรณาการการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการ ผ่านการสะท้อนความคิดของนักศึกษา หรือการเรียนรายงานถอดประสบการณ์ หรือวิธีการอื่น ๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC125 ทักษะทางวิชาชีพและเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3,3.3,3.4 การทดสอบปฏิบัติ/ ทดสอบย่อย 2 ครั้ง 6,12 20
2 2.3, 3.3, 3.4 การสอบกลางภาคและสอบปลายภาค 9,17 40
3 1.1,1.2,2.3,3.3,3.4,4.3 ใบงานการฝึกปฏิบัติ, รายงาน, และใบงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 2-8, 10-16 30
4 1.1, 1.2 การสังเกตพฤติกรรม, การกระทำการทุจริตในการสอบ, ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่, สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน 1-8, 10-16 10
- เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ทักษะวิชาชีพและเทคโนโลยี รวบรวมโดย ผศ.ยพรัตน์  อิ่มพิทักษ์
- เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น www.tfac.or.th  - Facebook Page ที่เกี่ยวข้อง - Youtube
วิธีการประเมินประสิทธิผลในรายวิชาโดยนักศึกษา มีดังนี้ แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้มีการประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษาทุกภาคการศึกษา
วิธีการประเมินประสิทธิผลในรายวิชาโดยนักศึกษา มีดังนี้ แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้มีการประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษาทุกภาคการศึกษา
วิธีการประเมินประสิทธิผลในรายวิชาโดยนักศึกษา มีดังนี้ แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้มีการประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษาทุกภาคการศึกษา
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา การประเมินผลการเรียนรู้โดยนักศึกษา การพิจารณาการมอบงาน การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค โดยคณะกรรมการทวนสอบฯ (กรรมการหลักสูตร)
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา การประเมินผลการเรียนรู้โดยนักศึกษา การพิจารณาการมอบงาน การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค โดยคณะกรรมการทวนสอบฯ (กรรมการหลักสูตร)