การเงินธุรกิจสมัยใหม่

Modern Business Finance

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ ความรู้ในการจัดการทางการเงินสำหรับธุรกิจขององค์กรธุรกิจสมัยใหม่ 1.2 เพื่อให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์วางแผนพยากรณ์และควบคุมทางด้านการเงินขององค์กรธุรกิจ 1.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถความรู้ทางการจัดการการเงินธุรกิจไปประยุกต์กับงานทางด้านการเงินการบัญชีในอนาคต 1.4 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
การพัฒนาความสามารถของนักศึกษา ในการศึกษารูปแบบการจัดการการเงินขององค์กรธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
ศึกษาความหมายของการเงินธุรกิจ เป้าหมายของการจัดการทางการเงินธุรกิจ สภาพแวดล้อมต่างๆ ทางการเงิน บทบาทหน้าที่และความสำคัญของตลาดเงินและตลาดทุน เครื่องมือทางการเงินชนิดต่างๆเทคนิคการวิเคราะห์ การพยากรณ์และการควบคุมทางการเงินการจัดการเงินทุนหมุนเวียน งบจ่ายลงทุน วิธีการจัดหาเงินทุนของธุรกิจ ต้นทุนของเงินทุนและโครงสร้างทางการเงิน ผลตอบแทนทางการเงินและการลงทุน นโยบายเงินปันผล
3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดาเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทาคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ 1. มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ 2. มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบติตามกฏระเบียบของสถาบันและสังคม 3. สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม 4. มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
 
 
1. สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน 2. ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย 3. เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่เกิดการมีส่วนร่วมต่อการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม 4. การเรียนรู้และสอนจากกรณีศึกษา
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา การมีส่วนร่วมกับกิจกรรม 1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการการจัดการการเงินขององค์กรธุรกิจผ่านการศึกษาความหมายของการเงินธุรกิจ เป้าหมายของการจัดการทางการเงินธุรกิจสภาพแวดล้อมต่างๆ ทางการเงิน บทบาทหน้าที่และความสำคัญของตลาดเงินและตลาดทุน เครื่องมือทางการเงินชนิดต่างๆ เทคนิคในการวิเคราะห์การพยากรณ์และการควบคุมทางการเงิน การจัดหาเงินทุนหมุนเวียน งบจ่ายลงทุน วิธีการจัดหาเงินทุนของธุรกิจ ต้นทุนของเงินทุนและโครงสร้างทางการเงิน ผลตอบแทนทางการเงินและการลงทุนนโยบายเงินปันผล
2.2.1 วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีศึกษาและกรณีปัญหา 2.2.2 การถามตอบปัญหาแนวปฏิบัติทางการบัญชี 2.2.3 มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล 2.2.4 การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.2 ประเมินผลจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning ที่มีการมอบหมาย 2.3.3 ประเมินผลจากแบบสอบถาม
3.1.1 พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยี 3.1.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
 
3.2.1 ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง 3.2.2 จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา 3.2.3 สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น 3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1 ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย 3.3.2 ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา 3.3.3 ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.2 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทางานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 4.1.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอานวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นา และในบทบาทของ ผู้ร่วมงานตามกำหนดเวลา 4.1.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 ทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นา การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน 4.2.2 มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น 4.2.3 ศึกษาแนวทางแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา
 
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3 ประเมินด้วยการสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
5.1.1 ทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง 5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้ รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน 5.1.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บ รวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
5.2.1 มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข 5.2.2 มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ 5.2.3 ให้อภิปรายและนาเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน มอบหมายกรณีศึกษาให้นามาวิเคราะห์และนาเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
5.3.1 ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิตศาสตร์ 5.3.2 ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนาเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม 5.3.3 ประเมินจากการสอบข้อเขียน 5.3.4 ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนาเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ทักษะทางปัญญา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะพิสัย
1 BBACC117 การเงินธุรกิจสมัยใหม่
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 สอบถลางภาค เนื้อหาบทที่ 1-9 9 30%
2 1,2,3,4,5 งานที่มอบหมาย 15-16 30%
3 2,3,5 สอบปลายภาค (บทที่ 10-14) 18 30%
ชไมพร รัตนเจริญชัย. การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ บริษัททริปเปิ้ลเอ็ดดูเคชั่น, 2555
 
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. พื้นฐานการเงินธรกิจ (corporate finance)  ภายใต้หลักสูตรการวิเคราะห์และการจัดการลงทุนขั้นพื้นฐาน (foundation knowledge) ของหลักสูตร CISA ใหม่. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์.
รายงานประจำปีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ห้องเรียนนักลงทุน SET e-learning ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
การให้คำปรึกาาเป็นรายบุคคล
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 เข้ารับการอบรมสัมมนาเพิ่มเติมด้านเทคนิคการจัดการเรียนการสอน 3.2 การทำวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ