วิศวกรรมความร้อนและของไหล

Thermal-Fluid Engineering

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับคุณสมบัติทางอุณหพลศาสตร์ กฎข้อศูนย์ กฎข้อหนึ่งและกฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์ วัฏจักรคาร์โน งาน พลังงาน การเปลี่ยนรูปพลังงานและความร้อน เอนโทรปี และหลักการของการถ่ายเทความร้อน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน  มีความเข้าใจ  หลักการพื้นฐานทางเทอร์โมไดนามิกส์  สามารถนำหลักการมาคำนวณแก้ปัญหาทางวิศวกรรม  อันเป็นประสบการณ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาทางวิศวกรรมอีกหลาย ๆ วิชาที่ต้องอาศัยวิชานี้
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางอุณหพลศาสตร์ กฎข้อศูนย์ กฎข้อหนึ่ง และกฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์ ก๊าซอุดมคติ งานและความร้อน พลังงานระบบปิดและระบบเปิดที่มีการไหลคงที่และสภาวะคงที่ ที่มีการไหลสม่ำเสมอและสภาวะสม่ำเสอม กระบวนการต่างของอุณหพลศาสตร์ วัฏจักรคาร์โน เอนโทรปี พื้นฐานการถ่ายเทความร้อนและการเปลี่ยนรูปพลังงาน เครื่องยนต์ความร้อน เครื่องทำความเย็น ปั๊มความร้อน
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม

สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
กำหนดวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยฝึกให้รู้หน้าที่ มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น

1.2.3 สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องหรือยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้นักศึกษาได้ฝึกคิด วิเคราะห์ และแก้ไข
1.3.1   ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2    ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.3    ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4    ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติทางเทอร์โมไดนามิกส์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เกษตรและชีวภาพ และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีในเนื้อหาวิชา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบทั้งการบรรยายและอภิปราย โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และยกกรณีศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน

ประเมินจากผลงานที่ให้นักศึกษาทำ
สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง  เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต  และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1    ยกกรณีศึกษาทางการประยุกต์วิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ
3.2.2    การอภิปรายหรืองานที่ทำส่ง
ประเมินจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนองานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ และการเข้าชั้นเรียน เป็นต้น
4.1.1   สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.2   สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี มานำเสนอในชั้นเรียน หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาเทอร์โมไดนามิกส์ได้เป็นอย่างดี

สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณ เพื่อประกอบการคำนวณหาค่าในวิชาเทอร์โมไดนามิกส์
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้าหาโปรแกรมสำเร็จรูปในการหาค่าทางเทอร์โมไดนามิกส์
5.2.2   มอบหมายงานที่เน้นการคำนวณ
5.3.1   ประเมินจากงานที่มอบหมาย การคิด  คำนวณ และการเขียนตัวเลขอย่างถูกหลักการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 ,1.2 , 1.5 ,2.4 ,5.5 ,6.1 1.2 ,1.3 ,1.4 ,2.1-2.5 ,3.1-3.5 ,4.1-4.4 ,5.1-5.5 ,6.1 ,6.2 1.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค แบบฝึกหัด Quiz การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 8 17 ตลอดภาคการศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 30% 30% 15% 15% 10%
ผู้แต่ง Yunus A. Cengel และ Michael A. Boles ชื่อหนังสือ Thermodynamics ฉบับปรับปรุงที่ 6
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชา