การบัญชีชั้นกลาง 2

Intermediate Accounting 2

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ ทฤษฎี วิธีการต่างๆ ทางบัญชีและวิธีการจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน เกี่ยวกับหนี้สิน
          2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ ทฤษฎี และวิธีต่างๆ ทางการบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของ  ของห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด และวิธีการจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน รวมถึงกำไรสะสมกำไรต่อหุ้น และงบกระแสเงินสด
          3. เพื่อให้นักศึกษา สามารถศึกษาค้นคว้า การจัดทำบัญชี ของกิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดได้
          4. เพื่อฝึกหัดการนำแนวคิด หลักการและวิธีการบัญชี ตามมาตรฐานรายงานทางการเงินในปัจจุบัน ไปใช้ในทางปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับหนี้สินและส่วนของเจ้าของได้อย่างถูกต้อง
  
1. เพื่อพัฒนาความสามารถนักศึกษา ในการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบันเฉพาะฉบับที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด
2. เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ เกี่ยวกับหลักการและวิธีการบัญชีทางด้านหนี้สินและส่วนของเจ้าของ การจำแนกประเภทหนี้สิน การรับรู้และการวัดมูลค่าหนี้สิน การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สิน ซึ่งประกอบด้วย หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น การบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของ การจัดตั้งกิจการ การดำเนินงาน การแบ่งกำไรขาดทุน การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ การเลิกกิจการ และการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน การบัญชีเกี่ยวกับบริษัทจำกัด และบริษัทมหาชน จำกัด การจัดทำงบกระแสเงินสด
3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยเคารพและสามารถปฏิบัติตามกฏระเบียบของสถาบันและสังคม
1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
1.4  มีจิตสำนัก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1.สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพในแต่ละบทเรียน
2.สอดแทรกหัวข้อความซื่อสัตย์สุจริต การมีวินัย การปฏิบัติตามกฏระเบียบของสถาบันและสังคม ในชั้นเรียน
3. แจ้งระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การส่งงาน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ให้นักศึกษา
4.สอดแทรกหัวข้อคุณธรรม จริยธรรม และความสำคัญจรรยาบรรณวิชาชีพ
5. อาจารย์ผู้สอนปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษา
6. เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน
7. การเรียนรู้ และการสอนจากกรณีศึกษา
 
 
1. ประเมินจากการติดตามการปฏิบัติตามกติกาการเรียน สัปดาห์ละครั้ง ตลอดภาคการศึกษา
2.  ประเมินจากการกระทำทุจริตในการสอบของนักศึกษา
3.  สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ
2.1  มีความรู้ และความเข้าใจในแนวคิดทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางบัญชี
2.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูณณาการ แบะนำมาประยุต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
1.  ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะเนื้อหารายวิชา โดยเน้นแนวคิดหลักการ ทฤษี และการ)ฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยาย และอภิปราย การสอนแบบสาธิต
การสอบแบบใช้สถานการณ์จำลอง และการสอนแบบเน้นกรณีศึกษา
2. การถาม ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
3. มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล
4.  มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลทั้งด้านบัญชีและด้านอื่นๆ
5.  มีการถาม ตอบปัญหาในชั้นเรียนทั้งด้านบัญชีและด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง
6. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน
1. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงาน การค้นคว้า และการนำเสนอ
2.  การประเมินจากการสอบข้อเขียน ทั้งสอบย่อย
สอบกลางภาค และปลายภาค
3. ประเมินผลการเรียนรู้จากงานที่มอบหมาย
 
3.1  สามารถสืบค้นข้อมูลประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุ และวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนด้วยตนเอง
3.2   สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพ และดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
 - สามารถประยุกต์ความรู้การบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของ ของกิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด สู่การจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน และงบกำไรสะสม
3.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
 
1. ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด กรณีศึกษา ที่มีความยากจากระดับง่ายไปสู่ระดับที่ยากขึ้น ตามลำดับขั้นของการเรียน
1.  มีการบรรยาย ยกตัวอย่าง ถาม- ตอบ ในชั้นเรียน
2. มีการทำแบบฝึกหัดโดยใช้โจทย์ปัญหา จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่ยากขึ้น ในแบบจัดทำรายบุคคล และรายกลุ่ม
3. การจัดกลุ่มสรุปความรู้ เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน  
1. ประเมินจากคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
2. ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
4.1 สามารถปฏิบัติ และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถปฏิบัติ และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ดีตามข้อตกลงที่กำหนดไว้
-สามารถปรับตัวให้เข้ากับสมาชิกได้กลุ่มได้
4.2  มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.3 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.4 มีความรับผิดชอบในการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1. มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และให้สลับกันเป็นผู้รายงาน
2. ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ
1. ประเมินจากงานที่มอบหมาย ว่าสามารถทำงานตามที่มอบหมายได้เป็นอย่างดี หรือไม่ทั้งการประเมินโดยอาจารย์ผู้สอน และประเมินโดยสมาชิกกลุ่ม(กรณีที่มีการทำงานเป็นกลุ่ม)
2. ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน  
3. ประเมินโดยการสังเกตุพฤติกรรมการรวมกลุ่มของนักศึกษา      
5.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
1. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์ หรือคำนวณ
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC121 การบัญชีชั้นกลาง 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค การสอบย่อย 9 19 2 11 และ13 20% 30% 25% 5% 15%
2 1,2,3,4,5 บหมาย การมีส่วนร่วมในการอภิปราย พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนและการแต่งกายให้ถูกระเบียบ ทุกสัปดาห์ 5%
1.  ตำราและเอกสารหลัก
การบัญชีขั้นกลาง 2 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นุชจรี พิเชฐกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญญบุรี ง
 
พิมพ์พนา ปีตธวัชชัย และณัฐชานนท์ โกมุทพุฒิพงษ์. การบัญชีชั้นกลาง 2 สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556. ธารี หิรัญรัศมี การบัญชีห้างหุ้นสวนและบริษัทจำกัดม, พิมพ์ครั้งที่ 5  สำนักพิมพ์จุฟ้าลงกรณ์.มหาวิทยาลัย, 2553. สุริยุ เมืองขุนรอง. การบัญชีห้างหุ้นส่วนบริษัทและการร่วมค้า. พิมพ์ครั้งที่ 4 บริษัท ธนาเพรส แอนด์ กราฟฟิค จำกัด. Intermediate Accounting By Keiso & Weygandt มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
3. เอกสารและข้อมูลแนะนำ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี ได้แก่ประกาศเกี่ยวกับ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้จาก เว๊ปไซต์ ต่อไปนี้
www.fap.or.th
www.dbd.go.th
www.set.or.th
 

 
1) ให้นักศึกษาประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ตามแบบประเมินของมหาวิทยาลัย
1) พิจารณาจากผลคะแนนการสอบ
2) พิจารณาจากงานที่มอบหมายให้
3) พิจารณาจากพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
1) นำผลการประเมินประสิทธิผลรายวิชาโดยนักศึกษาและผลประเมินการสอน มาพิจารณาการปรับปรุงการสอน
2) ผู้สอนควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เข้ารับการอบรมสัมมา ในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาการสอน
 1) การทวนข้อสอบและเกณฑ์ที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้
    1) นำเอาผลการประเมินข้อ1 และข้อ2 มาวิเคราะห์และหาแนวพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้