พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

Electronic Commerce

มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ เห็นความสำคัญ และเข้าใจพัฒนาระบบพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสร้างสรรค์
เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่
ศึกษาหลักการในการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศธุรกิจในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์ใช้งานทั้งภายในองค์กร เพื่อการสื่อสารกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ระบบอินทราเน็ต และภายนอกองค์กร ในการสื่อสารกับลูกค้าและผู้จำหน่ายสินค้า โดยใช้ระบบอินเทอร์เน็ต โดยศึกษาจากตัวอย่างในกรณีศึกษาของธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จในการจัดทำระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องใช้ความรู้พื้นฐานทางโครงสร้างธุรกิจ การสร้างฐานความรู้ ระบบอินเทอร์เน็ต และการวางแผนการตลาด
- พัฒนาผู้เรียนให้มีจิตสำนึกและมีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- พัฒนาผู้เรียนให้มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อการทำงาน
- พัฒนาผู้เรียนให้มีวินัย มีความตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและเคารพสิทธิของผู้อื่น
- พัฒนาผู้เรียนให้เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับของมหาวิทยาลัยและสังคม
- พัฒนาผู้เรียนให้มีภาวะความเป็นผู้นำและสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้
- สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในเนื้อหารายวิชา
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- การทดลองปฏิบัติจริง
- อภิปรายกลุ่มทั้งกลุ่ม
- พิจารณาจากพฤติกรรมการเข้าเรียนและการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา
- พิจารณาจากการร่วมอภิปรายที่มีเหตุผลถูกต้อง เหมาะสม และสร้างสรรค์
- ประเมินผลการนำเสนอกรณีศึกษาที่มอบหมาย
- ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
- แนวการดำเนินการในการเข้าสู่ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หลักการตลาดออนไลน์
- ระบบการชำระเงินออนไลน์
- ระบบการรักษาความปลอดภัยของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การประชาสัมพันธ์ร้านค้า การประมูลสินค้า
ออนไลน์เทคนิคการขายและเจรจาการค้าบนเว็บ
- จรรยาบรรณและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
- การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทย
- การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์ใช้พาณิชย์   อิเล็กทรอนิกส์ให้ประสบความสำเร็จ
- บรรยาย
- มอบหมายงาน
- ทดสอบย่อยสอบกลางภาคสอบปลายภาคด้วยข้อสอบ
- ประเมินจากรายงาน การนำเสนอผลการทำงาน
- คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
- สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างงานที่เกี่ยวข้อง
- มอบหมายงานที่เป็นงานเดี่ยว
ทดสอบกลางภาคและปลายภาคที่เน้นหลักการ ที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประเมินผลจากการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
- ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
- ทักษะการเรียนด้วยตนเองมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
- บรรยาย
- มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์การนำตัวอย่างการใช้งานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทางด้านธุรกิจหรือกำหนดกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
- การนำเสนอรายงาน
- ประเมินผลการรายงานที่นักศึกษานำเสนอ
- ประเมินพฤติกรรมในชั้นเรียน
 
- พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารทั้งการฟัง การพูด การอ่าน การแปล โดยจัดทำเป็นรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน
- พัฒนาทักษะด้านการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
- ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทางอีเมล์
- ทักษะการใช้ซอฟต์แวร์ทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
- มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และทำรายงานโดยมีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
- มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก Website และทดลองปฏิบัติจริง และทำรายงาน
- มอบหมายโครงงานให้ออกแบบและสร้างระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ซอฟต์แวร์ทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสม
- ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย หลังจากฟังการนำเสนอผลการศึกษาของเพื่อน
- ประเมินจากคุณภาพของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นจากซอฟต์แวร์
- ประเมินจากรายงานการเขียน และการนำเสนอผลงานในรูปของระบบงานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้ สอบกลางภาค สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 8 ,17 70%
2 ทักษะทางปัญญา ชิ้นงานเดี่ยว สัปดาห์ที่ 7,14 10%
3 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทำกิจกรรมร่วมซักถาม และแสดงความคิดเห็น สัปดาห์ที่ 7,14 10%
4 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนอผลงาน สัปดาห์ที่ 14 10%
ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ, ดร. (2552). คัมภีร์การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : E-Commerce. กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์
ไม่มี
ไม่มี
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การสะท้อนคิดจากพฤติกรรมของผู้เรียน แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
ผลการสอบ การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ การประเมินโดยคณะกรรมการประเมินข้อสอบ
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบรายงานวิธีการให้คะแนนสอบและการให้คะแนนพฤติกรรม
ปรับปรุงรายวิชาทุกปีตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4