นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

Innovation and Information Technology for Educational

1. เพื่อศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับประเภทของสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
2. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การออกแบบ การสร้าง การประยุกต์ การประเมินหาประสิทธิภาพ
3. เพื่อรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้และการสื่อสาร
4. เพื่อสามารถพัฒนาและการบริหารจัดการนวัตกรรมการศึกษา
5. สามารถวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมการศึกษา
6. เพื่อรู้แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
7. สามารถประยุกต์ใช้ การประเมินสื่อและนวัตกรรม
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ในด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับการใช้งานในวิชาชีพที่เหมาะสมในปัจจุบัน
2. เพื่อให้การเรียนการสอนในรายวิชานี้เป็นไปตามความสอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับประเภทของสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การออกแบบ การสร้าง การประยุกต์ การประเมินหาประสิทธิภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้และการสื่อสาร การพัฒนาและการบริหารจัดการนวัตกรรมการศึกษา การวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมการศึกษา แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ การประยุกต์ใช้ การประเมินสื่อและนวัตกรรม
จัดให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์(เฉพาะนักศึกษารายที่ต้องการ) และสามารถให้คำปรึกษาผ่านระบบ E-learning, Face book , Line และโทรศัพท์ได้ตลอดเวลา
1. สามารถจัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณ วิชาชีพครู
2. แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี
1. กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
2. กำหนดให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม โดยฝึกให้รู้บทบาทและหน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งการเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
3. สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชา ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
1. ประเมินด้านจิตพิสัยของนักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
2. ประเมินความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน และการรับฟังความคิดเป็นจากอาจารย์ผู้สอนและกลุ่มนักศึกษาในชั้นเรียน
3. ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททางวิชาการ และการตรวจสอบการคัดลอกผลง่านทางวิชาการของผู้อื่น
4. ประเมินผลจากรายงานการจัดกิจกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ
1. มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาชีพเฉพาะ อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้งและเป็นระบบ
2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตะหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้
1. เลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมตามหัวข้อลักษณะรายวิชา โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามสภาพจริง
2. ส่งเสริมและชี้แนะให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางวิชาการ รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม แล้วนำมาประยุกต์สร้างผลงานวิชาการ
1. ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
2. ประเมินผลจากการนำเสนอโครงการ
1. มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม
2. มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
1. ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ
2. ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
1. ประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. ประเมินผลจาการฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ
3. ประเมินผลจากการอธิปรายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหา ในประเด็นที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ
1. แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
2. แสดงออกถึงการมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
1. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่มที่แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
2. ส่งเสริมการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
3. กำหนดบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื่อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
1. ประเมินพฤติกรรมจากการแสดงออกถึงมีการมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
2. ประเมินผลการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
3. ประเมินผลการทำงานเป็นทีมตามที่ได้รับมอบหมาย
1. มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสาร ทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
2. สามารถสนทนา เขียน และนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. ติดตามข้อมูลข่าวสารประเด็นสำคัญด้านวิชาการจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. นำเสนอรายงานด้านวิชาการโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ความสามารถในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามข้อมูลข่าวสาร
2. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
3. จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
1. แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ที่มีรูปแบบหลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์
2. แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนรวมถึงประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างบูรณาการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มเรียนที่หลากหลายอย่างมีนวัตกรรม
1. สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
2. สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
3. สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติการ
4. จัดนิทรรศการการแสดงผลงานของนักศึกษา
5. สนับสนุนการจัดทำโครงงาน
1. ประเมินจากกิจนิสัยในการปฏิบัติงาน
2. ประเมินผลทักษะในการปฏิบัติงาน
3. ประเมินผลจากโครงงานนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3 6.1 6.2
1 TEDCC810 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 การเข้าชั้นเรียนในแต่ละคาบเรียน พฤติกรรมในการเรียน การส่งงานผลงานตามเวลาและข้อกำหนด ทุกสัปดาห์ 10%
2 1.2 2.1, 2.2, 2.3 การสอบย่อยแต่ละหน่วยเรียน ผลงานการจัดทำรายงานตามหัวข้อที่กำหนด ผลงานจากการค้นคว้ารายงานที่เกี่ยวข้อง 2, 3, 4, 5, 6, 7 30% 10%
3 3.1, 3.2 4.1, 4.2 5.1, 5.3 6.1, 6.2 ผลงานในการผลิตสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทางการศึกษา จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ, ประเมินจากการนำเสนอผลงานด้วยวาจา, สังเกตพฤติกรรมการนำเสนองานและการแสดงความคิดเห็นในระหว่างเรียน 10, 12, 14, 17 50%
กิดานันท์ มะลิทอง. (2540). เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช. (2549). นวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2550). วิธีวิทยาการออกแบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์. ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์
โปรแกรมปฏิบัติการสร้างสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา
เอกสารประกอบการเรียนการสอน
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับระบบการเรียนการสอน
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางการศึกษา
-สะท้อนความคิดของนักศึกษาโดยดูจากความคิดเห็นในการนำเสนอผลงาน และ การแแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างการนำเสนอ
-การประเมินผ่านข่องทางในการเรียนในระบบ E-learning
-แบบประเมินออนไลน์ของมหาวิทยาลัยฯ
-การจัดสัมมนา จัดกิจกรรมการเรียน และการประเมินผลการเรียนรู้
-ทวนสอบผลสัมฤทธิทางการศึกษา โดยการประเมินข้อสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
-การทวนสอบในระดับหลักสูตร ทำโดยมีระบบประกันคุณภาพภายในสถาบันการศึกษาดำเนินการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้
-ปรับปรุงรายวิชาทุก ๆ ปี โดยจัดสัมมนาร่วมกันระหว่างอาจารย์ที่สอนในรายวิชานี้