การฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องกล

Basic Mechanical Engineering Training

     1. รู้กฎความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติงาน        2.เข้าใจการใช้เครื่องเล็กทั่วไป        3. เข้าใจการวิธีการวัดและการอ่านค่าเครื่องมือวัดละเอียด        4. เข้าใจวิธีการตัดงานด้วยเลื่อยมือและวิธีการลดขนาดงานด้วยการตะไบ        5. เข้าใจวิธีการใช้เครื่องเจาะและการกลึง        6. เข้าใจวิธีการทำเกลียวนอกและเกลียวในด้วยมือ และงานเชื่อมพี้นฐาน        7. ตระหนักถึงคุณค่าของการฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องกล
 
ปฏิบัติงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือวัดและเครื่องมือวัดละเอียด การ          ใช้ตะไบลดขนาดชิ้นงาน การใช้เลื่อยมือ การเจาะและกลึงชิ้นงาน การทำเกลียวนอกและเกลียวใน           การเชื่อมชิ้นงาน ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆในงานวิศวกรรมพื้นฐาน การปฏิบัติงานตามคำสั่ง          ที่ได้รับมอบหมาย และการปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยเสมอ
ปฏิบัติงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือวัดและเครื่องมือวัดละเอียด การ          ใช้ตะไบลดขนาดชิ้นงาน การใช้เลื่อยมือ การเจาะและกลึงชิ้นงาน การทำเกลียวนอกและเกลียวใน           การเชื่อมชิ้นงาน ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆในงานวิศวกรรมพื้นฐาน การปฏิบัติงานตามคำสั่ง          ที่ได้รับมอบหมาย และการปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยเสมอ
- อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงว่างของการเรียน - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์  (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม สามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อยดังนี้ 1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษ
มีการทำข้อตกลงและกฎเกณฑ์ในการแต่งกาย การเข้าชั้นเรียน การปฏิบัติตนในระหว่างการศึกษา การมอบหมายแบบฝึกหัด การศึกษาวิชาการและงานวิจัยในสื่อ Online พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน การศึกษากฎระเบียบและหลักเกณฑ์ต่างที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานและจรรยาบรรณที่สัมพันธ์กับรายละเอียดเนื้อหาที่สอนตามความที่จำเป็น การมอบหมายการทำงานเป็นกลุ่มในรูปแบบระดมความคิดหรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันเพื่อสร้างพื้นฐานนิสัยการยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นๆ การสอดแทรกตัวอย่างประกอบในการนำเทคโนโลยีไปใช้ร่วมกับสังคมและศิลปวัฒนธรรม เช่น บ้าน วัด และสาธารณสถานต่างๆได้อย่างเหมาะสม
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมที่มอบหมาย 1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ 1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 1.3.5 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ความตั้งใจและความสนใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
1. ประเมินผลจากการเข้าเรียนระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 2. ประเมินผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตและตรงเวลา 3. สังเกตพฤติกรรมการตอบข้อซักถามและการยกตัวอย่างเปรียบเทียบใน ด้านการ รักษากฎระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคมองค์กรให้เห็นความมีคุณค่า มีเกียรติ รู้สึกภูมิใจใน ตนเองและสถาบัน 4. ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา 5. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษา ซึ่งประกอบกันขึ้น เป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะของนักศึกษา ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้   2.1.1 มีความรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาชีพเฉพาะอย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ  2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้  2.1.3 สามารถนำหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์ และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม
การสอนโดยการมอบหมายการศึกษาตัวอย่างเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือสิ่งที่เรียน โดยให้ผู้เรียนทำการสรุปประเด็นสำคัญและนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน การเสนอแนวคิดในการนำเทคโนโลยีไปปรับใช้กับสภาพแวดล้อมที่สมมติ/สภาพภูมิศาสตร์/สภาพแวดล้อมใกล้เคียง
2.3.1 การทดสอบปฏิบัติย่อย 2.3.2 การทดสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ 2.3.4 ประเมินจากการตอบคำถาม
นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้นมาตรฐานทักษะทางปัญญาต้องครอบคลุม ดังนี้  3.1.1 มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวุัตกรรม  3.1.2 มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์ และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
ใช้การสอนแบบมอบหมายงานศึกษาค้นคว้าและนำเสนอหน้าชั้น การหาชิ้นงานที่มีประเด็นปัญหามาให้นักศึกษาลองแก้ไขปัญหา การให้นักศึกษาซ่อมแซมงาน พร้อมให้แสดงข้อคิดเห็นและตอบข้อซักถาม การยกตัวอย่างข้อปัญหาและให้ประมวลความรู้ที่มีในการปรับใช้เพื่อการแก้ประเด็นปัญหา
3.3.1 บทบาทสมมติ/สถานการณ์จำลอง/งานซ่อมแซมงานที่ชำรุดของมหาวิทยาลัยตามที่มอบหมาย 3.3.2 การเรียบเรียงขั้นตอนและการเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาในบริบทต่าง ๆ 3.3.3 การนำเสนอรายงานการค้นคว้า 3.3.4 การทดสอบ/การซักถามระหว่างเรียน/การซักถามระหว่างการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1  รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานที่มอบหมายทั้งบุคคลและกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะกับความรับผิดชอบ 2 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตาม กำหนดเวลา
มอบหมายงานรายบุคคล
1 ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย 2 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียน
1 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในด้านการพูด การฟัง การ แปลการเขียน โดยการทำรายงาน 2 พัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต อย่างเป็นระบบ  3 พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเองผู้เรียน และการ ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1 ผลจากการประเมินการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย 2 ผลจากการสังเกตพฤติกรรม ในการทำงานรายบุคคล
ดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร โดยคำอธิบายรายวิชา
สอนโดยวิธีการบรรยาย และการสาธิต ยกตัวอย่าง
ตามใบงานที่มอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา ส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ การสอนโดยการมอบหมายการศึกษาตัวอย่างเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือสิ่งที่เรียน ใช้การสอนแบบมอบหมายงานศึกษาค้นคว้าและนำเสนอหน้าชั้น การหาชิ้นงานที่มีประเด็นปัญหามาให้นักศึกษาลองแก้ไขปัญหา การให้นักศึกษาซ่อมแซมงาน พร้อมให้แสดงข้อคิดเห็นและตอบข้อซักถาม
1 TEDME935 การฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องกล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 8 และ 17 50
2 รายงานกลุ่มพร้อมนำเสนอ - วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า - การนำเสนอรายงาน - การทำงานกลุ่มและผลงาน - การอ่านและสรุปบทความ - การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40
3 จิตพิสัย - การเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
เอกสารประกอบการสอน/คู่มือ/ใบงาน ของอาจารย์ผู้สอน
 
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา  1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน  2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา  2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะปรับปรุงการสอนในข้อ 3. และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4.  5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ