การสัมมนาภาษาอังกฤษ

Seminar in English

 ให้นักศึกษารู้จักวิธีการค้นคว้าข้อมูล ทั้งจากหนังสือ  ตลอดจนวิธีการสารสนเทศต่างๆ เช่น e-library, e-databases, CD-ROM,  search engine ต่างๆ เป็นต้น สามารถอ่านเอกสารทางวิชาการได้อย่างเข้าใจโดยอาศัยคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา สามารถเรียบเรียงเอกสารที่ค้นคว้าเป็นบทความทางวิชาการได้อย่างถูกต้อง มีการเรียนรู้เทคนิคทางโสตทัศนูปกรณ์เพื่อนำมาใช้ในการบรรยายให้มีความน่าสนใจ

            มากขึ้น

มีการเรียนรู้เรื่องบุคลิก ท่าทางและมารยาทในการพูดในที่ประชุมและสามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม

สามารถใช้ความรู้ที่เรียนมาเพื่อทำความเข้าใจกับเนื้อเรื่องที่นำเสนอและสามารถบรรยายให้ผู้ฟังเข้าใจ รวมทั้งสามารถตอบคำถามของผู้ฟังได้อย่างเหมาะสม
               เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้หลักการค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลในเรื่องที่นักศึกษาสนใจ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการศึกษา และมีทักษะในการนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลในหัวข้อที่สนใจ สรุปและนำเสนอในรูปแบบของการสัมมนาตลอดจนการจัดสัมมนา
2 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1  มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
เสียสละ มีจิตสำนึกสาธารณะ  ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
           O 1.2  มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
            1.3  มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
          ·1.4  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม  และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้
          O 1.5  มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
           1.6  สามารถวิเคราะห์ผลกระทบด้านคุณธรรม จริยธรรมที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล องค์กร
และสังคมจากการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร
- ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม  ในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ
- ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของการมีวินัย ขยัน อดทน และการตรงต่อเวลา
- อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง  ให้ความสำคัญต่อ การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา การเคารพและให้เกียรติแก่อาจารย์อาวุโส เป็นต้น
- ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและในโอกาสที่สาขาวิชาฯ/คณะจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม  
- การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งรายงาน
- ประเมินการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยนักศีกษาอื่นๆในรายวิชา
- นักศึกษาประเมินตนเอง
2.1  มีความรู้และเข้าใจหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในรายวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
           3.2  มีความรู้และเข้าใจในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน สามารถนำความรู้
และทักษะมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้
           · 2.3  มีความรู้และเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการในการวางแผนการจัด
การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่หลากหลาย
           ·2.4  มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งมีความเข้าใจ
ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
           2.5  สามารถวิเคราะห์ และนำข้อมูลมาปรับปรุงและ/หรือประเมินตามสถานการณ์
ที่เกิดขึ้น
           2.6  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ใช้
ได้อย่างเหมาะสม
           O 2.7  รู้ เข้าใจ และสนใจที่จะพัฒนาความรู้ ความชำนาญในการใช้ภาษาอย่างต่อเนื่อง
           2.8  มีความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษา พร้อมทั้งเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา
           2.9  มีประสบการณ์เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้า และ/หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาใช้ในงานได้จริง
- ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม  การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง และการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต
- เพิ่มการสอนนอกห้องเรียน โดยศึกษาจากประสบการณ์จริงในเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจ
- เอกสาร/การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน และการนำเสนองานในรูปแบบการสัมมนา
O 3.1  สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินข้อมูลจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์อย่างเหมาะสม
           3.2  สามารถวิเคราะห์ผลกระทบรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือก
ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
           ·3.3  สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นระบบ สร้างสรรค์และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้และประสบการณ์ มาใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคม
           O 3.4  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหา และความต้องการได้
           3.5  สามารถศึกษา ค้นคว้า ประยุกต์ความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
-  การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL)
          -  ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้   
           - มอบหมายงานกลุ่มให้ปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะ
- ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคลและกลุ่ม
- เอกสาร/การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน และการนำเสนองานในรูปแบบการสัมมนา
           O 4.1  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม  มีความรับผิดชอบ  ยอมรับฟัง
และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
           O 4.2  มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม การแสดงความคิดเห็นได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม 
           · 4.3  มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงานในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
            4.4  มีความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
           O 4.5  สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
           O 4.6  มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
           ·4.7  สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
- จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาอื่นและบุคคลภายนอก
- มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
- กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
- ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา
- ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ
- ให้นักศึกษาประเมินนักศึกษาอื่นๆในรายวิชา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
5.1  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในเรื่องทีศึกษา
           ·5.2  สามารถอธิบายและสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการเครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสม 
มีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
           5.3  สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           O 5.4  มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
           5.5  สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อเรื่องศึกษาอย่างสร้างสรรค์
           5.6  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้
ในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ใช้ Power point / Visualizer ที่น่าสนใจ ชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ  ประกอบการสอนในชั้นเรียน
- การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล
- การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
- ประเมินทักษะการใช้ภาษาเขียนจากเอกสารรายงาน
- ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
    และการนำเสนองานในรูปแบบการสัมมนา
- ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
O 6.1  สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ได้ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
           ·6.2  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษา มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
           6.3  สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
           ·6.4  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล
           6.5  สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
- ใช้ Power point / Visualizer ที่น่าสนใจ ชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ  ประกอบการสอนในชั้นเรียน
- การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล
- การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
- ประเมินทักษะการใช้ภาษาเขียนจากเอกสารรายงาน
- ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
    และการนำเสนองานในรูปแบบการสัมมนา
- ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การส่งงานตามกำหนดเวลา งานที่ส่งตาามกำหนดเวลาและคุณภาพของงาน ุ6- 18 20%
2 รายงานการศึกษาอิสระ การส่งเล่มรายงานการศ฿กษาอิสระ 17 20
3 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียนและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม งานที่ได้รับมอบหมายและการสังเกต 1-18 10%
4 การนำเสนองาน (IS) ในการสัมมนา และการตอบคำถามของผู้ฟังได้อย่างเหมาะสม การนำเสนองาน (IS) ในการสัมมนา และการตอบคำถามของผู้ฟังได้อย่างเหมาะสม 16-17 50%
การสัมมนาภาษาอังกฤษ
-
พพรรณ เกียติโชคชัย. การจัดการสัมมนาสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: ซีอ็ดยูเคชั่นจำกัด. 2540.
ไพพรรณ เกียติโชคชัย. หลัการสัมมนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: การศึกษาจำกัด. 2545.
สมจิตร เกิดปรางค์ และ นุตประวีณ์ เลิศกาญจนวัต. การสัมมนา. กรุงเทพฯ: ส่งเสริมวิชาการ. 2545.
สุทธนู ศรีไสย. หลักการจัดสัมมนาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. 2544.
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา
- สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา
     - สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
- ประเมินจากผลการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
- ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความเหมาะสม
- สรุปผลการทำกิจกรรมในภาคเรียน เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
ทวนสอบจากผลการนำเสนองานศึกษาอิสระของนักศึกษาและจากการปฏิบัติจริง
      -  มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี
- ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของหัวหน้าสาขาและรองคณบดีที่ตรวจสอบรายละเอียดของรายวิชาก่อนเปิดภาคเรียน