การวางแผนและออกแบบเหมืองแร่

Mine Planning and Design

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน องค์ประกอบ ในการวางแผนและออกแบบการทำเหมืองแร่
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในการวางแผนและออกแบบงานเหมืองแร่ โดยคำนึงถึงการบริหารทรัพยากรให้เกิดประสิทธิสูงสุด และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ศึกษาเกี่ยวกับความคิดรวบยอดในการวางแผนและออกแบบเหมือง  การเลือกเครื่องจักรกลหนัก  การประยุกต์  ความรู้ที่เกี่ยวข้องด้านเหมืองแร่ต่าง ๆ ในการออกแบบเหมือง  การจัดการในงานเหมืองแร่    การควบคุมคุณภาพและการซ่อมบำรุง   การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ และ การจำลองในการออกแบบเหมือง การควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
 อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม  
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและออกแบบการทำเหมืองแร่
1.2.2 อภิปรายกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือการสร้างเหตุการณ์สมมุติ
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้ในหลักการ วิธีการคำนวณ  การรวมองค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและออกแบบการทำเหมืองแร่ สามารถนำเทคโนโลยีในปัจจุบันเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่  มีความเข้าใจในกฎหมายเหมืองแร่ สามารถจัดทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเหมืองแร่ ตลอดจนเข้าใจในการทำแผนผังการทำเหมืองแร่
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอการศึกษาโดยใช้ปัญหาจากกรณีศึกษา  และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ และทักษะการคำนวณเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและออกแบบเหมืองแร่
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน 3.2.2   อภิปรายกลุ่ม 3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษาในการวางแผนและออกแบบเหมืองแร่ 3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน 3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การคำนวณหาปริมาณสำรองแร่ การคำนวณความเสถียรภาพความลาดเอียง การทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ 4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลข และการแปรผลทางสถิติเหมืองแร่ 5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน 5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา 5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูล 5.1.5   ทักษะการซอฟแวร์ในการวางแผนและออกแบบเหมืองแร่ 5.1.6   ทักษะในการนำเสนอผลการศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
5.2.1   นำเสนอผ่านกรณีศึกษา หรือ เหตุการณ์สมมุติ 5.2.2   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 5.2.3   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงานและรูปแบบการนำเสนอ 5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมเหมืองแร่ ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมแหมืองแร่  ดังข้อต่อไปนี้                            6.1.1  มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ                           6.1.2  มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่าง ๆที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้    6.2.1  สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน    6.2.2  สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ    6.2.3  สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิศวกรรมเหมืองแร่กับหน่วยงานภายใน  และภายนอก    6.2.4  จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา    6.2.5  สนับสนุนการทำโครงงาน    6.2.6  การฝึกงานทางวิศวกรรมเหมืองแร่ในสถานประกอบการ
6.3.1  มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน 6.3.2  มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน 6.3.3  มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยะธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 2 1 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGMN115 การวางแผนและออกแบบเหมืองแร่
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,4.1 ความรับผิดชอบ การแข้ไขปัญหา การวิเคราะห์ กิจกรรมกลุ่ม 10 30%
2 1.1, 2.1, 3.1,5.1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 7, 17 30%
3 1.1 2.1,3.1,5.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดการศึกษา 10%