การประลองวิศวกรรมการวัดและตรวจสอบ

Engineering Metrology Laboratory

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ    พื้นฐานในการวัดและการตรวจสอบขนาดงาน พร้อมทั้งฝึกทักษะในการปฏิบัติการใช้เครื่องมือวัดทางวิศวกรรม เพื่อนักศึกษาจะได้นำความรู้ ความสามารถไปใช้ในงานทางด้านงานวัดทางวิศวกรรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในการวัดและการตรวจสอบขนาดงาน สามารถสอบเทียบเครื่องมือวัด ตลอดจนการดูแลรักษาเครื่องมือวัดและวิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในงานวัดทางวิศวกรรมได้อย่างเหมาะสม
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการวัดและการตรวจสอบ  การใช้เครื่องมือวัดทางวิศวกรรม ความผิดพลาดในการวัด ความไม่แน่นอนในการวัด การกำหนดพิกัดความเผื่อในเชิงเรขาคณิต การประเมินผลการวัด การตรวจวัดด้วยเครื่องวัดสามแกน การสอบเทียบเครื่องมือวัดทางมิติ และการบำรุงรักษาเครื่องมือวัด
อาจารย์ผู้สอนประจำวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1-2  ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
              1.1.1 มีระเบียบ วินัย ตรงต่อเวลา มีสมาธิ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อ บังคับ ต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
              1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตาม ลำดับ ความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
              1.1.3 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์สังคม และสิ่งแวดล้อม
              1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึง เข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน                          
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวัดและการตรวจสอบ สอนให้นักศึกษาเป็นผู้มีความรับผิดชอบและตรงต่อเวลาจากการมอบหมายงาน การส่งงาน การเข้าชั้นเรียน การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม  ความมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพของวิศวกร
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   พฤติกรรมระหว่างเรียน การตอบคำถาม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน
2.1.1   มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อประยุกต์เข้ากับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2  มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ
2.1.3    สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4   สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.5   สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
สอนบรรยายและสาธิตการใช้งานเครื่องมือวัด ถาม ตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียนให้ทำแบบฝึกหัด ในชั่วโมงปฏิบัติจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1  สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความรู้ในงานวัดและการตรวจสอบขนาดงาน
2.3.2  ประเมินจากการปฏิบัติงานตามใบงาน และงานที่ได้รับมอบหมาย 
3.1.1  มีแนวความคิดอย่างเป็นระบบและมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2  สามารถคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.3  สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1   การมอบหมายงานวัดและตรวจสอบขนาดงานจากใบงานและชิ้นงานจริง
3.2.2   มอบหมายงานให้นักศึกษาไปทำเพิ่มจากใบงานและให้หาข้อมูลประกอบรายงาน
3.3.1   สอบกลางภาค สอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่วัดความรู้ในหลักการในการวัดขนาดงานและสอบเทียบเครื่องมือวัด
3.3.2   ประเมินจากการทำใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษา ต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพ มาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
 4.1.2 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
 4.1.3 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
 4.1.4  มีจิตสำนึกต่อความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล
4.2.2 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สังเกตพฤติกรรมการทำงาน ความรับผิดชอบในการทำงาน การดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวัดละเอียด อุปกรณ์ในห้องเรียนและความตรงต่อเวลาในการส่งงาน
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2  สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.3 ฝึกให้นักศึกษาใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในงานวัดละเอียด และสืบค้นข้อมูล ได้อย่างทันสมัยและเหมาะสม
5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ  web site สื่อการสอน ต่าง ๆ
5.2.2  มอบหมายงานที่ใช้การคิดคำนวณ เชิงตัวเลข จากใบงาน
5.3.1  ประเมินจากรายงาน สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นวัดความรู้ในงานวัดละเอียด  
5.3.2  ประเมินจากใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา สำหรับ เครื่องมือ อุปกรณ์ การบำรุงรักษาและวิธีการ ได้อย่างถูกวิธีมีประสิทธิภาพ
6.2.1 ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
6.3.1  สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
 6.3.2  ประเมินจากการวัดขนาดงานตามใบงานปฏิบัติและงานที่ได้รับมอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 เข้าใจในกระบวนการวัดการตรวจสอบ การนำเสนอหน้าชั้นเรียน 6 10
2 สามารถใช้งานเครื่องมือวัดละเอียด ปฏิบัติการใช้งานเครื่องมือวัด ทุกสัปดาหืที่มีการเรียนการสอน 60
แบบประเมินอาจารย์ผู้สอนและแบบประเมินนักศึกษา
การสังเกตจากการเรียนการสอน ผลการสอบ
การวิจัยในชั้นเรียน
๑ การประเมินผลการเรียนของนักศึกษาโดยออกระดับผลการเรียนให้กับนักศึกษาตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
๒ รายงานผลการเรียนต่อฝ่ายทะเบียนและวัดผล
ปรับปรุงแนวการสอนจากผลการเมินของนักศึกษาทุกๆ ปี