การบัญชีบริหาร

Managerial Accounting

ศึกษาวัตถุประสงค์ ความสำคัญและบทบาทของการบัญชีต้นทุนในองค์กรธุรกิจ ความหมายของต้นทุนต่างๆ ระบบบัญชีที่ใช้บันทึกต้นทุน วิธีการบัญชี และควบคุมเกี่ยวกับวัตถุดิบ ค่าแรงงานทางตรงและค่าใช้จ่ายการผลิต ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ ระบบบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต วิธีการบัญชีเกี่ยวกับของเสีย ของสิ้นเปลือง งานที่บกพร่อง เศษซาก การบัญชีต้นทุนมาตรฐานและการวิเคราะห์ผลต่าง การบัญชีผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้ ปัญหาการปันส่วนต้นทุนการผลิตและการบัญชีต้นทุนฐานกิจกรรม
เพื่อให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาในหลักสูตรและเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการใช้ข้อมูลต้นทุนเพื่อการตัดสินใจวางแผนและควบคุมการดำเนินงานของฝ่ายบริหารภายใต้สภาวการณ์ที่แน่นอนและไม่แน่นอน เช่น การงบประมาณ การวางแผนและควบคุมสินค้าคงคลัง ความสัมพันธ์และการวิเคราะห์ ต้นทุน ปริมาณ และกำไร การบริหารต้นทุนฐานกิจกรรม ระบบต้นทุนรวม ระบบต้นทุนผันแปร การกำหนดราคาสินค้า ราคาโอน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การประยุกต์ใช้การบัญชี
ต้นทุน และการวิเคราะห์ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหาร
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการโดยกำหนดเวลาไว้วันละ 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 15.30-16.30 น.
ข้อ 1 (2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
เน้นความสำคัญของการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน ให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อตกลงของรายวิชา
ประเมินจากการตรงต่อเวลาของการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามระยะเวลาที่กำหนด การปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อตกลงต่างๆ
ข้อ 2 (1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
ข้อ 2 (2) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
ข้อ 2 (3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
ข้อ 2 (4) สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัยและวิชาชีพทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
เน้นหลักการทางทฤษฎีให้เป็นไปตามคำอธิบายรายวิชาโดยการบรรยาย การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการ ให้ทำแบบฝึกหัด มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
ประเมินจากกระบวนการคิด วิเคราะห์และการตอบปัญหา ประเมินจากงานที่นำเสนอ ประเมินจากการทำแบบทดสอบ
ข้อ 3 (1) สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีการซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
ข้อ 3 (3) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
จัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล เรียนรู้จากกรณีศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล
ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 3.ทักษะ ทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ 5.ทักษะ การวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสารและ การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ 1.คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 4 1 2 3
1 BACAC132 การบัญชีบริหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ข้อ 1 (2) ข้อ 2 (1) (2) (3) ข้อ 3 (1) (3) - ทำแบบทดสอบกลางภาคบทที่ 1 – 4 - ทำแบบทดสอบปลายภาคบทที่ 6 - 9 9,17 40 40
2 ข้อ 1 (2) ข้อ 2 (1) (2) (3) ข้อ 3 (1) (3) - ประเมินจากการตรงต่อเวลาฯ - ประเมินจากงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20
เอกสารประกอบการสอน การบัญชีต้นทุน 2 โดย ผศ.สมบูรณ์ กุมาร
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ได้ดำเนินการดังนี้

การสอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาเป็นรายคนและรายกลุ่ม แบบประเมินผู้สอนของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอนในรายวิชานี้ได้ดำเนินการดังนี้

สังเกตการมีส่วนร่วมในการทำงาน การตรวจงานที่มอบหมาย การตรวจความมีระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ทดสอบวัดผลการเรียน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จะมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้

ประชุมผู้สอนในสาขาเพื่อพิจารณาผลในภาพรวมและนำไปสู่การปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชามีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้

ทดสอบความรู้ของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ โดยการทวนถามและให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น ทดสอบความรู้ของนักศึกษา โดยการสุ่มด้วยวิธีการสัมภาษณ์หลังจากส่งผลการเรียนแล้ว
จากการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับยุคสมัย ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนตามข้อเสนอและและผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ปรับปรุงเอกสารประกอบการสอนและสื่อการสอนต่างๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ