ปฏิบัติการเคมีสำหรับวิศวกร

Chemistry Laboratory for Engineers

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
          1. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
          2.  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติการทางเคมี  มีทักษะในการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการปฏิบัติการทางเคมี   มีทักษะในการทดสอบสารละลาย กฎของชาร์ล  ความหนืด  สมบัติคอลลิเกทีฟ คอลลอยด์ รวมไปถึงอัตราการเกิดปฏิกิริยา  สมดุลเคมี  และการไทเทรตกรดเบส
          3. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ มีทักษะการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
          4. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
          5. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
1. ให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีทางเคมีพื้นฐานเพิ่มขึ้น
2. นักศึกษานำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับปฏิบัติการเกี่ยวกับ  สารละลาย กฎของชาร์ล  ความหนืด  สมบัติคอลลิเกทีฟ คอลลอยด์ รวมไปถึงอัตราการเกิดปฏิกิริยา  สมดุลเคมี  และการไทเทรตกรดเบส
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
- สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมระหว่างการสอน
- กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- มอบหมายงานรายกลุ่ม
- ไม่มีการทุจริตในการทดสอบ
- สังเกต บันทึกพฤติกรรมการเรียน การแต่งกายและตรงต่อเวลา
- ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
- บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุป และเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- ประเมินผลจากการสอบด้วยข้อสอบและปฏิบัติการทดลอง
- ประเมินจากงาน  รายงานผลการทดลองที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา
มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1.สอนปฏิบัติการทดลอง
2.การอภิปรายผลกการทดลอง การแปรค่า
การสรุป รายงานผล
- มอบหมายงานให้ค้นคว้าและนำเสนอ
- มีการชี้ประเด็นและยกตัวอย่างประกอบในแต่ละหัวข้อ
- มีแบบฝึกหัดให้นักศึกษาฝึกแก้ปัญหาในรูปแบบต่างๆ
- ประเมินผลจากการสอบด้วยข้อสอบ
และปฏิบัติการทดลอง
- ประเมินจากการการอภิปรายผลกการทดลอง การแปรค่า   การสรุป รายงานผลการทดลอง
- ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินผลจากการตอบคำถาม การสอบ การวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
- สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
-การแบ่งกลุ่มปฏิบัติการทดลอง
- มอบหมายงานกลุ่ม และรายบุคคล
- การนำเสนอรายงานและอภิปรายกลุ่ม
- ประเมินจากความร่วมมือปฏิบัติการทดลองในกลุ่ม
-ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
- การบันทึกข้อมูลการทดลอง การแปรค่า วิเคราะห์ข้อมูลจาการทดลอง
-การนำเสนองานและสืบค้นข้อมูลในการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
-มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสืบค้นกรณีศึกษาเกี่ยวกับเคมี
- ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอ โดยใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ
- ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,3.1, 3.2,4.1, 4.2,4.3 รายงานการทดลอง 1-15 50%
2 2.1, 3.2 การสอบกลางภาค 9 20%
3 2.1, 3.2 การสอบปลายภาค 17 20%
4 1.1,1.2,1.3,1.4 การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม 1-15 2%
5 1.3,4.3 การประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ 1-15 2%
6 1.1,1.4,4.1,4.2,4.3 การประเมินตนเองของนักศึกษา พฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบ 1-15 2%
7 4.1,4.2,4.3 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม โดยนักศึกษาสมาชิกกลุ่ม 1-15 2%
8 4.2,4.3 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียน โดยนักศึกษาอื่นๆในรายวิชา 1-15 2%
คู่มือ ปฏิบัติการเคมีสำหรับวิศวกร
1.1 ปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1.2 คู่มือเตรียมปฏิบัติการเคมี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1) ทบวงมหาวิทยาลัย เคมี เล่ม 1-2, สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, กรุงเทพฯ 2540
2) ชัยวัฒน์ เจนวาณิชย์ หลักเคมี เล่ม 1-2, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ 2541
3) ทบวงมหาวิทยาลัย เคมี เล่ม 1-2, สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, กรุงเทพฯ 2540
4) ชัยวัฒน์ เจนวาณิชย์ หลักเคมี เล่ม 1-2, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ 2541
5) กฤษณา ชุติมา หลักเคมีทั่วไป เล่ม 1, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ 2539.
6) กฤษณา ชุติมา หลักเคมีทั่วไป เล่ม 2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ 2539.
7) ประเสริฐ ศรีไพโรจน์ เคมีพื้นฐานเล่ม  1, สุพีเรียพริ้นติ้งเฮาส์, กรุงเทพฯ 2545.
8) วิโรจน์ ปิยวัชรพันธุ์ เคมีทั่วไป 1, โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ 2541.
9) ลัดดา มีศุข เคมีทั่วไป เล่ม 1 ฉบับรวบรัด, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ 2545.
10) สุนันทา วิบูลย์จันทร์ เคมี: วิชาแกนทางวิทยาศาสตร์, เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า,
กรุงเทพฯ 2545.
11)โครงการตำรา.  ปฏิบัติการเคมีทั่วไป เล่ม1.  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2539.
12) โครงการตำรา.  ปฏิบัติการเคมีทั่วไป เล่ม2.  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2539.
         13) พรทิพย์  ศัพทอนันต์. ปฏิบัติการเคมีอนินทรีย์. คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
         เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
         14) สุภาพ  บุณยะรัตเวชและคณะ.  ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์.  สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2536.
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยภาควิชา จากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
แผนกวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา  มีการประชุมอาจารย์ในแผนกวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
แผนกวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา  โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของแผนกวิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
แผนกวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของแผนกวิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าแผนกวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป