โครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า

Electrical Technical Education Project

1.1 สามารถอธิบายขั้นตอนการวางแผนการสร้างโครงงานตามหัวข้อโครงงานในรายวิชาการเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้าได้
1.2 สามารถออกแบบและสร้างโครงงานตามแบบได้
1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสร้างผลงานอันเกิดประโยชน์ต่อสายวิชาที่ศึกษา หรือต่อสังคมได้
1.4 สามารถในการนำผลงานเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อสอบวิชาโครงงาน
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับขั้นตอนการวางแผนการสร้างโครงงาน ตามหัวข้อโครงงานในรายวิชาการเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า ออกแบบโครงงาน สร้างโครงงานตามแบบตลอดจนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสร้างผลงานอันเกิดประโยชน์ต่อสายวิชาที่ศึกษา หรือต่อสังคม และนำผลงานเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อสอบวิชาโครงงาน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และมีทักษะการปฏิบัติการเกี่ยวกับขั้นตอนการวางแผนการสร้างโครงงาน ตามหัวข้อโครงงานในรายวิชาการเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า ออกแบบโครงงาน สร้างโครงงานตามแบบตลอดจนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสร้างผลงานอันเกิดประโยชน์ต่อสายวิชาที่ศึกษา หรือต่อสังคม และนำผลงานเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อสอบวิชาโครงงาน
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับขั้นตอนการวางแผนการสร้างโครงงาน ตามหัวข้อโครงงานในรายวิชาการเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า ออกแบบโครงงาน สร้างโครงงานตามแบบตลอดจนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสร้างผลงานอันเกิดประโยชน์ต่อสายวิชาที่ศึกษา หรือต่อสังคม และนำผลงานเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อสอบวิชาโครงงาน
Study and practice of of the planning steps for creating a project following the project work topics, electric industrial education project preparation, project design, project creating, application of technology to bring the educational and social benefits social and presenting to the committee of the project examination of the project.
1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายหรือเฉพาะกลุ่มที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม ส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
š1.1.1 แสดงออกซึ่งจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู ที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
˜1.1.2 สามารถจัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู
˜1.1.3 แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี
š1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี เช่นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.2 กำหนดให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม โดยฝึกให้รู้บทบาทและหน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งการเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.3 สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชา ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
1.2.4 จัดกิจกรรมส่งเสริม และคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรมจรรยาบรรณวิชาชีพครูและการมีจิตสำนึกสาธารณะ เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำความดีการทำประโยชน์และเสียสละแก่ส่วนรวม
1.3.1 ประเมินด้านจิตพิสัยของนักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียนการแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนดและการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.2 ประเมินความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน และการรับฟังความคิดเห็นจากอาจารย์ผู้สอนและกลุ่มนักศึกษาในชั้นเรียน
1.3.3 ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททางวิชาการ และการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
1.3.4 ประเมินผลจากรายงานการจัดกิจกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรมจรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับขั้นตอนการวางแผนการสร้างโครงงาน ตามหัวข้อโครงงานในรายวิชาการเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า ออกแบบโครงงาน สร้างโครงงานตามแบบตลอดจนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสร้างผลงานอันเกิดประโยชน์ต่อสายวิชาที่ศึกษา หรือต่อสังคม และนำผลงานเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อสอบวิชาโครงงาน
มีความรู้เกี่ยวกับการทำโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้าตามขั้นตอนการวางแผนการสร้างโครงงานตามหัวข้อโครงงานในวิชาเตรียมโครงงาน เพื่อนำไปใช้สำหรับการออกแบบ ดำเนินการตามแผนงานตลอดจนการประยุกต์เทคโนโลยี ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
š2.1.1 มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาชีพเฉพาะ อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ
˜2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้
˜2.1.3 สามารถนำหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์ และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม
บรรยาย อภิปรายเกี่ยวกับหลักทางทฤษฎี และประยุกต์ใช้ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยสอดคล้องกับโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า วิธีการวิเคราะห์ผลการศึกษา เครื่องมือที่ใช้สำหรัลวิเคราะห์ผลการศึกษา นำเสนอแนวทางการดำเนินงานของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม
เน้นรูปแบบการสอนแบบออนไลน์ โดยใช้ MS Team, Line, Zoom
2.3.1 การสอบรายงานความก้าวหน้าของโครงงาน
2.3.2 การสอบปริญญานิพนธ์
2.3.3 การทำงานที่ได้รับมอบหมาย
นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผลเข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้นมาตรฐานทักษะทางปัญญาต้องครอบคลุมดังนี้
˜3.1.1 มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม
˜3.1.2 มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
3.2.1 ให้นักศึกษาทำการศึกษาข้อมูล วิธีการแก้ปัญหาและวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดสอบหรือทดลองของโครงงาน
3.2.2 ให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
3.2.3 เน้นรูปแบบการสอนแบบออนไลน์ โดยใช้ MS Team, Line, Zoom
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา
3.3.2 วัดผลจากการนำเสนอผลงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.3.3 ประเมินจากการอภิปรายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหา ในประเด็นที่นักศึกษาได้สืบค้นข้อมูลหรือทดสอบข้อมูลอย่างเป็นระบบ
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อนการมี ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องให้นักศึกษาระหว่างที่สอนเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
š4.1.2 แสดงออกถึงการมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
˜4.1.3 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่การทำงานเป็นทีมช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
š4.1.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกต่อสังคมด้านการนำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
4.2.1 ส่งเสริมการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
4.2.2 กำหนดบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
4.2.3 ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการบริการทางวิชาการต่อสังคม
4.2.4 เน้นรูปแบบการสอนแบบออนไลน์ โดยใช้ MS Team, Line, Zoom
4.3.1 ประเมินผลการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
4.3.2 ประเมินผลการทำงานเป็นทีมตามที่ได้รับมอบหมาย
4.3.3 ประเมินผลการดำเนินการบริการทางวิชาการต่อสังคม
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติดังนี้
˜5.1.1 มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
˜5.1.2 สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
˜5.1.3 สามารถสนทนา เขียน และนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าการณีศึกษาด้วยตนเองจากเว็บไซต์
5.2.2 อภิปรายในห้องเรียนตามเวลาและจังหวะที่เหมาะสมกับเนื้อหาแต่ละเรื่อง
5.2.3 ให้นักศึกษานำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.4 เน้นรูปแบบการสอนแบบออนไลน์ โดยใช้ MS Team, Line, Zoom
5.3.1 ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง
5.3.2 ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
5.3.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
การทำงานในสถานศึกษา สถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะการปฏิบัติ การวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไขรวมถึงการมีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายตามสภาพจริง ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องมุ่งเน้นการสร้างทักษะการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้ดังต่อไปนี้
š6.1.1 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ที่มีรูปแบบหลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์
6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.2.2 สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
6.2.3 จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
6.2.4 เน้นรูปแบบแบบออนไลน์ โดยใช้ MS Team, Line, Zoom
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติการใช้เครื่องมือ ในเรื่องเวลา วิธีการและผลงานที่ได้รับ การทำงานร่วมกัน
6.3.2 พิจารณาผลการปฏิบัติการโครงงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย
6.3.3 สังเกตพฤติกรรมการทำโคงงานและการบันทึกผลการทดลอง
6.3.4 พิจารณาผลสำเร็จของโครงงานตามวัตถุประสงค์
6.3.5 ให้คะแนนผลการปฏิบัติงาน โดยเปิดเผย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4
1 TEDEE114 โครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมไฟฟ้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.2, 1.1.3 1) ประเมินความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน 2) ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททางวิชาการ และการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น ตลอดภาคการศึกษา 5%
2 2.1.2, 2.1.3, 3.1.1, 3.1.2, 5.1.1,5.1.2,5.1.3 1) สอบรายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 2) สอบโครงงาน 3) ประเมินผลการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ 8, 19 35%, 30%
3 4.1.3, 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3, 6.1.1 1) สังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติการใช้เครื่องมือ ในเรื่องเวลา วิธีการและผลงานที่ได้รับ การทำงานร่วมกัน 2) พิจารณาผลการปฏิบัติการโครงงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย 3) สังเกตพฤติกรรมการทำโคงงานและการบันทึกผลการทดลอง และผลสำเร็จของโครงงานตามวัตถุประสงค์ 4) ให้คะแนนผลการปฏิบัติงาน โดยเปิดเผย 5) ประเมินผลการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ ตลอดภาคการศึกษา 30%
- เอกสารตำราการประเมินโครงการแนวทางสู่การปฏิบัติ
คู่มือจัดทำปริญญานิพนธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ