การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล

Design of Machine Elements

เข้าใจขั้นตอนในการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล คำนวณค่าตัวประกอบความปลอดภัยและการเลือกใช้ เข้าใจคุณสมบัติทางโลหะวิทยาและทางกลของวัสดุ คำนวณแรงและความเค้นที่เกิดขึ้น เมื่อชิ้นส่วนอยู่ภายใต้แรงชนิดต่าง ๆ เข้าใจหลักการทำงานของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เข้าใจการส่งถ่ายกำลังของชิ้นส่วนเครื่องจักรที่ใช้ในงานผลิต เข้าใจการเลือกใช้วัสดุในการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เข้าใจการเลือกใช้ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลมาตรฐานให้เหมาะสมกับงาน
1. เข้าใจความหมายของปรัชญาการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล 2. อธิบายการวิเคราะห์ความแข็งแรงในชิ้นส่วนเครื่องจักรกล 3. เข้าใจการส่งถ่ายกำลังของเครื่องจักรกล 4. เข้าใจการคำนวณออกแบบชิ้นส่วนและแสดงแบบรายละเอียดชิ้นส่วนเครื่องจักรกล 5. เข้าใจการเลือกใช้วัสดุในการทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกลตามมาตรฐานสากล 6. วิเคราะห์กลไกการเคลื่อนไหว ความเร็ว ความเร่ง และสภาวะสมดุล 7. เห็นคุณค่าและมีทัศนคติทีดีในการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
ศึกษาและฝึกปฏิบัติขั้นตอนการออกแบบ ค่าตัวประกอบความปลอดภัย คุณสมบัติทางโลหะวิทยาและทางกลของวัสดุ การวิเคราะห์แรงและความเค้นที่เกิดขึ้นเมื่อชิ้นส่วนอยู่ภายใต้แรงชนิดต่างๆ โดยใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เช่น วงกลมโมร์ ทฤษฎีความเสียหาย ทฤษฎีความเค้นสูงสุด การคำนวณ การออกแบบเพลา ลิ่ม สปลายน์ คับปลิ้ง แบริ่ง เฟือง หมุดย้ำ รอยเชื่อม และอื่นๆ การส่งถ่ายกำลังของชิ้นส่วนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต การกำหนดและเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับงาน ตลอดจนเลือกใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานให้เหมาะสมกับงานนั้น
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนั้นวิศวกรอุตสาหการจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่ เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 5 ข้อตามที่ระบุไว้
เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2 วิธีการสอน
1.2.1 บรรยายเนื้อหาความสำคัญของรายวิชาพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้นักศึกษาทราบเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิชาชีพในองค์กรและสังคม
 
 
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและ
ปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ
สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการ
ประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไข
ปัญหาในงานจริงได้
 2.2.1  บรรยายและมอบหมายงานให้นักศึกษาตามเงือนไขวิชา                   2.2.2  ให้นักศึกษาทำโครงงานด้านการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล                   2.2.3  ศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากรพิเศษ
 2.3.1  การทดสอบย่อย                   2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน                   2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 บรรยายถามตอบ แสดงตัวอย่างในการออกแบบ วิเคราะห์ คำนวณ และการกำหนดวัสดุ 3.2.2 ให้ทำงานกลุ่มในหัวข้อการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลตามที่นักศึกษาต้องการ 3.2.3 ให้นักศึกษาปฏิบัติการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
  3.3.1    การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน                   3.3.2    ประเมินผลจางานที่มอบหมาย
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นเหมาะสม             4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัว             และส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้             ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ            4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้อง            กับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง            4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคล            และงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมี            ประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ            4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษา            สภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 มีการให้งานทำในลักษณะกลุ่ม 4.2.2 นักศึกษาที่เรียนรู้ได้เร็ว ช่วยอธิบายเทคนิค ช่วยเหลือให้เพื่อน 4.2.3 การส่งงานที่ได้รับมอบหมายทันในเวลาที่กำหนด
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1 การสังเกต 4.3.2 ความสำเร็จของงานที่ได้รับมอบหมาย
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี              5.1.2มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์              5.1.3สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ             5.1.4มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์             5.1.5สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 ฝึกให้นักศึกษาใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ 5.2.2 นักศึกษาสามารถส่งงานและนำเสนองานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1 ประเมินจากผลงานของนักศึกษา
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2 วิธีการสอน
6.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาและกำหนดระยะเวลาในการส่งงาน 6.2.2 การใช้เครื่องมืออุปกรณ์อย่างถูกวิธีและการบำรุงรักษา
6.3 วิธีการประเมินผล
6.3.1 นักศึกษาส่งงานตามระยะเวลาที่กำหนด 6.3.2 มีการกำหนดคะแนนในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
ณรงค์ วรงค์เกรียงไกร การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เล่ม 1 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพฯ 2533 วริทธิ์ อึ๊งภากรณ์ ชาญ ถนัดงาน การออกแบบเครื่องจักรกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 2522 ศุภชัย ตระกุลทรัพย์ทวี ; การออกแบบเครื่องกลและชิ้นส่วนเครื่องจักร1 :ซีเอ็ดยูเคชั้น จำกัด ,กรุงเทพฯ 2547
http://www.link.com/pdfs/lms8-2.pdf http://www.engineersedge.com/rivet_application.htm http://www.sacskyranch.com/mechanic_contents.htm http://www.tribology-abc.com
- ตำราหรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุวิศวกรรม, engineering materials เช่น แม้น อมรสิทธิ์, สมชัย อัครทิวา, วัสดุวิศวกรรม, สำนักพิมพ์ท้อป, 2545
- นักศึกษาประเมินผลการสอนอาจารย์ผ่านระบบการประเมิลของมหาวิทยาลัยฯ
- สังเกตุการณ์สอนของอาจารย์ท่านอื่นในรายวิชาเดียวกัน - สังเกตุพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา
-หาโปรแกรมที่ใช้สอนที่ทันสมัยและเทคนิคการสอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม
-เปรียบเทียบผลการสอนกับนักศึกษากลุ่มอื่น -สอบถามปัญหาการสอนจากอาจารย์ผู้สอนท่านอื่นๆพร้อมนำมาปรับปรุง
-ปรับปรุงกิจกรรมและแผนการสอนให้มีความเหมาะสม